นักเรียนสายอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ คงจะคุ้นเคยกันดีกับวิชาวรรณกรรม และหนังสือวรรณกรรมที่เราจะต้องเจอ คงหนีไม่พ้นนวนิยายของนักเขียนก้องโลกอย่าง Shakespeare ที่ทำเอาปวดหัวทุกครั้งเวลาสอบ ไหนจะต้องทำความเข้าใจเนื้อ ตีความ แถมยังต้องเก็งคำถามที่จะออกสอบอีกล่ะ
และหากคุณเป็นนักศึกษา “อักษรศาสตร์” ตัวจริง คุณต้องเข้าใจความรู้สึกเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีแน่นอน
1. การอ่านวรรณกรรมทุกเล่ม จะทำให้คุณรู้แทบทุกอย่างบนโลกใบนี้
การเรียนวรรณกรรม เหมือนกับการเรียนรู้ทุกอย่างที่มีบนโลกใบนี้ เพราะเรื่องราวในวรรณกรรมมักปรากฎเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคม ศิลปะ เพลง วิทยาศาสตร์ หรือแม้กระทั้งคณิตศาสตร์ การอ่านวรรณกรรมจึงเป็นเหมือนการค่อยๆ สะสมความรู้พื้นฐานผ่านเรื่องราวที่นักเขียนถ่ายทอด
2. การค้นหาข้อมูลอ้างอิงในการเขียนเรียงความที่ยากกว่างมเข็มในมหาสมุทร
ในการเขียนเรียงความจะต้องมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ บางครั้งการค้นคว้าก็ไม่ง่ายเสมอไป เพราะคุณอาจจะเจอหนังสือที่คิดว่าน่าจะใช้ได้ แต่พอไปค้นต่อในอินเตอร์เน็ตกลับไม่มีหนังสือที่อ้างอิงเกี่ยวข้องกันเลย กลายเป็นว่าจะต้องหาเล่มใหม่ ทั้งๆ ที่กำหนดส่งก็ใกล้เข้ามาแล้ว
3. ต้องวางแผนในการเรียน การอ่านและวิเคราะห์วรรณกรรม ให้เข้าใจมากที่สุด
การเรียนวรรณกรรมจะแตกต่างจากเรียนวิชาอื่นๆ เพราะอาจารย์มักจะมอบหมายงานประจำสัปดาห์ให้ เช่น ให้อ่านวรรณกรรมพร้อมวิเคราะห์เรื่องราวที่เกิดขึ้น หรือวิเคราะห์ลักษณะนิสัยของตัวละคร แถมยังมีการจัดกลุ่มทำโปรเจครายเดือนที่ต้องส่งบทวิจารณ์ ซึ่งคุณจะต้องวางแผนการเรียนไว้ล่วงหน้า
4. คุณจะติดนิสัยการวิเคราะห์เรื่อง ไปใช้กับทุกอย่างที่คุณดูหรืออ่าน
หลังจากที่ได้เรียนวิชาวรรณกรรม คุณจะติดนิสัยการวิเคราะห์เรื่องราวตามทฤษฎีที่ได้เรียน ไปใช้กับหนังสือทุกเล่มที่คุณอ่าน หรือหนังทุกเรื่องที่คุณดู คุณอาจจะกลับไปย้อนอ่านนิยายเรื่องโปรด โดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์จนเห็นมุมมองแปลกใหม่จากวรรณกรรมที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับบทความที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ ใครที่เคยเรียนวรรณกรรม คงจะเคยเจอเจอเรื่องราวแบบนี้มาบ้างแน่นอนเลยใช่ไหมล่ะ
ที่มา: topuniversities