Preposition หรือคำบุพบทคือ คำที่ใช้เชื่อมคำนามกับคำนาม หรือเชื่อมคำนามกับวลี/ประโยค เป็นคำที่ใช้แสดงสถานที่ ตำแหน่ง การเคลื่อนไหว ทิศทาง เวลา ลักษณะ และความสัมพันธ์
ตัวอย่างคำบุพบทในภาษาอังกฤษได้แก่ on, in, under, at, between, next to หรือ across from เป็นต้น มักเขียนตามด้วย Noun, Noun Phrase, Pronoun, Noun Clause หรือ Gerund (V-ing)
วันนี้เราไม่ได้มาสอนเรื่องคำบุพบท หรือ Preposition แต่เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับรูปประโยคภาษาอังกฤษที่ไม่จำเป็นต้องใช้ Preposition ในประโยค ซึ่งมีดังต่อไปนี้
ประโยคแบบที่ 1
หลังจากคำว่า “go” เรามักจะต่อท้ายด้วย to + place (สถานที่) เช่น
-I’m going to the mall.
-We went to Paris last year.
ข้อยกเว้น
เราจะไม่ใช้คำว่า “to” คุ่กับ home และ downtown เช่น
-I’m going home.
-We went downtown last night.
ประโยคแบบที่ 2
โดยปกติเราจะใช้คำบุพบท (Preposition) on + a day และ in + a month เช่น
-I have a meeting on Friday.
-We’ll call you on March 1st.
-The concert is in June.
แต่จะไม่ใช้ in หรือ on กับคำว่า yesterday, tomorrow, this, last และ next เช่น
-I have a meeting tomorrow.
-We’ll call you next Friday.
-The concert is this June.
ประโยคแบบที่ 3
ประโยคที่มีกริยา ที่ต้องการสื่อความหมายว่า “เข้าไปใน” เราสามารถใช้ preposition “into” ได้
แต่ถ้าหากไม่ต้องการใช้ “into” สามารถใช้คำว่า “enter” ได้ เช่น
-She came into my room.
-Let’s go into the house.
สามารถใช้เป็น
-She entered my room.
-Let’s enter the house.
ส่วนคำว่า “Enter into” แปลว่า “บันทึกใน”, “เขียนลงใน” หรือ “เริ่มมีบทบาท” จะใช้ในกรณีกล่าวถึง ข้อตกลง การต่อรอง การเจรจา และอภิปรายเท่านั้น เช่น
-The two companies entered into a financial agreement.
-Spain and France will enter into trade negotiations next month.
ประโยคแบบที่ 4
จะไม่ใช้ Preposition “to” ต่อท้ายคำว่า “attend” ซึ่งแปลว่า “ไป” หรือ “เข้าร่วม” เช่น
-Nine students attended the lecture.
-I regularly attend yoga classes.
สามารถใช้ “go to” แทนที่คำว่า “attend” ได้ เช่น
-Nine students went to the lecture.
-I regularly go to yoga classes.
ยกเว้นต้องการสื่อความหมายว่า “เข้าร่วม” สามารถใช้คำว่า “attend to” ได้ เช่น
-Doctors attended to the people who were injured in the accident.
-We’ll attend to that problem later.
ประโยคแบบที่ 5
ไม่ใช้ Preposition “of” ในประโยคเดียวกับ “lack” ที่ทำหน้าที่เป็นคำกริยา (Verb) ในประโยค เช่น
-I sometimes lack confidence.
-Last night’s dinner lacked salt.
เราจะใช้ Preposition “of” ในประโยคเดียวกับคำว่า “lack” ที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม (Noun) ในประโยค
-I’m trying to overcome my lack of confidence.
-The lack of salt made the food tasteless.
ที่มา: espressoenglish