นโยบายด้านการศึกษาใหม่นี้ มีแผนจะเริ่มใช้ในปี 2020 หลังจากที่ทางโรงเรียนในแอฟริกาใต้ เสนอให้เพิ่มหลักสูตรภาษาสวาฮิลี ซึ่งเป็นภาษาพูดที่ใช้กันบ่อยที่สุดในแอฟริกา เข้าเป็นหลักสูตรประจำโรงเรียนในพื้นที่
โดยเหตุผลที่มีการผลักกันให้เรียนรู้ภาษานี้ในปัจจุบัน อ้างอิงจากบทความของ QZ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา Angie Motshekga กล่าวว่า พวกเขาตั้งใจที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความเป็นหนึ่เดียว และ “ความสามัคคีทางสังคมกับเพื่อนแอฟริกัน”
ในฐานะที่ประเทศในแอฟริกา มุ่งมั่นที่พัฒนาและรักษาระบบการศึกษาของตน ทำให้หลายคนเห็นความจำเป็นที่จะต้องรักษาภาษาท้องถิ่นเอาไว้
ปัจจุบันมีภาษาพูดมากกว่า 2,000 ภาษาในทวีปนี้ ภาษาสวาฮิลีเป็นภาษาที่ใช้กันมากที่สุด โดยมีผู้พูดมากกว่า 98.3 ล้านคน
ภาษาสวาฮิลีและภาษาอื่นๆ รวมทั้ง Hausa, Yoruba, Oromo, Zulu และ Igbo กำลังเผชิญวิกฤตเนื่องจากการตั้งรกราก โลกาภิวัตน์ และการมุ่งเน้นไปที่ภาษาอาณานิคมเช่น ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส
นับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา เมื่อประธานาธิบดีของประเทศโมแซัมบิก Joaquim Chissano ได้ส่งข้อความคำพูดของเขามาในภาษาสวาฮิลี ทำให้เกิดความล่าช้าในการหานักแปล และเกิดการเรียกร้องให้มีการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นในภาษาสวาฮิลี
มีแคมเปญที่หลากหลายเกิดขึ้นเพื่อใช้สนับสนุน การผลักดันให้ภาษาสวาฮิลีกลายเป็นภาษาที่ชาวต่างชาติรู้จัก เช่น ในปี 2015 ประเทศแทนซาเนียได้มีการประกาศว่าจะใช้ภาษาสวาฮิลีในการเรียนการสอน และมีการพยายามในหลายทางที่จะทำให้องค์กรต่างๆ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter ได้รู้จักภาษานี้ แม้ว่าจะไม่มีผลตอบรับใดๆ เกิดขึ้นก็ตาม
Motshekga ได้ประกาศถึงนโยบายที่ว่านี้ หลังจากที่ผู้นำพรรคเสรีภาพทางเศรษฐกิจของแอฟริกาใต้สนับสนุนภาษาสวาฮิลีให้เป็นภาษาราชการของทวีป
ที่มา: academiccourses