สำหรับการเขียนในภาษาอังกฤษ เพื่อนๆ อาจไม่เคยทราบกันว่ามีถึง 2 แบบเลยล่ะ นั่นก็คือการเขียนแบบบริติช สไตล์ซึกงเป็นของอังกฤษแท้ๆ และของอเมริกัน ซึ่งไทยเราค่อนข้างจะใช้กันเป็นส่วนมากนั่นเอง
ทีนี้ถ้าเราเลือกจะเขียนสักแบบ ก็ควรจะเขียนสไตล์นั้นๆ ไปตลอด เพราะว่าถ้าเขียนให้เป็นหลากหลายสไตล์แล้วไซร้ จะดูไม่เป็นมืออาชีพนั่นเอง การสมัครงานหรือสมัครทุนเลยเป้นเรื่องสำคัญอย่างมากเลยทีเดียว
วันนี้ ScholarShip.in.th จะพาเพื่อนๆ ไปพบกับความแตกต่างในการสะกดคำ ทั้งแบบบริติชสไตล์และแบบอเมริกันสไตล์ มาเรียนรู้แล้วใช้ให้ถูกันนะจ๊ะ อิอิ
1. re / -er สังเกตกันง่ายๆ เลย แบบบริติชสไตล์จะลงท้ายด้วย re แต่อเมริกันจะลงท้ายด้วย er เช่น
– centre / center
– fibre / fiber
– litre / liter
2. our / -or แบบบริติชจะลงท้ายด้วย our อเมริกันจะสั้นๆ ง่ายๆ ด้วย or เช่น
– colour / color
– flavour / flavor
– humour / humor
– labour / labor
– neighbour / neighbor
3. ize หรือ -ise / -ize ซึ่งแบบบริติชจะลงท้ายด้วยทั้ง -ize หรือ -ise ก็ได้ แบบเอมริกันสไตล์จะต้องลงท้ายด้วย -ize เท่านั้น
– apologize หรือ apologise / apologize
– organize หรือ organise / organize
– recognize หรือ recognise / recognize
4. -yse / -yze โดยแบบบริติชจะลงท้ายด้วย -yse และอเมริกันจะลงท้ายด้วย -yze ครับผม
– analyse / analyze
– breathalyse / breathalyze
– paralyse / paralyze
5. คำที่ลงท้ายด้วยสระก่อนแล้วเติม L ไว้รั้งท้าย แบบบริติชจะเบิ้ล L ไปอีกตัว ส่วนอเมริกันจะไม่เพิ่ม คือ
– travelled / traveled
– travelling / traveling
– traveller / traveler
– fuelled / fueled
– fuelling / fueling
6. คำที่มีสระสองตัวติดกัน นั่นก็คือในการสะกดคำแบบบริติช บางคำจะใช้สระสองตัวติดกัน ได้แก่ ae หรือ oe แต่ในการสะกดคำแบบอเมริกันจะใช้ e เพียงตัวเดียว สังเกตกันดีๆ นะจ๊ะ
– leukaemia / leukemia
– manoeuvre / maneuvre
– oestrogen / estrogen
– paediatric / pediatric
7. คำนามที่ลงท้ายด้วย -ence เน้นตรงเฉพาะคำนามนะครับ ที่ลงท้ายด้วย -ence ในแบบบริติช เมื่อสะกดแบบอเมริกันจะเปลี่ยนเป็นลงท้ายด้วย -ense ครับ เช่น
– defence / defense
– licence / license
– offence / offense
– pretence / pretense
8. คำนามที่ลงท้ายด้วย -ogue แบบบริติช เมื่อสะกดแบบอเมริกันจะเลือกลงท้ายได้สองแบบ -og หรือ -ogue ได้สองแบบเลยจ้า คือ
– analogue / analog หรือ analogue
– catalogue / catalog หรือ catalogue
– dialogue / dialog หรือ dialogue
ทีนี้เราก็ทราบการสะกดคำแบบทั้งสองสไตล์แล้ว มาใช้กันให้ถูกเถอะนะจ๊ะ ภาษาที่ออกมาจะได้ดูเป็นมีออาชีพสุดๆ ไงล่ะ อิอิ
Source: Hotcourse