การให้ทุนการศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ประเภทเพิ่มเติม รุ่นที่ 11
1. ทุนการศึกษา คปก. ประเภทเพิ่มเติม สำหรับสาขาทั่วไป
1.1 ผู้มีสิทธิ์ขอทุนการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ที่มีนักศึกษาปริญญาเอกที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การจัดสรรทุนการศึกษาผู้ช่วยวิจัย คปก. สำหรับสาขาทั่วไป พร้อมทำสัญญารับทุนการศึกษา คปก. ซึ่งไม่ได้สมัครขอทุนการศึกษา คปก. รุ่นที่ 11 และมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ที่เคยได้ทุนการศึกษา คปก. ที่มีผลการดำเนินการดี
(ข) เมธีวิจัยอาวุโสที่ยังรับทุนการศึกษาอยู่ หรือเทียบเท่า
(ค) ผู้ที่มีทุนการศึกษาวิจัยเพียงพอและมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ของ สกว.
(ง) ผู้ที่ สกว. เห็นควรเชิญให้สมัครรับทุนการศึกษา
1.2 วิธีการสมัคร ผู้สมัครจะต้องส่งแบบฟอร์ม ปก.2.2/50 (ข้อมูลอาจารย์ที่ปรึกษา) และ แบบฟอร์ม ปก. 4/51 (ข้อมูลนักศึกษา) พร้อมหลักฐานประกอบตามรายการที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์มให้ สกว. ภายในเดือนกันยายน 2552 (download แบบฟอร์มได้ที่ http://rgj.trf.or.th/skv1/rgj_download.asp)
การพิจารณาให้ทุนการศึกษา คปก. ประเภทเพิ่มเติมสาขาทั่วไป
(1) อนุมัติให้กับผู้มีสิทธิ์รับทุนการศึกษาได้เพียงท่านละ 1 ทุนการศึกษาเท่านั้น
(2) นักศึกษาที่สมัครขอทุนการศึกษาเพิ่มเติมสาขาทั่วไป หากไม่มีคุณสมบัติดีเด่นเป็นพิเศษ คปก. จะให้ความสำคัญเป็นลำดับท้ายๆ เมื่อเทียบกับผู้สมัครขอทุนการศึกษาปกติในสาขาทั่วไป
2. ทุนการศึกษา คปก. ประเภทเพิ่มเติม สำหรับสาขาขาดแคลน
คณะกรรมการนโยบายปริญญาเอกกาญจนาภิเษก มีมติเห็นควรจัดสรรทุนการศึกษา คปก. เพื่อเพิ่มจำนวนผู้รับทุนการศึกษา คปก. สาขาขาดแคลน ซึ่งได้แก่ สาขาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ (ยกเว้นวิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมเคมี) เทคโนโลยีสาขาสำคัญแต่มีผู้ได้ทุนการศึกษา คปก. น้อย สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร และกลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสัตว์เศรษฐกิจ ครอบคลุมถึงสาขาสัตวแพทยศาสตร์ ด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชสวนและพืชไร่เฉพาะด้าน conventional breeding และสาขาอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
2.1 ผู้มีสิทธิ์ขอทุนการศึกษา ได้แก่ อาจารย์ในสาขาขาดแคลนที่มีนักศึกษาปริญญาเอกที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การ จัดสรรทุนการศึกษาผู้ช่วยวิจัย คปก. สำหรับสาขาขาดแคลน พร้อมทำสัญญารับทุนการศึกษา คปก. ซึ่งไม่ได้สมัครขอทุนการศึกษา คปก.รุ่นที่ 11 และมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ที่เคยได้ทุนการศึกษา คปก. ที่มีผลการดำเนินการดี
(ข) เมธีวิจัยอาวุโสที่ยังรับทุนการศึกษาอยู่ หรือเทียบเท่า
(ค) ผู้ที่มีทุนการศึกษาวิจัยเพียงพอและมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ของ สกว.
(ง) ผู้ที่ สกว. เห็นควรเชิญให้สมัครรับทุนการศึกษา
2.2 วิธีการสมัครทุนการศึกษา คปก. ประเภทเพิ่มเติมสำหรับสาขาขาดแคลน
1. แบบเดี่ยว ผู้สมัครจะต้องส่งแบบฟอร์ม ปก.2.2/50 (ข้อมูลอาจารย์ที่ปรึกษา) และ แบบฟอร์ม ปก. 4/51 (ข้อมูลนักศึกษา) พร้อมหลักฐานประกอบตามรายการที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์มให้ สกว. ภายในเดือนกันยายน 2552 (download แบบฟอร์มได้ที่ http://rgj.trf.or.th/skv1/rgj_download.asp)
(ข้อมูลนักศึกษา) พร้อมหลักฐานประกอบตามรายการที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์มให้ สกว. ภายในเดือนกันยายน 2551
2. แบบกลุ่ม* อาจารย์ในสาขาขาดแคลนจำนวนไม่เกิน 3 คน ที่มีโครงการวิจัยร่วมกันอาจสมัครรับทุนการศึกษา คปก. ประเภท ?กลุ่มสาขาขาดแคลน? โดยผู้สมัครแต่ละกลุ่มจะต้องมีอาจารย์อย่างน้อย 1 คนที่เคยได้ทุนการศึกษา คปก. หรือมีคุณสมบัติเทียบเท่า และมีนักศึกษาปริญญาเอกที่มีคุณสมบัติดีพร้อมรับทุนการศึกษา
*หมายเหตุ อาจารย์ในกลุ่มวิจัยสาขาขาดแคลนนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่ในสังกัดหรือสาขาวิชา เดียวกันแต่จะต้องมีโครงการวิจัย (ซึ่งจะเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของนักศึกษาทุนการศึกษา คปก. ในกลุ่ม) ที่เกี่ยวข้องสอดคล้องและเสริมกัน หรืออาจเป็นโครงการวิจัยที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ อาจารย์และนักศึกษาในกลุ่มจะต้องมีแผนร่วมปรึกษากันอย่างใกล้ชิดตลอดโครงการ
กลุ่มผู้สมัครจะต้องส่งเอกสารการสมัครให้ สกว. ภายในเดือนกันยายน 2552 ดังนี้
(1)แบบฟอร์ม ปก. 2.2/50 (ข้อมูลอาจารย์ที่ปรึกษา) ของผู้สมัคร ท่านละ 1 ชุด และแบบ ฟอร์ม ปก.4/51 (ข้อมูลนักศึกษา) พร้อมหลักฐานประกอบตามรายการที่กำหนดไว้ในแบบ ฟอร์ม
(2) โครงการวิจัยร่วมของกลุ่มผู้สมัคร (ที่จะเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาเอก) ตามแบบฟอร์ม ปก.8 (download แบบฟอร์มได้ที่ http://rgj.trf.or.th/skv1/rgj_download.asp)
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดสรรทุนการศึกษาผู้ช่วยวิจัยโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) รุ่นที่ 11
คปก. จะพิจารณาคัดเลือกนักศึกษาที่สมัครรับทุนการศึกษาในรุ่นที่ 11 ตามคุณสมบัติในข้อ 1. และเกณฑ์ในข้อ 2. ดังนี้
1. คุณสมบัติของนักศึกษาที่จะขอรับทุนการศึกษา ?ผู้ช่วยวิจัย? คปก.
สำหรับสาขาทั่วไป
-ผู้มีวุฒิปริญญาตรีจะต้องได้ (1) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือ (2) เกียรตินิยมอันดับสองและอยู่ใน 10% แรกของชั้น (โดยมีหนังสือรับรองจากสำนักทะเบียน) หรือ (3) ผลการเรียนเทียบเท่าหรืออยู่ในระดับเดียวกับข้อ (1) หรือ (2)
-ผู้มีวุฒิปริญญาโท จะต้องมีผลงานตีพิมพ์ หรือ เสนอในที่ประชุมวิชาการที่มีคุณภาพที่ สกว. ยอมรับ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานวิจัยที่เผยแพร่และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา) และมีผลการเรียนทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในระดับดีมากเป็นที่ยอมรับของ สกว. โดยสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่เหมาะสมที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับ ปริญญาเอกที่จะรับทุนการศึกษา
-นักศึกษาปริญญาโทที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก (upgrade) จะต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
1.ผลการเรียนระดับปริญญาตรีได้ (1.1) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือ (1.2) เกียรตินิยมอันดับสองและอยู่ใน 10% แรกของชั้น (โดยมีหนังสือรับรองจากสำนักทะเบียน) หรือ (1.3) ผลการเรียนเทียบเท่าหรืออยู่ในระดับเดียวกับข้อ (1.1) หรือ (1.2) และ o ผลการเรียนระดับปริญญาโทอยู่ในระดับดีมาก
2. (2) มีผลการเรียนในระดับดีมาก และมีผลงานตีพิมพ์หรือเสนอในที่ประชุมวิชาการที่มีคุณภาพที่ สกว. ยอมรับ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานวิจัยที่เผยแพร่และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา)
-ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทที่มีประสบการณ์วิจัยและผล งานวิจัยและพัฒนาดีเด่น (พิจารณาจากคุณภาพผลงานวิจัยที่เผยแพร่ สิทธิบัตร ฯลฯ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา) อาจได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษพิจารณาเป็นพิเศษ
-มีสัญชาติไทย และสามารถศึกษาวิจัยได้เต็มเวลา ในขณะที่ได้รับทุนการศึกษา คปก. (3-5 ปี)
สำหรับสาขาขาดแคลน
-มีวุฒิปริญญาตรี จะต้องได้เกียรตินิยม และ/หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้น
-ผู้มีวุฒิปริญญาโท จะต้องมีผลงานตีพิมพ์ หรือ เสนอในที่ประชุมวิชาการที่มีคุณภาพที่ สกว. ยอมรับ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานวิจัยที่เผยแพร่และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา) และมีผลการเรียนทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทในระดับดีเป็นที่ยอมรับของ สกว. โดยสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่เหมาะสมที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับ ปริญญาเอกที่จะรับทุนการศึกษา
-นักศึกษาปริญญาโทที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นนักศึกษาปริญญาเอก (upgrade) จะต้องได้ เกียรตินิยม และ/หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้นในระดับปริญญาตรี หรือมีผลการเรียนที่อยู่ในระดับดีและมีผลงานตีพิมพ์หรือเสนอในที่ประชุม วิชาการที่มีคุณภาพที่ สกว. ยอมรับ (โดยพิจารณาจากคุณภาพของผลงานวิจัยที่เผยแพร่และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา)
– ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทที่มีประสบการณ์วิจัยและผลงาน วิจัยและพัฒนาดีมาก (พิจารณาจากคุณภาพผลงานวิจัยที่เผยแพร่ สิทธิบัตร ฯลฯ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา) อาจได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
-มีสัญชาติไทย และสามารถศึกษาวิจัยได้เต็มเวลา ในขณะที่ได้รับทุนการศึกษา คปก. (3-5 ปี)
หมายเหตุ*
สาขา ขาดแคลนได้แก่ สาขาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ (ยกเว้นวิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมเคมี) เทคโนโลยีสาขาสำคัญแต่มีผู้ได้ทุนการศึกษา คปก. น้อย สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร และกลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและสัตว์เศรษฐกิจ ครอบคลุมถึงสาขาสัตวแพทยศาสตร์ ด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชสวนและพืชไร่เฉพาะด้าน conventional breeding และสาขาอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
2.เกณฑ์อื่นๆ ที่ใช้เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติทุนการศึกษาควบคู่กับคุณสมบัติของนักศึกษาในข้อ 1.
-ในบางกรณี คปก. อาจมีการสัมภาษณ์นักศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาให้ทุนการศึกษา
-คปก. จะให้ความสำคัญต่อหัวข้อและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่จะทำ โดยต้องมีเนื้อหาครบตามที่ คปก. กำหนด
-ในบางกรณี คปก. จะให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมของนักศึกษา และเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่เสนอมา
-นักศึกษาที่สมัครขอรับทุนการศึกษา คปก. ต้องมีอายุไม่เกิน 40 ปี
-นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาหรือทุนการศึกษาวิจัยอื่นที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับทุนการศึกษานั้นๆ แล้ว เช่น ทุนการศึกษา พสวท. และทุนการศึกษาโครงการส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ (สควค.) เป็นต้น จะไม่ได้รับการสนับสนุนให้รับทุนการศึกษา คปก.
-นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาหรือทุนวิจัยจาก สถาบันการศึกษา โครงการ หรือศูนย์ความเป็นเลิศต่างๆ ซึ่งสนับสนุนทุนการศึกษาอยู่แล้ว คปก. จะให้ความสำคัญในการพิจารณาให้ทุนการศึกษา คปก. เสริมกับนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาจากสถาบันการศึกษา โครงการหรือศูนย์ฯ ที่มีข้อตกลง (MOU) จะร่วมทุนการศึกษากับ คปก.
-อาจารย์ที่ปรึกษาที่เคยได้ทุนการศึกษา คปก. และ/หรือได้ทุนวิจัยอื่นๆ ของ สกว. แล้ว จะต้องมีผลการดำเนินการดี และไม่มีทุนการศึกษา คปก. สำหรับนักศึกษาที่ได้สำเร็จปริญญาเอกไปแล้วนานกว่า 2 ปีค้างปิดโครงการ ตลอดจนได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการรับทุนการศึกษาสำหรับทุนการศึกษาของ สกว. ที่ได้รับไปครบถ้วนแล้ว
-ในการพิจารณาให้ทุนการศึกษานักศึกษา คปก. จะให้ความสำคัญต่อความชัดเจนของความร่วมมือระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาชาวไทยกับอาจารย์ที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ
-สำหรับนักศึกษาที่เข้าเรียนปริญญาเอกเกิน 2 ปีแล้ว คปก. จะให้ความสำคัญในการพิจารณาเป็นลำดับท้ายๆ
-อาจารย์ที่ปรึกษาที่เกษียณอายุราชการ อาจารย์ที่ปรึกษาที่เป็นชาวต่างประเทศ หรืออาจารย์ที่ปรึกษาที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำในสถาบันที่นักศึกษาได้รับทุนการศึกษาคปก. จะต้องมีหลักฐานแสดงชัดเจนจากมหาวิทยาลัย/สถาบันนั้นว่า จะสามารถอยู่ทำงานกับมหาวิทยาลัย/สถาบันนานพอที่จะรับผิดชอบดูแลนักศึกษาจน สำเร็จการศึกษา
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนการศึกษาสนับสนุนการวิจัย ชั้น 15
อาคาร เอส เอ็ม ทาวเวอร์ เลขที่ 979/17-21 ถ.พหลโยธิน สามเสนใน พญาไท กรุงเทพ 10400
โทรสาร 0-2298-0478 E-mail : [email protected]
http://rgj.trf.or.th/thai/rgj31_grant11Add.asp