สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาว ScholarShip.in.th มีใครชอบเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศกันรึเปล่าเอ่ย ถ้าชอบกันล่ะก็พลาดกระทู้นี้ไม่ได้เลยนะครับ เพราะเราจะพาไปชมนวัตกรรมเจ๋งๆ กัน
ในการค้นคว้าและทดลองขององค์กร NASA อันโด่งดังนั้นย่อมต้องมีความระวังและพิถีพิถัน อีกทั้งใส่ใจในทุกๆ รายละเอียดเพราะงานของเขาคือส่งคนขึ้นไปดวงจันทร์นั่นเองครับ
ทีนี้การใช้ชีวิตอยู่บนอวกาศของมนุษย์นั้นย่อมมีข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เลยต้องคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ขึ้นมา และบางอย่างนั้นก็ถูกดัดแปลงมาใช้ในชีวิตประจำวันบนพื้นโลกที่เราคุ้นๆ ตากันด้วยล่ะ
อาหารแช่แข็งและอาหารแห้ง
ในอดีตนี่คือการค้นพบที่สุดยอด เพราะ NASA จำเป็นต้องลดน้ำหนักสิ่งของใช้ในอวกาศให้เหลือน้อยที่สุด หนึ่งในนั้นคืออาหาร อาหารแช่แข็งและอาหารแห้งของพวกเขา คงสารอาหารทั้งหมด 98% ไว้จากของเดิม และน้ำหนักเหลือเพียง 20% เท่านั้น เพราะน้ำในอาหารถูกสกัดออกนั่นเอง
คอมพิวเตอร์ไมโครชิพ
การย่อขนาดคอมพิวเตอร์สมองกล มาอยู่ในขนาดพกพากระเป๋า ไว้เพื่อใช้เป็นระบบในการติดต่อพูดคุยระหว่างโลกและอวกาศ ที่จำเป็นต้องมีมากมายและใช้พื้นที่จำกัด ภายหลังต่อมาไมโครชิพนี้ได้มีบทบาทต่อเครื่องมืออุปกรณ์ไฮเทคหลายต่อหลายอย่างเช่น สมาร์ทโฟนต่างๆ จะโทษใครที่ทำให้มนุษย์ต้องติดมือถือก็ต้อง NASA นี่ล่ะ
เหล็กดัดฟัน
การจะมีฟันที่สวยงามเราต้องค้นคว้าเรื่องการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ -*- ไม่ใช่ว่านักท่องอวกาศทุกคนจะต้องมีฟันที่สวยงามนะครับ แรกเริ่มเดิมทีการจะดัดฟันจำเป็นต้องใส่เหล็กครอบปากเป็นการใหญ่โต ต้องขอบคุณ NASA ที่การสร้างจรวดขึ้นอวกาศของพวกเขา ก่อนจะปลดเป็นปล้องๆในชั้นบรรยากาศ จำเป็นต้องมีเหล็กชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “Nitinol” ที่ทนความร้อนและสามารถดัดตัวตามเชปได้ ทำให้ในทุกวันนี้มันคือส่วนผสมสำคัญของเหล็กดัดฟันแบบโปร่งใสนั่นเอง
อาหารเด็ก
ในระหว่างที่ NASA ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือจุลินทรีย์ที่อยู่ในสาหร่ายสีเขียว (Algae) เพื่อหาว่าในอวกาศเราจะสามารถผลิตออกซิเจนกันได้ไหม ไปๆมาๆค้นพบว่า ในสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีสารอาหารที่จำเป็นต่อเด็กๆไม่ต่างจากน้ำนมของแม่ ความรู้ดังกล่าวจึงถูกพัฒนามาเป็นอาหารเด็กขึ้นมาได้แบบงงๆ
เครื่องมือไร้สาย
การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในอวกาศนั้นจะต้องง่าย พกพาสะดวก ทาง NASA เลยได้คิดค้นเครื่องใช้ที่ “ใส่ถ่าน” ขึ้นนั่นเอง
แว่นตาที่คงทน
เคยสงสัยกันไหมว่าทำไม Ray Ban ตัวเก่าของแต่ละคนถึงไม่เคยมีรอยปรากฎให้เห็น แม้จะผ่านแดดผ่านฝนเท่าไหนก็ตาม คงต้องขอบคุณพี่ๆ NASA (อีกแล้ว) ที่คิดค้นการป้องกันชั้นพิเศษ เพื่อทนแรงกดอากาศมหาศาลตอนเปลี่ยนชั้นบรรยากาศ เรียกว่า “Direct Ion Deposition” เป็นการนำชั้นเกราะบางๆทำจากคาร์บอนแข็งแรงพิเศษ หุ้มเปลือกอีกที และในเวลาต่อมาเทคนิคการผลิตนี้ได้นำไปสู่บริษัทต่างๆโดยเฉพาะผู้ผลิตแว่นตาใช้เคลือบเลนส์ของพวกเขา
โฟมนิ่มยวบยาบ
โฟมนิ่มชนิดพิเศษที่มีชื่อเต็มว่า “Viscoelastic Polyurethane Foam” หรือ “Memory Foam” (เพราะมันนุ่มซะจนจะสัมผัสยังไงก็ยังคงเหลือร่องรอยไว้) ที่สมัยนี้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผลิตเบาะนั่งแสนสบาย โดยเกิดขึ้นจากการที่ NASA ต้องคิดค้นเบาะชนิดพิเศษสำหรับใส่ไว้ในที่นั่งหลอด Capsule ป้องกันไม่ให้นักบินอวกาศเด้งไปไหนเวลาเกิดการกระแทก
ใยผ้าทนความร้อน (กันไฟ)
หลังจากโศกนาฏกรรม Apollo หมายเลข 1 ที่ปล่อยตัวแล้วเกิดไฟลุก คร่าชีวิตนักบินอวกาศถึงสามคน NASA คิดค้นใยผ้าชนิดที่ทนทานต่อการถูกไฟลุกมาเป็นวัสดุหลักของชุดนักบินอวกาศรวมถึงอุปกรณ์ของพวกเขา ในเวลาต่อมา มันเป็นประโยชน์ต่อนักผจญเพลิงเป็นอย่างมาก
จอยคันโยก
อุปกรณ์เล่นเกมส์สุดคลาสสิค NASA คิดค้นมันเพื่อใช้บังคับการลงจอดยานสำรวจของพวกเขา แต่พอเข้าไทยทางราชบัณฑิตยสถาน เคยคิดภาษาไทยให้กับคำอังกฤษ “Joystick” ว่า “แท่งหรรษา” -*- เสียวกันเลยทีเดียว
พื้นรองเท้า
สาวก Air Jordan เตรียมฟังข้อนี้ได้เลย เพราะต้นแบบพื้นรองเท้าที่ทำไว้รับน้ำหนัก แรงกระโดด แรงจัมพ์ของนักกีฬาทั้งหลาย มาจากการคิดค้นของ NASA นี่ล่ะ เพื่อช่วยให้เวลานักบินอวกาศเด้งๆดึ๋งในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ไม่ข้อเสื่อมก่อนกลับถึงโลกซะก่อน
ระบบกล้องถ่ายรูปแบบล้ำสมัย
NASA ดูแลเทคโนโลยีดาวเทียมของโลก มีหลายครั้งที่พวกเขาถูกยืมมือเข้ามาช่วยเหลือโดย FBI และในการสืบสวนสอบสวน ทำให้ต้องประดิษฐ์กล้องที่มีคุณภาพสูงมากๆ สาวกกล้องโปรไอโฟนต่างๆ ต้องขอบคุณพี่ๆ เค้าเลยนะเนี่ย
ปืนฉีดน้ำ
ไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า NASA กำลังมีแผนทำภารกิจอะไรถึงได้เกิดของเล่นชิ้นนี้ขึ้นมา รู้แต่ว่ามันคิดค้นโดย Lonnie G.Johnson วิศวกรนิวเคลียร์คนเก่งที่ทำงานให้กับ US Air Force และ NASA
แต่จะว่าไปแล้วสู้นวัตกรรมไทยท่อ PVC ประดิษฐ์ไม่ได้หรอกนะจ๊ะ อิอิ แรงกว่าเยอะจนโดนแบนไปเลยล่ะ ><
จะว่าไปแล้วก็เป้นของที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาและใช้ในชีวิตประจำวันกันจริงๆ นะครับ ไว้มาพบกันใหม่กับเรื่องราวดีๆ แบบนี้ได้ทุกๆ วันกับ ScholarShip.in.th นะครับ
ทัี่มา: DotDotDot