วิทยานิพนธ์ หรือที่รู้จักกันดีว่า Thesis Paper หรือ Dissertation คือตัวชี้วัดความสำเร็จของนักเรียน นักศึกษาทั้งในระดับวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยในหลายๆ คณะ เรียกได้ว่าต้องทุ่มทั้งแรงกายและแรงใจให้กับรูปเล่มวิทยานิพนธ์นี้
โดยทั่วไปแล้ววิทยานิพนธ์ควรท้าทายคำถามทางปัญญา ในลักษณะโน้มน้าวใจ กระตุ้นให้เกิดการอภิปราย หรือโต้แย้งกับผู้อ่าน คำแนะนำต่อไปนี้จะช่วยให้นักเรียน นักศึกษาให้เขียนวิทยานิพนธ์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผู้อ่านและอาจารย์เข้าใจในหัวข้อของคุณ เคล็ดลับทั้ง 5 มีดังนี้
#1 ร่างคำชี้แจงวิทยานิพนธ์ (Thesis Statement)
ส่วนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญ เพราะ Thesis Statement คือการตั้งคำถามและใช้ชุดความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด ทั้งหัวข้อที่เรียน หรือทฤษฎีที่ได้ปฏิบัติในหลักสูตร แล้วมาวิเคราะห์ว่าในท้ายที่สุดเกิดคำถามอะไรขึ้นบ้าง เช่น ความรู้ที่ได้รับเพียงพอหรือไม่? มีคำถามอะไรที่ยังไม่ได้รับคำตอบบ้าง? หรือมีข้อสงสัยอะไรอยู่ ก็สามารถนำมาตั้งเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้
โดยเมื่อได้หัวข้อและคำถามที่ตอบโจทย์แล้วก็ควรอ่าน ค้นคว้าหาข้อมูล รวมถึงวิเคราะห์ วิจัยทุกอย่างที่สามารถทำได้เกี่ยวกับหัวข้อนี้ อาจขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรืออาจารย์บรรณารักษ์ว่าข้อมูลใดเหมาะสมสำหรับสิ่งที่หาอยู่ นอกเหนือจากการค้นหาข้อมูลทางออนไลน์ การอ่านฐานข้อมูลทางวิชาการ วารสาร และหนังสือจะเป็นประโยชน์อย่างมาก
ในขั้นตอนนี้ ยิ่งรวบรวมข้อมูลได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งสร้างข้อโต้แย้งได้ง่าย และคำตอบของ Thesis Statement ก็ควรตอบได้อย่างง่ายๆ ซึ่งคำตอบนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ควรทำให้เข้าใจง่ายและชัดเจน เพื่อผู้อ่านจะได้เข้าใจและระบุได้ว่าประเด็นหลักของหัวข้อที่คุณทำคืออะไร
#2 วางรูปแบบการเขียนโครงร่าง (Outline)
เพราะมีแนวคิดและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมากมายจากการค้นคว้าเบื้องต้น จึงทำให้การเขียนโครงร่างจึงสำคัญ แม้ว่าอาจารย์อาจจะไม่ได้บังคับให้ทำ แต่โครงร่างก็ยังเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ เพราะมันช่วยจัดการโครงสร้างวิทยานิพนธ์ให้เป็นระบบระเบียบ และไม่หลุดออกจากกรอบเนื้อหา
นอกจากนี้การเขียนโครงร่างยังช่วยแยกบทนำ และบทสรุปออกจากวิทยานิพนธ์อย่างชัดเจน ทำให้การเขียนรื่นไหล และผู้อ่านก็ไม่สะดุดในเนื้อหาอีกด้วย
ขณะจัดระเบียบก็ยังช่วยให้คุณวางแผนโครงร่างแต่ละพารากราฟ แต่ละย่อหน้า และแยกหัวข้อย่อยให้ดี โดยคุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า
#3 รวบรวมหลักฐานและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ใช้เวลาค้นคว้าหัวข้อของคุณอย่างจริงจัง การรวบรวมแหล่งข้อมูลระหว่าง 15-20 แหล่งเป็นหลักสำคัญในขั้นตอนนี้ ยิ่งค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถนำหลักฐานมาสนับสนุนหัวข้อและใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงได้อย่างน่าเชื่อถือ
#4 เริ่มเขียน
ลองเริ่มลงมือเขียนอย่างจริงจังโดยอ้างอิงจากโครงร่างที่เขียนและหลักฐานที่ได้ แต่อย่าพยายามเขียนให้ดีหรือให้สมบูรณ์ทุกประโยค เพราะอาจทำให้เกิดการติดขัดจนไม่สามารถเขียนให้เสร็จได้
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าวิทยานิพนธ์ที่มีประสิทธิภาพควรมีการอ้างอิงที่ชัดเจน สามารถโต้แย้งได้ รวมถึงต้องกระชับ น่าเชื่อถือ และเฉพาะเจาะจง เหล่านี้จะทำให้วิทยานิพนธ์ของคุณเข้มแข็งและมีอิทธิพลในการโน้มนาวผู้อ่าน
รวมถึงต้องยอมรับมุมมองของฝ่ายตรงข้าม และคาดการณ์การโต้แย้งไว้ล่วงหน้าว่าผู้อ่านจะแย้งอย่างไร ซึ่งหากคาดการณ์ได้ก็สามารถเขียนเนื้อหาเพิ่มเข้าไปในประเด็นที่ต้องการ นั่นจะยิ่งทำให้วิทยานิพนธ์ของคุณไม่ได้เป็นเพียงแค่ความคิดเห็นแต่ได้รวบรวมประเด็นข้อโต้แย้งไว้แล้ว
#5 จัดรูปแบบส่วนพิเศษ เช่น ภาคผนวก
เมื่อทั้งเนื้อหาและวิทยานิพนธ์ใกล้เสร็จสิ้น อีกส่วนที่น่าสนใจคือส่วนพิเศษ เช่น ภาคผนวก หรือบรรณานุกรม ซึ่งอาจเป็นไปตามรูปแบบเฉพาะ เช่น AP Style หรือ Chicago Style ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำแนะนำที่คุณได้รับ และท้ายที่สุดคือการตรวจสอบทั้งเนื้อหา การสะกดคำ บทนำ สารบัญ บรรณานุกรม ฯลฯ ให้มั่นใจว่ามันอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องอีกครั้ง จากนั้นก็ส่งรูปเล่มได้เลย!
ไม่มีความรู้สึกใดที่ยิ่งใหญ่และโล่งใจไปกว่าการที่ส่งรูปเล่มวิทยานิพนธ์ที่คุณได้ลงแรงกายแรงใจเป็นเวลาหลายเดือนเพื่อทำให้เสร็จ เมื่อทำตามขั้นตอนที่เป็นประโยชน์เหล่านี้คุณจะมั่นใจได้ว่าวิทยานิพนธ์ของคุณได้นำเสนอข้อโต้แย้งที่น่าสนใจและหักล้างไม่ได้ที่นำเสนอทุกสิ่งที่คุณได้เรียนรู้
ที่มา: grammarly