นอกจากเรื่องฐานเงินเดือนที่ดึงดูดใจแล้ว การจะตอบรับเข้าทำงานในบริษัทใดบริษัทหนึ่งย่อมต้องมีปัจจัยอื่นๆ มาพิจารณาร่วม ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตขององค์กร ความมั่นคง หรือผลประกอบการ และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือสวัสดิการทีมีให้พนักงาน โดยวันนี้เราจะพาไปส่องว่าบริษัทใหญ่ๆ ในต่างประเทศมีการดูแลพนักงานอย่างไรบ้าง
Netflix
พ่อแม่มือใหม่สามารถลางานได้ 1 ปีเต็ม เพื่อไปดูแลเลี้ยงลูกตามใจปรารถนา และอนุญาตให้พนักงานกลับมาทำงานแบบพาร์ทไทม์หรือเต็มเวลาได้
Salesforce
พนักงานในบริษัท Salesforce ได้สิทธิ์ 6 วันต่อปีในการหยุดไปทำกิจกรรมอาสาสมัคร และมอบเงินอีกปีละ 1,000 ดอลลาร์เพื่อนำไปบริจาคตามสถานที่ที่ต้องการ (ประมาณ 33,000 บาท)
Spotify
ให้พนักงานลาคลอดได้ 6 เดือน และมีชั่วโมงการทำงานนอกออฟฟิศอีก 1 เดือนเต็ม ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทยังสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการแช่แข็งไข่ (egg freezing) สำหรับพนักงานที่ไม่ต้องการมีทายาทตอนนี้
Airbnb
Airbnb ได้รับการจัดอันดับให้เป็นสถานที่ทำงานที่ดีที่สุดประจำปี 2016 โดยมอบเงินให้พนักงานจำนวน 2,000 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 66,000 บาท) เพื่อไปท่องเที่ยว และสามารถเข้าพักฟรีๆ ในที่พักที่อยู่ในลิสต์ของ Airbnb
โดย Google จะมอบเงินแก่คู่สมรสหรือบุคคลใกล้ชิดของพนักงานที่เสียชีวิตไป ซึ่งมอบให้ตลอด 10 ปี คิดเป็นจำนวน 50% จากเงินเดือน
Facebook มีที่พักฟรีพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เช่น บริการรถรับส่งจาก Menlo Park ของ Facebook หรือช่วยเหลือค่าที่อยู่อาศัยให้เดือนละ 1,000 เหรียญ (ประมาณ 33,000 บาท) นอกจากนี้ ยังมอบเงินอีก 4,000 เหรียญแก่พนักงานที่มีทารกแรกเกิด (ประมาณ 133,000 บาท)
Reebok
พนักงานที่ Reebok ได้รับสิทธิ์ให้ใช้ห้องฟิตเนสแบบเต็มรูปแบบของบริษัท และโปรแกรมการออกกำลังกายแบบ CrossFit ตลอดวันทำงาน
American Express
ให้สิทธิ์พนักงานในการขอคำปรึกษาการให้นมบุตรตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ คุณแม่ที่ต้องเดินทางไปติดต่องานสามารถจัดส่งนมไปที่บ้านได้ฟรี
Goldman Sachs
ตั้งแต่ปี 2008 มาแล้วที่ Goldman Sachs เสนอสิทธิ์ให้พนักงานได้ทำการผ่าตัดแปลงเพศฟรี
IKEA
ให้สิทธิ์พนักงานในบริษัทได้ลาคลอดเป็นเวลา 4 เดือน โดยสิทธิ์นี้สามารถใช้ได้ทั้งพนักงานในสำนักงานใหญ่ และพนักงานที่ขายประจำร้าน
PwC
PwC ให้เงินช่วยเหลือพนักงานเพื่อทำการชำระหนี้ทางการศึกษา ปีละ 1,200 ดอลลาร์ (ประมาณ 39,900 บาท)
Microsoft
มอบสิทธิ์ในการดูแลสุขภาพร่างกายแก่พนักงาน เพื่อไปออกกำลังกาย เข้าฟิตเนส ในมูลค่า 800 ดอลลาร์ต่อปี (ประมาณ 26,600 บาท)
ที่มา: businessinsider