วันนี้เราจะพาเพื่อนๆมาย้อนรอยมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และกว่าจะได้ก่อตั้งจนเราได้รับการศึกษาจนถึงปัจจุบันนี้มีความเป็นมาอย่างไร
ก่อนที่จะมีมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย “จุฬาฯ”
“..ขืนตั้ง(มหาลัยขึ้นมา)ราชวงศ์จักรีจะแย่ ถ้าเจ้าคุณจะตั้งมหาวิทยาลัย ผมตายก็อย่ามาเผาผม เจ้าคุณตายผมก็จะไม่ไปเผาเจ้าคุณ มันยังไม่ถึงเวลาตั้ง..”
คือถ้อยคำของผู้ขัดขวางการตั้งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในสมัยนั้นก็คือเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ซึ่งได้ต่อว่าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี(สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ว่าประเทศสยามยังไม่พร้อมที่จะมีมหาวิทยาลัยในประเทศ ตอนนั้นพวกเจ้านายชั้นสูง รวมไปถึงพวกขุนนางชั้นสูง บางท่านไม่สนับสนุนและเห็นด้วยกับรัชกาลที่ ๖ ในการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น ถึงขนาดที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (ต้นราชสกุลกิติยากร) เสนาบดีกระทรวงคลังสมัยนั้น ถึงกับบันทึกต่อว่าเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีว่า “..การตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ได้นั้น เสนาบดีกระทรวงธรรมการจะพารัฐบาลเข้าปิ้งทางการเงิน..” ว่ากันว่าท่านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีนั้น เป็นเจ้าพระยาที่ยากจนที่สุดในประเทศสยามเวลานั้น
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสอบถามเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ถึงเรื่องตั้งมหาวิทยาลัยในประเทศสยามว่า “เราพร้อมแค่ไหน” เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีได้กราบบังคมทูลว่า
“..ถ้าถือเอาอ๊อกฟอร์ดหรือเคมบริดซ์เป็นมาตรฐาน เรายังไม่พร้อมที่จะสถาปนามหาวิทยาลัย จะต้องลงทุนรอนมากมายนัก ทั้งเงินทั้งคนของเรายังไม่พร้อม แต่ถ้าจะลดหย่อนลงมาเพียงมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นสะพรั่งราวกับดอกเห็ดทั้งในตะวันตกและตะวันออก เราก็พอทำได้ มหาวิทยาลัยใหม่ casino ๆ นี้เปรียบเหมือนเป็นโรงเรียนกลางวัน แต่ออกสฟอร์ด เคมบริดซ์ เปรียบเหมือนโรงเรียนประจำ…(ตัดข้อความลง)….มหาวิทยาลัยก่าของอังกฤษ เท่ากับเป็นที่ประทับตราว่าคนนี้ออกไปทำงานอะไร ๆ ก็ไว้ใจได้ เขา เป็นสุภาพบุรุษโดยสมบูรณ์แล้ว แต่มหาวิทยาลัยใหม่จะประทับตราให้ได้แต่เพียงว่า คนนี้มีวิชาเอนจิเนีย,แพทย์,กฎหมาย,วิทยาศาสตร์,อักษรศาสตร์ ฯลฯ …จำนวนนักเรียนจบมัธยมบริบูรณ์ของเรายังน้อยมาก โรงเรียนข้าราชการพลเรือนยังต้องรับผู้จบมัธยมหก ในแง่นี้แง่เดียวก็อาจมีผู้คัดค้านได้ว่ายังไม่ถึงเวลา….”
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำรัสตอบกลับว่า
“….เดินเถิดอย่าคอยเวลาเลย อย่างไรเสียเราก็ต้องการมหาวิทยาลัย ตั้งเสียเดี๋ยวนี้ทีเดียว จะได้เป็นตลาดวิชาของเมืองไทย ไม่เป็นแต่เพียงที่เพาะข้าราชการไว้ใช้….”
และในที่สุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย จนถึงวันนี้ครบรอบ 98 ปี
Source:postjung
One Comment
Comments are closed.
pay people to write argumentative essays
…Pay people who write essays for you to enjoy proficient verbal communication to improve and Some of them are persuasive, descriptive, and narrative ones….