ทักษะภาษาอังกฤษไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน หรือเขียนนั้น ล้วนแล้วแต่สำคัญด้วยกันทั้งหมด เพราะไม่ว่าคุณจะใช้สื่อสาร เรียน หรือทำงานร่วมกับต่างชาติ ทักษะทั้งหมดที่กล่าวมาย่อมได้ใช้ประโยชน์แน่นอน
สำหรับใครที่กำลังฝึกฝนทักษะการเขียนของตนเอง ลองเรียนรู้เคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษของคุณให้ดียิ่งขึ้น
1. ลองฝึกเขียนเรื่องที่ไม่เคยเขียนมาก่อน
หากอยู่ในวงการการศึกษา หรือทำงาน ส่วนใหญ่ก็จะได้เขียนเชิงวิชาการ หรือเขียนงานที่ค่อนข้างเป็นทางการ แต่หากคุณอยากลองท้าทายตนเองให้มากขึ้น เราขอแนะนำว่าลองฝึกเขียนในสิ่งที่ไม่เคยมาก่อนเช่น เขียนนิยาย หรือนิทานสำหรับเด็กง่ายๆ ก็ได้เช่นกัน
2. ฝึกเขียนในช่วงเวลาที่สมองปลอดโปร่ง
บางคนจะสมองแล่นในช่วงกลางวัน ส่วนบางคนจะกระตือรือร้นในช่วงกลางคืน ดังนั้นจึงควรเลือกช่วงเวลาให้เหมาะสมกับตนเอง เพราะเมื่อสมองปลอดโปร่งเราย่อมฝึกเขียนออกมาได้ดีกว่าตอนเครียดๆ หรือตอนที่คิดอะไรไม่ออก
3. เปลี่ยนบรรยากาศในการเขียนให้แตกต่างออกไป
จากที่เคยใช้เวลาฝึกเขียนที่โต๊ะทำการบ้าน หรือโต๊ะทำงาน ลองผ่อนคลายด้วยการฝึกเขียนในสถานที่ชิลล์ๆ อย่างร้านกาแฟ หรือที่อื่นๆ รับรองว่าสมองจะแล่นมากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
4. มีช่วงเวลาพัก ขณะฝึกเขียนไม่หักโหมจนเกินไป
บางคนคลุกคลีอยู่กับการเขียนงานเป็นประจำ และยังกดดันให้ตนเองฝึกเขียน ซึ่งจะทำให้เครียดจนเกินไป ดังนั้นแทนที่จะกำหนดตารางแบบจริงจัง ลองเว้นให้ตนเองได้มีช่วงเวลาพักบ้าง เพราะหากเครียดจนเกินไปก็จะทำให้เขียนออกมาได้ไม่ดีนั่นเอง
5. เพิ่มพลังสมองด้วยอาหารที่มีประโยชน์
แทนที่จะกินอาหารฟาสฟู้ดลองเปลี่ยนมากินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง และอุดมไปด้วยโอเมก้า 3
6. เรียนรู้ทักษะการเขียนเพิ่มเติมจากการอ่านงานเขียนของนักเขียนคนอื่น
การอ่านงานเขียนของคนอื่นๆ จะทำให้เราได้เรียนรู้ศิลปะการเขียน และลีลาการเขียนที่แตกต่างออกจากที่เคยทำ อีกทั้งยังสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงานที่อ่านมาปรับใช้กับงานเขียนของตนเองได้อีกด้วย
7. ฝึกเขียนอย่างสม่ำเสมอ
การฝึกฝนบ่อยๆ ย่อมทำให้เกิดความก้าวหน้า เพราะฉะนั้นใครที่ยังเขียนงานภาษาอังกฤษไม่ค่อยเก่ง อยากให้มีความอดทน และฝึกฝนบ่อยๆ แล้วทักษะของคุณจะพัฒนาขึ้นแน่นอน
8. ลองฝึกเขียนงานร่วมกับคนอื่นๆ
ลองฝึกเขียนภาษาอังกฤษร่วมกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือครอบครัวสักชิ้นหนึ่ง จะเป็นการเขียนอะไรก็ได้ เพื่อจุดประกายแรงบันดาลใจ และพัฒนาทักษะตนเอง อีกทั้งยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ได้ด้วยล่ะ
9. ฝึกเขียนด้วยมุมมองใหม่ๆ ที่ไม่จำกัดแค่เพื่อการเรียน หรือการทำงาน
การเขียนไม่จำกัดแค่เพื่อการเรียน หรือการทำงาน แต่รู้หรือไม่ว่าในต่างประเทศมีการรับอาสาสมัครเพื่อเขียนเรื่องราวให้เด็กๆ ด้อยโอกาสได้อ่าน เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของเด็กๆ เหล่านั้น นอกจากนี้การถ่ายทอดทักษะการเขียนที่คุณได้เรียนรู้ยังใช้ต่อยอดเพื่อส่งต่อเป็นเกร็ดความรู้ให้ผู้อื่นได้อีกด้วย
10. ท้าทายความสามารถในการเขียนของตนเอง
ลองส่งงานเขียนของตนเองเข้าประกวด หรือเข้าร่วมสนุกกับโครงการต่างๆ เพื่อท้าทายความสามารถตนเอง และจะได้รู้ว่าฝีมือของเรามีการพัฒนาขึ้นหรือไม่
ที่มา: grammarly
One Comment
Comments are closed.
[…] […]