ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่ามหาวิทยาลัยใดระหว่าง The University of Bologna (AD 1088) หรือ University of Paris (AD1257) เป็นมหาวิทยาลัแห่งแรกของโลก แต่กระนั้นก็ยังมีอีกมหาวิทยาลัยหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ในคู่เปรียบเทียบนี้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่นอกทวีปยุโรปแล้วจะพบว่า มหาวิทยาลัยนาลันทา ( Nalanda University ) คือมหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลก
ภายหลังพุทธกาล เมืองนาลันทา เงียบหายไประยะหนึ่ง พ.ศ. 944-953 หลวงจีนฟาเยน ซึ่งจาริกมาสืบศาสนาในชมพูทวีป ได้บันทึกไว้ว่า “พบเพียงสถูปองค์หนึ่งที่นาลันทา”
พ.ศ. 958-998 กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ พระองค์หนึ่งพระนามว่า ศักราทิตย์ หรือ กุมารคุปตะที่ 1 ได้ทรงสร้างวัดอันเป็นสถานศึกษาขึ้น เมืองนาลันทา และ กษัตริย์พระองค์ ต่อๆมาใน ราชวงศ์คุปตะก็ได้สร้างวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้นในโอกาสต่างๆ จนมีถึง 6 วัด อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
ในที่สุดได้มีการสร้างกำแพงใหญ่อันเดียวล้อมรอบ ทำให้วัดทั้ง 6 รวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เรียกว่า นาลันทามหาวิหาร และ ได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ ภาษีที่เก็บได้ให้เป็น ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย ผู้เล่าเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
พ.ศ. 1149-1191 มหาราชพระองค์หนึ่งของอินเดีย ก็ได้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของมหาวิทยาลัยนาลันทา นักประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า มหาวิทยาลัยนาลันทา วิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยนาลันทา ปรัชญา ,โยคะ,ศัพทศาสตร์,เวชชศาสตร์,ตรรกศาสตร์ลนิติศาสตร์,นิรุกติศาสตร์ลโหราศาสตร์,ไสยศาสตร์ลตันตระ
พ.ศ. 1172-1187 หลวงจีนจัง ( พระถังซำจั๋ง ) ซึ่งจาริกมาสืบพระศาสนาในอินเดียในรัชกาลนี้ ได้มาศึกษาที่ นาลันทามหาวิหาร และได้เขียนบันทึกบรรยายอาคารสถานที่ที่ใหญ่โตและศิลปกรรมที่วิจิตรงดงาม ไว้ว่า
“ที่เด่นชัดก็คือ นาลันทา เป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และ เพราะความที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือมาก จึงมีมีนักศึกษาเดินทางมาจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น จีน ญี่ปุ่น เอเซียกลาง สุมาตรา ชวา ทิเบต และมองโกเลีย เป็นต้น และ หอสมุดนาลันทา ใหญ่โตมากและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก แต่เมื่อมหาวิทยาลัยนาลันทา ถูกทำลายทำให้หอสมุดนาลันทา ไหม้อยู่เป็นเวลาหลายเดือน”
พ.ศ. 1223 หลวงจีนอี้จิง ได้มาศึกษาที่นาลันทาและได้เขียนบันทึกเล่าไว้อีก มหาวิทยาลัยนาลันทารุ่งเรือง สืบมาช้านานจนถึง สมัยราชวงศ์ปาละ (พ.ศ. 1303-1685) กษัตริย์ราชวงศ์นี้ก็ทรงอุปถัมภ์มหาวิหารแห่งนี้ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะโอทันตปุระที่ได้ทรงสถาปนาขึ้นใหม่
ในยุค อังกฤษปกครองอินเดีย นักโบราณคดีจำนวนมากได้มาสำรวจขุดค้นพุทธสถานต่างๆในอินเดีย โดยอาศัยบันทึกของท่านเฮี่ยนจัง พ.ศ. 2358 คนแรกที่มาสำรวจ คือ ท่าน ฮามินตัน (Lord Haminton) แต่ไม่พบ ได้พบเพียงพระพุทธรูปและเทวรูป 2 องค์เท่านั้น ซึ่งสถานที่พบอยู่ห่างจาก มหาวิทยาลัยนาลันทา เพียง 1 กิโลเมตร
พ.ศ. 2403 นายพลคันนิ่งแฮม ได้มาสำรวจและก็พบ มหาวิทยาลัยนาลันทา ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงกองดินสูงเท่านั้น ต่อมาจึงได้ขุดสำรวจตามหลักวิชาการโบราณคดี มหาวิทยาลัยนาลันทาก็ได้ปรากฏแก่สายตาชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนาลันทา?มีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ และตรงหน้า มหาวิทยาลัยนาลันทา ได้มีพิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์ที่เก็บรวมรวมโบราณวัตถุที่ขุดพบใน มหาวิทยาลัยนาลันทา
พ.ศ. 2494 – อินเดียตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนา ที่ได้มีบทบาทอันยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์อารยธรรมของชมพูทวีป รวมทั้งบทบาทของ มหาวิทยาลัยนาลันทาหรือนวนาลันทามหาวิหาร ( นาลันทามหาวิหารแห่งใหม่ ) เพื่อแสดงความรำลึกคุณและยกย่องเกียรติแห่งพระพุทธศาสนา
พร้อมทั้งเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่มหาวิทยาลัยแห่งแรกของโลกนาลันทา มหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ในสมัยอดีตมีพระสงฆ์จากประเทศต่างๆ ไปศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไทย พม่า กัมพูชา อินเดีย บังคลาเทศได้รับการรับรองและสนับสนุนจากรัฐบาลกลางนิวเดลลีและได้มีการจัดตั้ง สถาบันบาลีนาลันทา ชื่อว่าสถาบันนาลันทาที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากความเลื่อมใสของหลวงพ่อ เจ กัสสปะ
วันนี้ก็ต้องขอลากันไปเพียงเท่านี้ แล้วกลับมาพบกับวาไรตี้ดีๆอัพเดททุกวันกับ Scholarship.in.th กันนะครับ
ที่มา : mthai