เรื่องสำคัญในวัยนักเรียนก็คงหนีไม่พ้นตำรา เพื่อน คุณครู ในขณะเดียวกันก็มีเรื่องต้องทพให้สมาธิไขว้เขวจนไม่อาจจดจ่อกับตัวหนังสือลายพร้อยได้นานๆ
แต่กระนั้นเราก็ยังอยากทำให้ผลคะแนนออกมาเป็นที่พอใจแก่ตัวเองและพ่อแม่ ลองมาดูเทคนิคที่ช่วยในการเรียนต่อไปนี้กันเลยค่ะ
1. นึกภาพ
คือการนึกภาพจากข้อมูลนามธรรม ซึ่งหากกำลังงุนงงและไม่เข้าใจในแนวคิดนั้นๆ ลองเริ่มด้วยการจินตนาการภาพในหัวดู
2. การท่องจำ (Rote Memorization)
เป็นวิธีเก่าแก่ในการจดจำข้อมูลอย่างเอาเป็นเอาตาย เหมือนการย้ำซ้ำๆ ลงในสมองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งใช้ได้ผลหากเป็นข้อมูลที่อิงตามความจริง
3. มีความเชื่อมโยง
ลองเอาไอเดียสองประการมาขบคิดและถามตัวเองว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อาจเป็นข้อมูลเฉพาะขอบเขตหรือข้อมูลทั้งสองมีความแตกต่างกัน วิธีเช่นนี้ทำให้สามารถสร้างแผนงานระหว่างทางเดินของข้อมูลในสมองได้
4. อุปมาอุปไมย
ใช้แนวคิดแบบคิดลึกและซับซ้อน จากนั้นลองเอาเปรียบเทียบกับความคิดแบบเรียบง่าย การอุปมาอุปไมยบางอย่างก็มีข้อจำกัด และสำหรับบางคนการใช้วิธีเปรียบเทียบเช่นนี้กลับทำให้เข้าใจได้ง่าย
5. แผนภาพ
ลองวาดออกมาเลย เพราะการสร้างแผนภาพสามารถทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนขึ้น
6. จดแบบไม่เป็นระเบียบ
คนส่วนใหญ่มักจดเป็นเส้นตรงตามบรรทัด แต่การจดแบบไม่เป็นระเบียบแม้ดูไม่สวยงามแต่สามารถเชื่อมต่อความคิดและการเขียนได้เป็นอย่างดี
7. อักษรย่อ
การใช้อักษรย่อสามารถทำให้จดจำข้อมูลได้มากขึ้น โดยสามารถคิดคำย่อขึ้นเองเพื่อให้เราเข้าใจได้ด้วยวิธีการของตัวเอง
8. ย้อนกลับ
อีกเทคนิคหนึ่งที่ได้ผลดีกับการเรียนรู้แบบองค์รวมคือการคิดแบบย้อนกลับ โดยเริ่มจากการที่ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดหนึ่งกับอีกแนวคิดหนึ่ง ให้คิดต่อไปเรื่อยๆ ตามแนวทางจนกว่าจะกลับมายังจุดเริ่มต้น หรือคิดไปจนถึงทางตัน
9. ทดสอบตัวเอง
ลองทดสอบตัวเองดูเพื่อสังเกตว่าเรารู้หรือไม่ว่ากำลังทำอะไรอยู่
10. การระดมสมอง
ระดมสมองกับเพื่อนอีกสักสองสามคนหาประเด็นมาตีโจทย์ ซึ่งอาจจะได้ข้อมูลต่างกันที่เป็นประโยชน์
11. แผนผังความสัมพันธ์
แผนภาพที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผล ยิ่งเอามารวมกับการจดบันทึกแบบไม่เป็นระเบียบและเชื่อมกันเป็นแผนภาพยิ่งก่อให้เกิดประโยชน์
12. ใช้นิ้ว
ใช้นิ้วเป็นเครื่องมือทางสร้างความทรงจำ เชื่อมโยงแต่ละคำหรือแต่ละชื่อที่ต่างกันในแต่ละนิ้ว
13. ทำให้น่าสนใจ
ข้อมูลที่คุณชอบหรือสนใจก็จะสามารถจดจำได้ดียิ่งขึ้น
14. การสอน
เปลี่ยนตัวเองมาเป็นคนสอนโดยขอความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือใครสักคน อธิบายเนื้อหาให้พวกเขาฟัง ซึ่งได้ผลดีอย่างเหลือเชื่อเลยล่ะ
15. เพลงหรือเรื่องราว
เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่านำไปใช้ คือการเชื่อมโยงข้อมูลแล้วลำดับเข้าด้วยกันในรูปแบบของเพลงหรือสร้างเป็นเรื่องราว
16. เรียนรู้ตามที่ต้องการ
การเรียนรู้ตามแบบแผนของตัวเองเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลเมื่อกำลังเรียนรู้ในสาขาวิชาที่ไม่ได้สำคัญมากนัก
17. ทำให้เป็นรูปเป็นร่าง
อย่าปล่อยให้ความคิดเป็นเพียงหมอกจางๆ ลองมือทำให้เป็นรูปเป็นร่าง เพิ่มสีและใส่ความหมาย
18. นอนหลับ
การนอนหลับมีผลต่อความทรงจำ ดังนั้นให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และจดจำ
19. สร้างคำถามว่า ‘ทำไม??’
เอาความเป็นเด็กช่างคิดช่างสงสัยมาใส่ในนิสัยตัวเองอีกครั้ง ซึ่งเมื่อข้อมูลที่ได้รับอยู่ในรูปแบบตรรกะมันจึงง่ายที่จะจดจำ
20. ช่วงเวลาที่เรียนรู้ได้ดีที่สุด
เราต่างมีช่วงเวลาที่ความคิดสร้างสรรค์พุ่งกระฉุดไม่เหมือนกัน บางคนทำงานในช่วงเย็นๆ แล้วมักไม่มีสมาธิ หรือบางคนทำงานในตอนเช้าๆ ความคิดก็ไม่แจ่มชัดนัก ดังนั้นลองหาช่วงเวลาที่ส่งผลดีต่อตนเอง
ที่มา www.scotthyoung.com