เรื่องราวต่อไปเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่จะช่วยเหล่าบรรดาคุณพ่อคุณแม่จัดการกับเจ้าตัวยุ่งที่บ้านได้อย่างดีเลยล่ะ ว่าแล้วมาชมรายละเอียดกันได้กับ ScholarShip.in.th กันเลย
เด็กๆ ที่อายุยังไม่ค่อยมากก็มักจะมีปัญหาสมาธิสั้นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้วยความไฮเปอร์ของวัยเด็กที่มีพลังงานมากมายอย่างเหลือล้น หรืออาจจะเป็นเพราะที่เด็กติดอุปกรณ์ไอทีมากกันเกินไปนั่นเองก็ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของอาการนี้
ทีนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ 12 กลวิธีสำหรับคุณพ่อคุณแม่สำหรับจัดการเด็กสมาธิสั้นได้อย่างอยู่หมัด ว่าแล้วเรามาดูกันเลยดีกว่าว่าจะมีอะไรบ้าง
1. ตั้งนาฬิกา – ตั้งเวลาและจับเวลา
ลองใช้นาฬิกาเตือนตามเวลาที่เป็นจริง เช่น เตือนเมื่อถึงเวลาทำงาน เตือนเมื่อหมดเวลาเล่นหรือไม่ก็หานาฬิกาเรือนใดๆ มาให้เด็กเห็นได้ชัดๆ จะช่วยเด็กให้กะประมาณเวลาได้ดีขึ้นครับ
2. ชมแบบรวดเร็วรุนแรงและว่องไว
หัดเป็นคนพูดชมสั้นๆ หรือตบไหล่ตบหลังทำนองชื่นชนเด็กทันทีที่เด็กเขาปฏิบัติตัวตามที่เราคาดหวัง ยิ่งเร็วยิ่งทำให้เด็กภูมิใจอยากทำอีก (เหมือนชมสัตว์เลี้ยงของเราเลยนะครับสำหรับข้อนี้ -*-)
3. ชมเขาเข้าไปเรื่อยๆ เมื่อทำสิ่งที่ดี
ทำให้เด็กซนสมาธิสั้นเหล่านี้รู้ให้ได้ว่า อะไรที่เราอยากให้เป็น โดยการชมเด็กเหล่านี้ ต้องชมบ่อยกว่าเด็กทั่วไป เพื่อช่วยนำเขาให้ประพฤติถูกทางไปเรื่อยๆ จนทำงานได้ผลสำเร็จ หน้าที่ของพ่อแม่คือชมเชยเขาเมื่อถูกทาง และตำหนิเมื่อผิดทางครับ
4. ทำตัวเป็นเครื่องจักรจ่ายรางวัลบ่อยๆ ก็ดีเหมือนกันนะ
นอกจากคำชมเชยลมๆ เเล้ว เด็กพวกนี้ต้องการรางวัลที่จับต้องได้มากกว่านะครับ แต่รางวัลก็จะต้องทำให้ดูสำคัญสำหรับเขา นั่นคือคุณเองก็ต้องเป็นคนสำคัญของเขาเช่นกัน ต้องหมั่นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเมื่ออยู่ด้วยกัน เมื่อได้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ เขาจะดีใจและพยายามทำตัวดีขึ้นครับ
5. เปลี่ยนรางวัลบ่อยๆ ให้ดูสนุก
เมื่อให้รางวัลเหมือนเดิมบ่อยๆ ก็อาจเกิดความซ้ำซากจำเจได้ วิธีนี้จะช่วยให้เด็กไม่เบื่อกับรางวัลเกินไป และจะคงพฤติกรรมดีๆ ไว้ได้ ลองให้เขาช่วยคิดตั้งรางวัลให้ตัวเองดูนะครับ แต่ต้องไม่เกินพอดีมากเกินไปล่ะ
6. ลงมือ อย่าเอาแต่เหน็บหรือประชด!!
สำหรับเด็กซนสมาธิสั้นมีปัญหาที่การลงมือปฏิบัติไม่ใช่ความไม่เข้าใจ ดังนั้นยิ่งคุณพูดมา อธิบายยาว หรือเหน็บแนมประชดประชัน มากเท่าไร จะยิ่งทำให้เด็กทำงานเสร็จช้าลงเท่านั้น พยายามทำแค่เตือนสั้นๆ ให้รางวัลง่ายๆ บ่อยๆ แบบที่บอกข้างต้น โดยลดความจู้จี้ ย้ำซ้ำ และคำพูดไม่น่าฟังลงนะครับ
7. แสดงออกในมุมมองที่บวก
บอกสิ่งที่เราอยากให้เด็กทำในทางบวก คิดให้ชัดเสียก่อนว่าเราอยากให้ทำอย่างไร แล้วบอกให้เขารู้ โดยมีรางวัลกระตุ้นความอยากบ้าง อย่าลืมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกันไว้ด้วยนะครับ พอทำๆ ไปสักสองอาทิตย์ก็ลองสังเกตผลเปลี่ยนแปลงกันดูนะ
8. เตรียมพร้อมกับสถานการณ์ข้างหน้า
อย่างที่คุณรู้ เด็กพวกนี้มีปัญหาในเรื่องเก่าๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่าเอาแต่เบื่อล่วงหน้า เตรียมตัวไว้ก่อนว่าเราจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอย่างไร ก่อนที่เด็กจะไปสถานการณ์เดิมๆ อีกเช่น ทบทวนข้อตกลง มีบทลงโทษ
9. จดจำไว้เสมอว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น
โรคซนสมาธิสั้นทำให้เด็กหยุดตัวเองได้ยากขึ้น บางคนหยุดไม่ได้เลยถ้าไม่มีคนหยุดให้หรือช่วยฝึกวิธีหยุดให้เขา แน่นอนโรคนี้สร้างปัญหาขึ้นรอบๆ ตัวเขา เพราะฉะนั้นต้องพยายามทำความเข้าใจนะครับ
10. เลือกแต่เรื่องที่สำคัญน่าตอแยให้เหลือไม่มาก
ต้องเรียงลำดับความสำคัญ อะไรสำคัญก่อนหลังสำหรับเด็กและคุณ โดยเน้นให้เด็กช่วยตัวเองเป็นเข้าสังคมได้ ผ่อนผันส่วนยังไม่สำคัญจำเป็นเล็กน้อยตอนนี้ออกไปบ้าง เลือกแต่ส่วนใหญ่ๆ ก่อนนะครับ
11. หยุดโทษตัวเองและเด็กๆ
อย่านำปัญหาของตัวคุณไปใส่รวมกับของเด็กด้วย ไม่มีวิธีการไหนที่ได้ผลทุกวัน ถ้าวันไหนเกิดไม่ได้ผล อย่างเพิ่งโทษตัวเอง ว่าตัวเองเป็นพ่อแม่คนไม่ได้ เด็กซนสมาธิสั้นจะมีวันดีกับไม่ดีขึ้นๆ ลงๆ ความผันผวนนี้ไม่ได้เกี่ยวกับว่าคุณเป็นพ่อแม่ดีระดับไหน แต่เป็นจากตัวโรคของเขาเองครับ
12. รู้จักการให้อภัย
ก่อนนอนทุกวัน หัดให้อภัยยกโทษให้เด็กถ้าเขาทำไม่ดีไว้ในวันนั้น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าเราอยากให้เขาดีจริงๆ นอกจากนี้ หัดยกโทษตัวเองด้วย ถ้าเราทำอะไรไม่เหมาะไปในวันนั้น
Source: NongPoonKids