สาระน่ารู้วันนี้เราจะพาไปท่องอวกาศกัน ซึ่งถือเป็นความฝัน (ที่เอื้อมไม่ค่อยถึง) ของใครหลายคน แม้อาชีพนักบินอวกาศจะมีความน่าอิจฉาอยู่หลายประการ แต่ความเสี่ยงและเรื่องราวทุกข์ใจก็มีไม่แพ้คนที่ยืนอยู่บนโลกเหมือนกัน
แต่สิ่งที่แน่นอนนั้นคือความเสี่ยงที่ไม่อาจคาดเดาได้เลย อวกาศเป็นสิ่งที่อันตราย ไม่สามารถวางใจให้ปลอดโปร่งโล่งสบายได้ ทั้งต้องเผชิญกับการออกห่างจากแรงโน้มถ่วงที่มีผลต่อร่างกายของมนุษย์ตามที่นักบินอวกาศหลายท่านประสบพบเจอหลังจากกลับมาที่โลกแล้ว
นอกจากนี้ การปราศจากแรงดึงจากแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้กระดูกสันหลังสามารถยืดขยายได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย แต่กระนั้นการวิจัยก็เผยให้เห็นว่า เมื่อกลับคืนสู่โลกแล้วความสูงของนักบินอวกาศก็จะคืนสู่ภาวะปกติเช่นกัน
1. เกิดอะไรขึ้นในช่วง 1 ปีบนอวกาศ?
โดยปกตินักบินอวกาศจะถูกส่งขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ ประมาณ 6 เดือน แต่นักบินอวกาศชาวอเมริกัน สก็อตต์ เคลลี สร้างประวัติศาสตร์ในปี 2016 หลังจากจบภารกิจ 340 วัน เคียงข้างด้วยนักบินอวกาศชาวรัสเซีย Mikhail Kornienko
เป้าหมายของภารกิจคือเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสภาพไร้น้ำหนัก การแผ่รังสี และร่างกายมนุษย์ ในระหว่างช่วงเวลาที่ยาวนานในอวกาศ
ด้วยความที่คุณเคลลี่มีฝาแฝด จึงได้รับโอกาสพิเศษในการทำการศึกษาถึงผลข้างเคียงระยะยาวในการเดินทางด้วยยานอวกาศ และเปรียบเทียบผลกระทบนั้นกับคุณมาร์คพี่ชายที่ปฏิบัติภารกิจนี้อยู่ที่บ้านช่นกัน
สก็อตต์ เคลลี กล่าวกับ BBC ว่า “ส่วนใหญ่ปัญหาของสุขภาพไม่ใช่ลักษณะเฉพาะในการแสดงอาการของโรค ซึ่งคุณไม่สามารถรับรู้ถึงมวลกระดูกของตัวเองได้”
2. การได้อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติให้ความรู้สึกอย่างไร?
หลังจากกลับมาถึงโลกแล้ว เขาต้องผ่านการทดสอบร่างกายอย่างเข้มงวด ระยะเวลาที่ยาวนานบนอวกาศ ทำให้เขาต้องตรวจเช็กอาการอย่างละเอียดถี่ถ้วน
“ผมมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อ สูญเสียกระดูกและกล้ามเนื้อ มีอาการบวม และความดันในกระโหลกศีรษะของผมเพิ่มขึ้นด้วย” เขาอธิบาย
นอกจากนี้เขายังประสบปัญหากับสภาพผิว เช่น ผื่น และลมพิษ อาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ ขณะที่เขาปรับตัวกลับสู่ชั้นบรรยากาศโลก
.
3. ปัญหาสุขภาพสำหรับนักบินอวกาศ
-การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของแรงโน้มถ่วงในอวกาศ อาจทำให้เกิดความสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกได้ถึง 1% ต่อเดือน อาจนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพในระยะยาว
-การขาดแรงโน้มถ่วงยังอาจทำให้ของเหลวในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งทำให้เกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง และปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะ รวมถึงเรื่องสายตา
-ความโดดเดี่ยวและขอบเขตที่จำกัดอาจทำให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจ
-สภาพแวดล้อมแบบปิด หมายความว่า จุลินทรีย์ในร่างกายสามารถถ่ายโอนได้ง่ายขึ้น
-การแผ่รังสีในอวกาศสูงขึ้นกว่าบนโลก
-และเนื่องจากดาวอังคารอยู่ห่างไกลจากโลกมาก (โดยเฉลี่ย 140 ล้านไมล์) ซึ่งนาซ่ากำลังวางแผนอย่างรอบคอบว่า จะให้อุปกรณ์อวกาศใดที่จำเป็นสำหรับนักบินอวกาศในภารกิจที่ยาวนานเช่นนี้
โดยลูกเรือจะได้รับการฝึกอบรม ตรวจร่างกาย พร้อมมีเวชภัณฑ์และอาหารอย่างเพียงพอที่จะรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
ที่มา www.bbc.com