แม้ว่าทักษะความเชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษจะไม่ใช่ตัวชี้วัดที่จำเป็นสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสาขาครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์
แต่ทว่าคณะกรรมการที่รับผิดชอบในส่วนของการจัดทำกรอบคุณวุฒิของครูได้ตัดสินใจที่จะลด “เกณฑ์ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ” ลง…
มีการอธิบายถึงการเเก้ไขกรอบเกณฑ์ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษนี้ว่า การตั้งเป้าหมายที่สูงเกินไป อาจทำให้มีนักศึกษาหลายคนไม่สามารถเรียนจบได้
แรกเริ่ม มีการกำหนดระดับคะแนนสำหรับผู้ที่ศึกษาในสาขาครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ว่า ผู้ที่ไม่ได้เรียนในวิชาเอกภาษาอังกฤษ จะต้องมีระดับคะแนน B2 ส่วนผู้ที่เรียนเอกภาษาอังกฤษนั้น จะต้องได้คะแนนระดับ C1
CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) เป็นการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษด้วยมาตรฐานสากล โดยใช้การแบ่งคะแนนเป็น 6 ขั้น เริ่มจาก A1 สำหรับผู้เริ่มต้นไปจนถึง C2 สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
ในการไปถึงระดับ C1 ผู้สอบจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่วตามการใช้งานที่เหมาะสม มีความว่องไวและมีความสามารถในการจัดการกับหัวข้อที่ไม่คุ้นเคย
ในขณะที่การเข้าถึงระดับ B2 ผู้สอบจะต้องสามารถเข้าใจความหมายส่วนใหญ่ในการสื่อสาร และแสดงออกในหัวข้อต่างๆ ได้
จากการสำรวจพบว่า นักศึกษาในหลักสูตรครุศาสตร์สหรือศึกษาศาสตร์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับ A1 และ A2 เท่านั้น
โดย A1 นั้นแสดงถึงความสามารถขั้นพื้นฐานในการสื่อสาร ในขณะที่ A2 จะแสดงออกถึงความสามารถในการจัดการกับข้อมูลที่เรียบง่ายตรงไปตรงมา และอยู่ในบริบทที่คนคุ้นเคย
นั่นทำให้คณะกรรมการส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าระดับ B2 และ C1 นั้น ไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์สำหรับนักศึกษาในสาขานี้
โดยผลสรุปจากการหารือจะปรับลดคะแนนสำหรับนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนเอกภาษาอังกฤษจาก B2 เป็น B1 ส่วนนักศึกษาที่เรียนในเอกภาษาอังกฤษจะปรับจาก C1 เป็น B2
ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการวางแผนที่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการพัฒนาภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษา
ที่มา: nationmultimedia