ใครๆ ก็อยากเป็นที่รักของคนรอบข้างกันทั้งนั้น แต่ถ้าคุณยังมีพฤติกรรม 13 อย่างตามที่เราคัดมาให้ดูในวันนี้ หากยังทำไปเรื่อยๆ และไม่แก้ไขตัวเอง รับรองว่าคนรอบข้างไม่ปลื้มแน่นอน
ลองสังเกตุดูนะคะว่านิสัยเหล่านี้คุณเคยทำหรือยังทำมันอยู่หรือไม่ หากคุณมี ควรจะปรับทัศนคติและรีบแก้ไข เพื่อที่จะได้กลับมาเป็นที่รักของครอบครัว เพื่อนๆ หรือคนรอบข้าง คนอื่นๆ เช่นเดิม
1. แชร์ภาพลงบนเฟสบุ๊คมากจนเกินไป
การศึกษาในปี 2013 พบว่าการโพสรูปลงในเฟสบุ๊คมากเกินไปจะสามารถทำร้ายความสัมพันธ์ของคุณกับคนรอบข้างในชีวิตจริงได้
คุณ David Houghton หัวหน้าทีมวิจัยจากโรงเรียนสอนธุรกิจ Birmingham ได้ให้เหตุผลว่าหากคุณลงรูปเพื่อนๆ มากเกินไป จะทำให้ญาติๆ น้อยใจ ในทางกลับกันถ้าคุณลงรูปญาติๆ มากเกินไป เพื่อนของคุณก็จะรู้สึกเช่นเดียวกัน
2. มีเพื่อนในเฟสบุ๊คมากหรือน้อยจนเกินไป
ในปี 2008 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐมิชิแกน ได้ให้นักเรียนลองมองภาพโปรไฟล์ของแต่ละคนแล้วบอกว่าชอบเจ้าของเฟสบุ๊คนี้มากแค่ไหน
ผลก็คือจุดสมดุลของความชอบคือดูจากเพื่อนที่มีในเฟสบุ๊คที่มีประมาณ 300 คน คะแนนต่ำสุดคือเจ้าของเฟสบุ๊คมีเพื่อนอยู่ประมาณ 100 คนเท่านั้นและในกลุ่มคะแนนต่ำนั้นก็มีคนที่มีเพื่อนในเฟสบุ๊คมากกว่า 300 คน
คนที่มีเพื่อนมากเกินไป ทำให้ดูเหมือนว่าโฟกัสสังคมในโซเชียลมากเกินความจำเป็นนั่นเอง
3. เปิดเผยเรื่องส่วนตัวมากจนเกินไป
โดยทั่วไปคนเราจะรู้สึกถูกชะตากันมากขึ้นหากรู้เรื่องส่วนตัวของกันและกัน แต่นักจิตวิทยาบอกว่า การเปิดเผยเรื่องส่วนตัวหรือคนใกล้ตัวมากเกินไปจะทำให้คนที่พึ่งมาทำความรู้จักรู้สึกไม่ปลอดภัยในความสัมพันธ์และอาจจะลดความชอบที่มีต่อคุณลงได้
ดังนั้นหากทำความรู้ใครใหม่ๆ คุณควรแลกเปลี่ยนเรื่องราวเกี่ยวกับงานอดิเรกหรือชีวิตวัยเดกจะทำให้คุณดูอบอุ่นและน่ารู้จักมากขึ้น
4. ถามแต่เรื่องราวของคนอื่น โดยไม่เล่าเรื่องของตัวเองเลย
งานวิจัยในปี 2013 พบว่า การเปิดเผยตัวตนกับอีกฝ่ายจะทำให้ต่างคนต่างรู้สึกชอบกันมากขึ้น โดยในการศึกษา ผู้วิจัยให้ผู้เข้าร่วมที่ไม่รู้จักกันมาแลกเปลี่ยนเรื่องราวส่วนตัวเป็นเวลา 12 นาที ผลพบว่าทั้งสองฝ่ายมีความรู้สึกดีต่อกันมากขึ้น
5. โพสรูปโปร์ไฟล์ที่อยู่ใกล้กล้องจนเกินไป
ถ้าคุณใช้รูปถ่ายใบหน้าตัวเองใกล้กล้องจนเกินไปเป็นรูปโปรไฟล์ คุณควรเปลี่ยนมันใหม่ซะ เนื่องจากผลงานวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอเนียร์พบว่า ใบหน้าที่ถ่ายห่างกล้องเพียง 45 ซม. ทำให้คุณดูไม่น่าเชื่อถือ แต่ถ้าหากขยับออกมาเป็น 135 ซม. ภาพของคุณจะให้ความรู้สึกน่าสนใจมากขึ้น
6. เก็บอารมณ์ความรู้สึกไว้เสมอ
การแสดงอารมณ์ออกมาบ้างจะทำให้คนรอบข้างรู้สึกดีกับคุณมากขึ้น ข้อสรุปนี้อ้างอิงจากงานวิจัยในปี 2016 ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oregon ที่สรุปได้ว่า คนที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกให้เรารับรู้ดูมีปฏิสัมพันธ์กับเรามากกว่า ทำให้ความสัมพันธ์เกิดความใกล้ชิดขึ้น เกิดความไว้ใจและทำให้คนรอบข้างรู้สึกดีกับเรามากขึ้นในที่สุด
7. แกล้งเป็นคนดีมากๆ
งานวิจัยในปี 2010 ผู้เข้าร่วมผู้จัดให้อยู่ในกลุ่ม 5 คนโดยที่ไม่รู้จักสมาชิกคนอื่นๆ จากนั้นก็ทำกิจกรรมและตั้งรางวัลว่าเมื่อเสร็จสิ้น คนใดคนหนึ่งจะได้รับรางวัลเป็นคูปองอาหารกลางวันฟรี
ในจำนวนนั้นมีคนที่ปลอมเป็นนักเรียนที่ยอมสละสิทธิ์ ผลก็คือคนๆ นั้นถูกมองว่าเห็นแก่ผู้อื่นจนเกินไปและเสแสร้งว่าไม่เห็นแก่ตัว คนอื่นๆ จึงไม่ชอบเขาเพราะดูเป็นคนที่มีแรงจูงใจซ่อนเร้น
8. ถ่อมตัวมากเกินไป
จากการศึกษาล่าสุดจากโรงเรียนสอนธุรกิจ Harvard การถ่อมตัวมากเกินไป ศึกษาจากการให้นักศึกษาเขียนคำตอบเกี่ยวกับจุดด้อยของตัวเองเพื่อใช้ในการสมัครงาน
ผลปรากฎว่า 1 ใน 3 ของทั้งหมดเขียนถ่อมตัวจนเกินไป ซึ่งจริงๆ แล้วนายจ้างมีแนวโน้มที่จะจ้างคนที่ซื่อสัตย์กับตัวเองมากกว่า
ทางที่ดีคือพูดถึงจุดอ่อนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับทักษะงานที่กำลังสมัครเช่น ความกลัวในการพูดในที่สาธารณะหากคุณกำลังสมัครงานเขียน เป็นต้น
9. ประหม่าจนเกินไป
นักวิจัยจาก the Monell Chemical Senses Center ได้ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยดูวิดีโอของผู้หญิงคนหนึ่งในการทำกิจกรรมทุกๆ วัน ในขณะที่ดูวิดีโอก็ให้สูดกลิ่นเหงื่อสามแบบคือ เหงื่อตอนออกกำลังหาย เหงื่อตอนเกิดความตึงเครียด และเหงื่อที่ออกตอนที่เครียดและใช้ยาลดการขับเหงื่อ
พบว่า เหงื่อของผู้หญิงที่เกิดความประหม่าหรือความเครียดจะให้ความรู้สึกไม่มั่นใจแและไม่น่าเชื่อถือมากที่สุด
10. เป็นคนไม่ค่อยยิ้ม
จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Wyoming พบว่า ภาพคนที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดคือคนที่ยิ้มโดยไม่สนใจการวางตำแหน่งของร่างกายว่าจะเป็นท่าไหน มันทำให้ดูมีปฏิสัมพันธ์และดึงดูดใจคนรอบข้างมากกว่า
นอกจากนี้งานวิจัยอื่นๆ ยังสนับสนุนอีกว่า หากคุณยิ้มให้ใครในครั้งแรกที่พบกัน จะทำให้เขาจำคุณได้เมื่อพบกันอีกครั้ง
11. แสดงอาการไม่ชอบคนอื่นๆ
นักจิตวิทยาอธิบายว่าคนเราจะมีปรากฎการณ์ในการแลกเปลี่ยนความชอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือเมื่อเราคิดว่ามีใครบางคนชอบเรา เราก็จะรู้สึกชื่นชอบเขาด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้การวิจัยจากมหาวิทยาลัย Waterloo และ Manitoba พบว่าคนเราจะคาดหวังให้มีคนยอมรับและชื่นชอบในตัวเรา เราจะทำตัวนุ่มนวลกับฝ่ายตรงข้ามเพื่อให้เขาชอบ
ดังนั้นเวลาที่คุณไม่แน่ใจว่าฝ่ายตรงข้ามจะชอบคุณหรือไม่ ให้คุณรู้สึกชอบเขาก่อนแล้วเขาก็จะชอบคุณกลับ ในทางกลับกันหากคุณแสดงอาการว่าไม่ชอบฝ่ายตรงข้าม เขาก็จะไม่ชอบคุณเช่นกัน
12. มีชื่อที่ยากต่อการเรียก
เรื่องนี้สามารถอธิบายทางวิทยาศาสตร์ด้วยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Melbourne ได้ว่าคนที่มีชื่อเรียกยาก จะทำให้ถูกตัดสินครั้งแรกในเชิงลบมากกว่าคนอื่นๆ เห็นได้ชัดจากการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นครั้งหนึ่ง ที่ผู้สมัครที่เข้าร่วมมีชื่อที่เรียกง่ายเช่น Lazaridis หรือ Paradowska คนอื่นๆ มีชื่อที่ฟังดูออกเสียงยากอย่าง Vougiouklakis และ Leszczynska ผลปรากฎว่าคนที่ชนะการเลือกตั้งคือคนที่มีชื่อเรียกง่ายกว่า
13. ชอบโม้ว่าได้เจอคนดัง
ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยซูริคในปี 2009 ที่ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบกลับอีเมลล์ที่ได้รับจากนักวิจัยเกี่ยวกับเพื่อนของเขา บางอีเมลล์ของนักวิจัยพูดถึงคนดังอย่าง Roger Federer นักเทนนิสชื่อดังว่า เขาทั้งคู่เป็นเพื่อนกันและเขาก็ทำงานร่วมกันอีกด้วย
ในขณะที่บางอีเมลล์บอกเพียงว่าเขาและ Roger Federer นั้นเป็นเพื่อนกัน และบางอีเมลล์ก็ไม่ได้พูดถึงนักเทนนิสชื่อดังเลย ผลก็คือผู้วิจัยเข้าร่วมส่วนมากไม่ชอบการโอ้อ้วดเกี่ยวกับคนดังเท่าไหร่นัก
ที่มา: businessinsider