การสื่อสารภาษาอังกฤษก็จะมีความหมายของคำตามระดับภาษาแตกต่างกันไปเช่นเดียวกับภาษาไทย รวมทั้งการใช้คำ หรือวลีในการสื่อความหมาย นอกจากจะใช้คำที่สื่อความหมายถูกต้องแล้ว ผู้ใช้ก็ควรเลือกใช้คำ หรือวลีให้ถูกต้องตามกาลเทศะ
วันนี้เราก็มี 10 วลีที่ไม่ควรใช้พูดกับเพื่อนร่วมงานต่างชาติมาฝากกัน เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้จะได้ไม่เผลอไปใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมในที่ทำงานนั่นเอง
1. Let me know
ความหมาย: “แจ้งให้ฉันทราบ”
ส่วนมากเราจะคุ้นเคยกับคำนี้ปรากฎตอนท้ายของอีเมลล์ แต่ในกรณีใช้พูดกับเพื่อนร่วมงานจะดูออกคำสั่งมากเกินไป เราจึงควรเลือกใช้คำอื่นจะฟังดูเหมาะสมกว่า
ตัวอย่าง:
Let me know when you’re free to meet.
ควรใช้เป็น I’m available to meet on Wednesday at 1:00 p.m. or 3:00 p.m. Which time works for you?
2. You Look Tired
ความหมาย: คุณดูเหนื่อยๆ นะ
คำว่า “You Look Tired” นอกจากจะใช้ตอนทักเพื่อนร่วมงานว่า “คุณดูเหนื่อยๆ” แล้ว ยังสื่อความหมายแง่เดียวกับคำว่า “you look terrible” ที่แปลว่า “คุณดูแย่” อีกด้วย เพราะฉะนั้นแทนที่จะทักในแง่ลบ ลองเปลี่ยนมาใช้คำทักทายดังต่อไปนี้จะฟังดูดีกว่า
ตัวอย่าง:
“Hey, how are you doing today?”
“I’m grabbing coffee at Starbucks, would you like anything?”
“You’ve been putting in a lot of time on this project. Is there anything I can help you with?”
3. Just
ความหมาย: เพียงแค่, เพิ่งจะ, พอดี, ทีเดียว, ตอนนี้, ขณะนี้, เมื่อกี้นี้
มักจะใช้ just เพื่อทำให้ประโยคที่จะสื่อดูซอฟต์ลง แต่ในทางเดียวกันหากผู้พูดใช้คำว่า just ในการพูดมากเกินไป จะทำให้ดูเหมือนว่าเรื่องที่พูดอยู่นั้นไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่นัก หากอยากพูดให้มั่นใจขึ้น ไม่ควรใช้คำนี้ฟุ่มเฟือย
ตัวอย่าง:
“Sorry to bother you, I just want to check in on your progress on the report due tomorrow.”
ควรใช้เป็น “How’s progress on the report coming along? I look forward to reviewing it tomorrow.”
4. I think / I feel
ความหมาย: ฉันคิดว่า… / ฉันรุ้สึกว่า…
การใช้วลีเหล่านี้ขึ้นต้นประโยคที่จะพูดบ่อยๆ นั้น สื่อให้คนฟังเห็นถึงความไม่มั่นใจ ทั้งไม่มั่นในสิ่งที่จะพูด และความไม่มั่นใจในความคิด ความสามารถของตัวผู้พูดเอง ถ้าจะพูดก็ให้พูดออกไปเลย ไม่ต้องเกริ่นบ่อยนัก
ตัวอย่าง:
“I can get my completed article to you by 5:00 p.m.”
“This is the best plan for the new campaign.”
5. It’s not fair
ความหมาย: นี่มันไม่ยุติธรรมเลย
แทนที่จะใช้คำพูดตัดพ้อถึงเรื่องที่เกิดขึ้น คุณควรใช้คำพูดที่สร้างพลังในการทำงานให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นจะดีกว่า รวมทั้งใช้ข้อเท็จจริง เหตุผลพิจารณาในเรื่องที่เกิดมากกว่าใช้ความรู้สึก เพราะการใช้ความรู้สึกมาก่อน จะทำให้คุณดูเป็นเด็กอมมือ
ตัวอย่าง:
It’s not fair that Kevin gets to go to the conference instead of me.
ควรใช้เป็น I’ve put in over 20 hours creating this presentation and am the most comfortable talking about the material. It makes sense for me to be the lead presenter at the conference.”
6. OMG, did you hear about Kevin?
ความหมาย: OMG คุณได้ยินเรื่องของเคลวินไหม
จากประโยคข้างต้นจะสื่อถึงการพูดถึงบุคคลที่สาม หรือซุบซิบนินทา ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้พูดจึงควรปรับเปลี่ยนนิสัย และวิธีการพูด ถ้ามีเพื่อนร่วมงานคนอื่นมาพูดกับคุณ สามารถใช้ประโยคต่อไปนี้ในการแก้สถานการณ์
ตัวอย่าง:
หากมีเพื่อนร่วมงานจุดประเด็นขึ้นว่า : OMG, did you hear about Kevin?
คุณสามารถตอบไปว่า “If you feel the need to vent, do your kvetching with a non-work friend. And if you have a conflict with someone, talk to them directly—or, if appropriate, talk with your company’s human resources department.”
7. I’ll try
ความหมาย: ฉันจะลองดูนะ
แทนที่ใช้วลีที่สื่อให้คนฟังรู้สึกว่าคุณลังเล หรือตอบแบบขอไปที ควรเปลี่ยนมาใช้ประโยคที่แสดงความชัดเจนทั้งคำพูด และการกระทำ
ตัวอย่าง:
“I won’t be able to write the report today, but I can have it to you by noon tomorrow.”
“I’ll research how to do that and will check in with Kevin if I need assistance.”
8. It’s not my fault
ความหมาย: นี่ไม่ใช่ความผิดฉันสักหน่อย
ไม่ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายขนาดไหน คุณก็ไม่ควรพูดคำว่า “It’s not my fault” เพราะคนที่โตแล้ว จะไม่พูดปัดความรับผิดชอบ หากมีอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ควรจะอธิบายให้คู่กรณีฟังด้วยความใจเย็น และใช้คำพูดที่มีมารยาทให้เกียรติคนอื่น
9. Maybe it’s stupid, but…
ความหมาย: มันอาจจะฟังดูโง่นะ แต่…
เป็นเรื่องปกติที่จะกลัวคำวิจารณ์ของคนอื่น ๆ แต่การใช้ประโยคนี้ขึ้นต้น เวลาจะแสดงความคิดเห็นเป็นอะไรที่ไม่ควรอย่างยิ่งเพราะวลีเหล่านี้จะสื่อให้คุณดูเป็นคนที่ไม่มั่นใจในความคิดของตนเองมากๆ หากจะแสดงความคิดเห็นของตนเองควรพูดออกไปให้ชัดเจนจะฟังดูดีกว่า
ตัวอย่าง:
“I have an idea for our next project. It’s different from what we usually do, and I think this could give us some new results.”
10. Sorry
ความหมาย: ขอโทษ
คำนี้ไม่ใช้ว่าห้ามพูดซะทีเดียว ถ้ามีสถานการณ์ที่ตัวเราทำให้เกิดความผิดพลาดก็สามารถพูดได้ เพียงแต่อย่าพูดบ่อย หรือใช้ฟุ่มเฟือยจนเกินไป เพราะจะทำให้คนฟังรู้สึกว่าคำขอโทษของคุณนั้นฟังดูไม่จริงใจ
ตัวอย่าง:
“I’m sorry, but could you have the presentation ready by noon?”
ควรใช้เป็น “I’ll need the presentation ready by noon so we’ll have time to review it. I greatly appreciate your work on this.”
ที่มา: grammarly