เชื่อว่าหลายคนอาจเคยสงสัยว่าการเดินทางไปจักรวาลและอวกาศนั้น นอกจากมนุษย์เราแล้วสัตว์อื่นๆ สามารถออกไปท่องอวกาศได้หรือไม่?
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ามีสัตว์ถึง 10 ชนิดด้วยกันที่เคยไปนอกโลก มาทำความรู้จักพวกมันได้เลย!
#1 แมลงวัน
ปี 1947 แมลงวันถูกส่งออกไปนอกโลกเพื่อทดสอบหาผลกระทบที่รังสีคอสมิคอาจมีผลต่อนักบินอวกาศ เพราะพวกมันมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายมนุษย์ และผลการทดสอบพบว่าแมลงวันที่ถูกส่งไปนั้นยังมีชีวิตอยู่ และไม่พบผลกระทบของรังสี
#2 ลิง
มีลิงหลายชนิดถูกส่งไปยังอวกาศเพื่อการทดลอง ในปี 1949 ลิงแสมชื่อ Albert II คือชนิดแรก แต่มันกลับเสียชีวิตลงอย่างน่าเศร้าเมื่อได้รับผลกระทบขณะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก โดยก่อนหน้านั้นคือ Albert I ที่เสียชีวิตลงก่อนเพราะหายใจไม่ออกขณะอยู่ในแคปซูล
#3 หนู
หนูถูกใช้เพื่อหาผลกระทบของการเดินทางในอวกาศที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายมนุษย์ โดยหนูตัวแรกได้เดินทางเข้าสู่อวกาศในปี 1950 อย่างไรก็ตามหนูได้เสียชีวิตลงเมื่อจรวดสลายตัว
#4 สุนัข
สุนัขถูกส่งเข้าสู่อวกาศภายใตสหภาพโซเวียต และที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ Leika แม้ว่าจะมีสุนัขตัวอื่นๆ เดินทางไปนอกโลกก่อน Leika แต่ผลการทดลองเหล่านั้นกลับไม่เคยประสบความสำเร็จ
Leika ถือเป็นสุนัขตัวแรกที่ได้โคจรรอบแรก อย่างไรก็ตามเธอก็ไม่เคยกลับมาบนโลกอีกเลย
#5 เต่า
ในปี 1968 เกิดการแข่งขันระหว่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตที่จะส่งคนไปยังดวงจันทร์ ทางโซเวียตจึงเปิดตัวยาน Zond 5 ที่ได้บรรจุเมล็ดพันธุ์ พืช หนอน และเต่าสองตัว
เต่าได้เดินทางรอบดวงจันทร์เป็นเวลา 6 วัน และได้เดินทางกลับสู่โลกอย่างปลอดภัยและยังมีชีวิต ยกเว้นแต่ว่าน้ำหนักมันลดลงไปถึง 10%
#6 กบ
ในปี 1970 นาซ่าได้เปิดตัวยานอวกาศ Orbiting Frog Olotith ที่มีลูกกบอยู่สองตัว เพื่อทดสอบกลไกสมดุลของหูชั้นในของกบ ยานถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบผลกระทบของการเดินทางในอวกาศ
จากการศึกษาพบว่าหลังจาก 6 วัน กบได้ปรับสภาพ และระบบของพวกเขาก็ได้กลับสู่โหมดปกติ
#7 แมงมุม
นักวิทยาศาสตร์ได้สนใจศึกษาสภาวะไร้น้ำหนักต่อการทำงานของสัตว์ ในปี 1973 จึงส่งแมงมุม 2 ตัวไปยังนอกโลกเพื่อดูว่าพวกมันสามารถสร้างใยได้หรือไม่ โดยเป็นไอเดียของนักเรียนมัธยม
ผลการทดลองพบว่าแมงมุมทั้ง 2 ตัวพยายามสร้างใยที่มีความละเอียดกว่าบนโลกเล็กน้อย ซึ่งเกี่ยวกับผลกระทบของ microgravity
#8 ปลา
ปี 1973 นาซ่าได้ส่งปลาขึ้นไปยังอวกาศและพบว่ามันได้ว่ายน้ำเป็นวงกลมแทนที่จะเป็นเส้นตรง
และในปี 2012 ทางญี่ปุ่นเองก็ได้ส่งปลาไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ โดยในตู้ปลามีระบบให้อาหารอัตโนมัติ ระบบไหลเวียนของน้ำ และไฟ LED โดยปลาที่ถูกเลือกคือปลาผิวใส เพื่อดูว่าปลาจะตอบสนองต่อการแผ่รังสีความเสื่อมของกระดูก และการสูญเสียกล้ามเนื้อได้อย่างไร
#9 ทาดิเกรด
ปี 2007 ทาดิเกรดคือสัตว์ตัวแรกที่มีชีวิตอยู่นอกโลก มันรู้จักในอีกชื่อว่า Water Bears มันถูกทำให้แห้งก่อนออกเดินทาง และได้โคจรรอบโลกนอกจรวดเป็นเวลา 10 วัน และได้รับความชุ่มชื้นอีกครั้งเมื่อกลับสู่โลก
นักวิทยาศาสตร์พบว่า 68% ได้รอดชีวิตจากความหนาวเย็นและรังสีในอวกาศ
#10 ไส้เดือนฝอย
ปี 2003 กระสวยอวกาศโคลัมเบียได้สลายตัวเมื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ แต่ก็ไม่น่าเชื่อว่าภายใต้ซากเหล่านั้นมีไส้เดือนฝอยกลุ่มหนึ่งรอดชีวิตจากความร้อนจัด
มันจึงถูกใช้เพื่อศึกษาผลกระทบของการเดินทางในอวกาศต่อสิ่งมีชีวิต
การทดลองของเหล่านักวิทยาศาสตร์นั้นช่างน่าสนใจ แสดงให้เห็นว่าบนโลกนี้ยังมีหลายสิ่งอีกมากมายที่รอให้เราค้นหา!
ที่มา: discoverwildlife