ว่าด้วยเรื่องการสอบ…สุดยอดแห่งความยากที่เด็กนักเรียนทุกๆ คนต้องเผชิญ นั่นก็เพราะว่าบทเรียนที่ยากไม้แพก็แล้ว ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลายก็ชอบจะคิดแนวข้อสอบยากๆ แผลงๆ มาจัดการนักเรียนอย่างเราๆ
จึงเป็นที่มาของการมั่วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะข้อสอบปรนัยที่มีตัวเลือกให้เลือกกัน ก็อย่างว่าอ่ะนะ…ทำไม่ได้แต่ขอลุ้นคะแนนเพิ่มหน่อยเหอะ
แต่ถ้าจะมั่วทั้งทีก็ต้องให้หมีหลักการนะครับผม วันนี้ ScholarShip.in.th ก็ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการมั่วข้อสอบยังไงให้มีหลักการ และมีโอกาสได้คะแนนสูงมาฝากกันแหละ ลองมาชมกันได้เลย
สำหรับวิธีการตัดช้อยส์ (มั่วนั่นแหละ ><) ที่เรานำมาเสนอในวันนี้เป็นวิธีที่มีชื่อเรียกแบบทรงพลังว่า Intermediate จากคุณหมอแมวครับผม จะเป็นอย่างไรลองมาชมกันเลย
และหลักการที่่ว่านี้ก็มีอยู่ดังนี้ครับ…
– วิชาชีววิทยา สังคม ภาษาไทย โจทย์ในแนวข้อใดถูกที่สุด ข้อใดผิดที่สุด มักจะตอบ ค. หรือ ง.
– สอบรด. คำตอบที่ครูฝึกบอกแบบOff record มักถูกต้อง
– เลข พวก integrate differential คำตอบ 0 และ 1 มักผิด
– คำตอบที่ความยาวสั้นที่สุด มักผิด
– ในวิชากลุ่มคำนวณ ถ้าช้อยข้อนึง เป็นจำนวนเต็มไม่มีทศนิยม ขณะที่ตัวที่เหลือมีทศนิยม ข้อนั้นผิด (และในทางกลับกัน มีทศนิยมข้อเดียว ข้อนั้นมักผิด)
– ถ้าเราทำโจทย์เลขหรือฟิสิกส์แล้วใช้ตัวแปรไม่ครบ แต่ได้คำตอบตรง ให้ระลึกไว้ว่านั่นมักจะเป็นคำตอบหลอก
– โจทย์ภาษาอังกฤษ ช้อยส์ที่ดูบ้านมากๆ หรืออลังการมากๆ มักจะผิด
– วิชาทางสายภาษาและสังคมศาสตร์ ช้อยส์ที่บอกว่า ถูกทุกข้อ มีโอกาสถูกสูง
– วิชาทางวิทยาศาสตร์และการคำนวณ ช้อยส์ที่บอกว่าถูกทุกข้อ มีโอกาสผิดสูง
ทีนี้พอทราบหลักการแล้ว เราก็มามั่วข้อสอบอย่างมีหลักการกันเถอะนะ อิอิ แต่รู้ไว้ใช่จะไม่ดี แต่ถ้ารู้อย่างนี้อ่านหนังสือมามากๆ จะดีกว่านะจ๊ะ :)
Source: Unigang , คุณหมอแมว