ในโลกนี้อาจจะสวยงามสำหรับบางคน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในชีวิตของคนอีกหลายคน จากความเชื่อต่างๆที่นำมาสู่การเหยียดผิวอย่างรุนแรงในสหรัฐอเมริกาในสมัยก่อน ทำให้กลุ่มคนผิวสีกลายเป็นพลเมืองชั้น 2 ไปโดยปริยาย ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการรณรงค์เรื่องความเท่าเทียมในอเมริกา แต่ในบางส่วนก็ยังไม่ดีขึ้นเลย วันนี้เราเอาตัวอย่างของสาวผิวสีคนแรกที่โดนรังแกในโรงเรียนที่อเมริกาในสมัยก่อนมาฝากเพื่อนๆกันเลยจ้า
ในปี ค.ศ. 1863 ประธานาธิบดี Abraham Lincoln ได้ประกาศเลิกทาส จึงเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญกับชาวผิวสี พวกเขาจะมีอิสระเท่าเทียม แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังคงมีพวกไม่ชอบคนผิวสีและเหยียดสีผิว ไม่ยอมรับ
ต่อมาในปี 1956 เด็กผิวสีทั้งมด 40 คนได้รับการโอนให้เข้าเรียนโรงเรียนคนขาว หลังผ่านเกณฑ์การสอบเข้าเรียนของรัฐนอร์ทแคโรไลน จนทำให้วันที่ 4 กันยายน 1957 โดโรธี วัย 15 ปีตอนนั้น ถูกโอนให้เข้าเรียนที่ Harding High school และคนอื่นๆ ถูกกระจายที่ไปเรียน
นับตั้งแต่เธอเดินเข้าโรงเรียน เธอก็ถูกประท้วงอย่างหนักจากกลุ่มนักเรียนที่เรียนที่ Harding High school โดยเฉพาะเด็กผู้ชายจะเดินตามก่อกวนเธอไปทุกที่
โดยการรังควานเกิดจากภรรยาของ John Z. Warlick ผู้นำสภาประชาชนผิวขาว ได้กระตุ้นเด็กผู้ชายทั้งหลาย ให้ไล่โดโรธีออกไป
ไม่ว่าจะโดนถ่มน้ำลายใส่ แต่โดโรธีก็เดินผ่านไปโดยไม่แสดงปฎิกิริยาตอบโต้ หลายคนยังคงตะโกน ผิวดำออกไป และมีบางคนปาก้อนหิน เศษขยะ กิ่งไม้ และอีกมากมายใส่เธอ แม้กระทั่งในขณะที่เธอรับประทานอาหาร แต่ก็ไม่มีครูคนไหนสนใจเธอเลย
และถึงแม้ว่า โดโรธี จะพยายามหาเพื่อนใหม่ที่เป็นผิวขาวได้ แต่ไม่นานเพื่อนผิวขาวของเธอก็ต้องโดนข่มขู่และปลีกตัวออกไปจากเธอ
ตลอดสี่วันเธอโดนกลั่นแกล้ง และโดนข่มขู่อย่างหนัก ไม่ใช่เพียงแค่เธอ แต่ครอบครัวของเธอก็ถูกขู่ทางโทรศัพท์ รวมไปถึงถูกทุบรถ ตลอด 4 วันพ่อของโดโรธีจึงตัดสินใจให้ลูกสาวออกจากโรงเรียน และย้ายครอบครัวไปอยู่รัฐเพนซิลวาเนีย และสามารถเข้าเรียนต่อจนจบที่ฟิลาเดเฟีย และต่อที่มหาวิทยาลัย Johnson C. Smith University
เมื่อเรียนจบเธอใช้ความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดทำงานเพื่อสังคม และเป็นผู้ให้บริการดูแลเด็ก
ในปี ค.ศ. 2008 โรงเรียน Harding High school ได้มอบประกาศนียบัตรกิตติมศักดิ์กับโดโรธี และในปี 2010 เธอได้รับการขอโทษต่อหน้าประชาชนจากหนึ่งในกลุ่มฝูงชนที่คุกคามเธอ ในปีเดียวกันนั้น Harding High school ได้เปลี่ยนชื่อห้องสมุดประจำโรงเรียนตามชื่อของเธอ Counts-Scoggins เพื่อเป็นเกียรติแด่เธอ
และภาพถ่ายขาว-ดำที่เราชมมาตั้งแต่ตอนต้นนั้น ถูกถ่ายโดย Douglas Martin ในวันที่ โดโรธี ถูกฝูงชนล้อเลียนในวันแรกของการเข้าเรียน ต่อมาภาพของเขาได้รับรางวัลชนะเลิศ ภาพถ่ายสื่อมวลชนโลกแห่งปี 1957 ที่ด้านล่างมีเด็กผู้ชายกำลังล้อเลียนเธอ แต่เธอไม่ได้สนใจแม้แต่น้อย
ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีการเหยียดสีผิว แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ามีการเหยียดกันเรื่องอื่นอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง หน้าตา ฐานะ และเพศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากจิตใจที่มีความเกลียดชังนั่นเอง และก็คงไม่สามารถหลุดพ้นไปจากสังคมโลกได้ แต่โลกของเราก็ยังมีคนดีๆอยู่อีกมากมายเช่นกัน
source: MThai