ใกล้ช่วงเวลาของการเปิดเทอมใหม่เข้ามาทุกที ช่วงนี้ หลายมหาวิทยาลัย เริ่มกลับมาคึกคัก เพื่อเตรียมตัวรับน้องใหม่ แต่คุณเคยสงสัยไหมว่า เพราะเหตุใด การเริ่มเทอมใหม่จึงไม่เกิดขึ้นในเดือนมกราคา ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังปีใหม่?
วันนี้ เราจะชวนคุณมาหาคำตอบนั้นไปพร้อมๆ กัน
ย้อนกลับไปในยุคที่การเกษตรยังเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ในทุกพื้นที่ทั่วโลก ชาวพื้นเมืองต่างให้ความสำคัญกับการทำเกษตรกรรมมากกว่ากิจกรรมอย่างอื่น…แน่นอน รวมถึงการไปโรงเรียนด้วย
ในยุคนั้น เมื่อการทำการเกษตรสำคัญมากขนาดยอมโดดเรียนได้ แต่จะไม่ยอมโดดทำแปลงผักเด็ดขาด และสามารถทำฟาร์มได้เฉพาะในช่วงฤดูร้อนและใบไม้ร่วงเท่านั้น ครอบครัวต่างๆ จึงต้องการให้เด็กๆ มาเป็นแรงงานสำคัญ และเปลี่ยนเวลาไปเรียนในช่วงที่อากาศเย็นลงจนไม่สามารถเพาะปลูกอะไรได้
ดังนั้น การกำหนดวันเรียนจึงเริ่มต้นในช่วงที่เสร็จสิ้นการเพาะปลูก ด้วยวิธีนี้ เด็กๆ จะสามารถช่วยงานในฟาร์ม และได้เรียนหนังสืออย่างเต็มที่ในเวลาต่อมา
หลังจากนั้น เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลง เมืองที่ไม่ได้มีการเกษตรเป็นอาชีพหลัก จึงส่งลูกหลานไปเรียนตลอดทั้งปี มีการพักร้อนช่วงสั้นๆ เฉลี่ยแล้วปีการศึกษาหนึ่งมีระยะเวลาประมาณ 251-260 วัน
เมื่อการศึกษาเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในสังคม จึงต้องมีการสร้างกฎที่เข้มงวดเพื่อให้ระบบโรงเรียนมีความเท่าเทียมกัน
ในปี 1852 รัฐแมสซาชูเซตส์ได้กลายเป็นรัฐแรกที่ออกกฎหมายการศึกษาภาคบังคับของภาครัฐ ทำให้ทั้งในเขตชนบทและเขตเมืองมีข้อกำหนดให้เด็กต้องเข้าเรียน หากผู้ปกครองบ้านไหนไม่ส่งลูกไปเรียนจะต้องถูกปรับ
ข้อกำหนดนี้ทำให้หลายพื้นที่ต้องสูยเสียแรงงานในการทำการเกษตร ไม่นาน จึงได้มีการประชุมเพื่อประณีประณอนและหาข้อตกลงที่ไม่ส่งผลเสียต่อทั้งสองฝ่าย จึงได้ข้อสรุปมาเป็นการเริ่มเปิดเรียนในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง เพื่อให้เด็กๆ ช่วยทำฟาร์มในฤดูร้อนได้ และนั่นคือครั้งแรกที่เกิดเป็นปีการศึกษา 180 วัน
จากนั้น ธรรมเนียมนี้เริ่มแพร่กระจายไปทั่วโลก และยังส่งผลมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าเด็กส่วนใหญ่ในยุคนี้จะใช้เวลาไปกับการว่ายน้ำ หรือเล่นวิดีโอเกม แต่ก็ยังมีเด็กบางส่วนที่ได้กลับบ้านในช่วงฤดูร้อน เพื่อดูแลฟาร์มของพวกเขา และสนุกกับการใช้ชีวิตในช่วงปิดเทอม
เกร็ดความรู้เล็กน้อยเหล่านี้ มีความน่าสนใจหลายอย่างซ่อนอยู่ เช่นว่า การเกษตรเคยเป็นเรื่องสำคัญกว่าการศึกษา และการเปลี่ยนผ่านสิ่งเหล่านั้นได้ส่งผลอย่างมากต่อโลกในปัจจุบัน เอาไว้โอกาสหน้า เราจะกลับมาเล่าให้ฟันนะ :)
ที่มา: rd.com