เราทุกคนคงคุ้นเคยกับอาการอ่อนเพลียในตอนเช้าแม้ว่าจะนอนไปไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงก็ยังรู้สึกไม่สดชื่น แถมเหนื่อยล้าเอาซะดื้อๆ ซึ่งโดยส่วนมากเรามักโทษว่าเป็นเพราะชีวิตที่ทั้งเร่งรีบและความเครียดจากการทำงาน แต่บางครั้งสาเหตุที่แท้จริงอาจจะมาจากพฤติกรรมหลังตื่นนอนที่ทำให้คุณไม่สามารถรีเฟรชตัวเองได้เต็มที่
ลองมาเช็คดูว่า 8 พฤติกรรมใดต่อไปนี้ที่คุณทำอยู่ เพราะมันอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คุณเหนื่อยล้าแม้ในเช้าที่สดใสได้
1. ไม่มีตารางชีวิต
ชีวิตของคนเราเดินไปตามจังหวะของ Circadian หรือที่เรียกกันว่า นาฬิกาชีวิต ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าเมื่อไหร่จะง่วง และเมื่อไหร่จะถึงเวลาตื่นนอน
การใช้ชีวิตแบบตามใจ ตื่นหรือนอนแบบไม่เป็นเวลา จะทำให้นาฬิกาชีวิตรวนจนส่งผลต่อร่างกาย ทำให้ไม่สามารถกำหนดเวลาที่จะง่วงนอน หรือตื่นตัวแบบเต็มที่ได้
เป็นที่มาของการนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ดังนั้น ลองเปลี่ยนตารางชีวิตให้เข้านอนและตื่นในเวลาเดิมทุกเช้าจะช่วยให้ระบบนาฬิกาชีวิตกลับมาสมดุลได้เหมือนเดิม
2.นอนตื่นสายในวันหยุด
ถ้าคุณนอนหลับเพียงวันละ 5-6 ชั่วโมงในวันธรรมดา แต่พอถึงวันหยุดกลับนอนยาวเท่าที่ต้องการ นั่นถือเป็นการทำร้ายร่างกายทางอ้อมนะ
เพราะอย่างที่บอกว่าร่างกายมนุษย์มีนาฬิกาชีวิต การเปลี่ยนจำนวนชั่วโมงที่นอนแบบนี้ก็จะทำให้นาฬิกาชีวิตรวนได้เหมือนกัน
นอกจากความผิดปกติของการนอนหลับแล้วยังมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย เพื่อลดความเสี่ยง พยายามนอนให้จำนวนชั่วโมงเท่ากันในทุกวันน่าจะดีกว่านะ
3.กดเลื่อนนาฬิกาปลุก
หลายคนชอบตั้งนาฬิกาปลุกในตอนเช้าก่อนจะขอนอนต่อโดยการกดปุ่มเลื่อนเวลาปลุกออกไป ซึ่งที่จริงแล้ว เวลานอนอีก 15 นาทีหลังจากนั้นจะไม่ทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นหรอก กลับกันจะทำให้ง่วงยิ่งกว่าเดิมด้วยซ้ำ
เพราะหากว่าคุณกดเลื่อนแล้วเผลอหลับลึก การถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้งจะทำให้ร่างกายรู้สึกเหน็ดเหนื่อยมากกว่าสดชื่น จึงเป็นการดีที่สุดที่จะตั้งนาฬิกาปลุกเวลาเดิมทุกวันและไม่เลื่อนมันอีก เพื่อให้ร่างกายคุ้นชินกับเวลาตื่นนอน
4.การมีแสงสว่างที่มากเกินไปในห้องนอน
หากว่าดวงตาของมนุษย์ เจอเข้ากับแสงใดก็ตาม ร่างกายจะระงับการผลิตฮอร์โมนเมสโทเนียที่กระตุ้นการนอนหลับซึ่งอาจนำไปสู่โรคนอนไม่หลับก็ได้
ซึ่งแสงที่ว่านี้ รวมไปถึงแสงจากธรรมชาติและแสงสังเคราะห์ ดังนั้นจึงควรปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดในห้องนอนของคุณ เพื่อให้ความมืดนำคุณไปสู่ฝันดีและเช้าวันใหม่ที่สดใส
5.ละเลยมื้อเช้า
อาหารเช้าเป็นตัวช่วยชั้นดีในการกระตุ้นให้นาฬิกาชีวิตเริ่มเดินได้อย่างเต็มที่ หากคุณปฏิเสธมื้อเช้าและปล่อยให้ท้องว่างหลังจากที่ตื่นนอนนานๆ จะทำให้ร่างกายของคุณจะเพิ่มระดับฮอร์โมน cortisol ที่จะกระตุ้นความเครียดให้เพิ่มสูงขึ้น
6.ทานขนมหวานก่อนนอน
การทามื้อดึกไม่เพียงแต่ส่งผลร้ายกับร่างกายเท่านั้นแต่ยังส่งผลถึงการนอนหลับด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทานขนมหรืออาหารที่มีน้ำตาลสูงซึ่งจะเพิ่มระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เป็นตัวรับมือกับความเครียดในร่างกายของคุณ และต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า5 ชั่วโมงเพื่อให้ระดับฮอร์โมนส์กลับมาเป็นปกติ
ดังนั้นหากทนหิวในมื้อดึกไม่ไหวจริงๆ แนะนำให้ทานโยเกิร์ตหรืออาหารที่มีไขมันและน้ำตาลต่ำจะดีกว่า เพื่อสุขภาพและร่างกายที่ดี
7.การไม่เก็บกวาดห้องนอน
ห้องนอนที่รกรุงรังเป็นสิ่งหนึ่งที่คอยย้ำว่างานของคุณยังไม่เสร็จสิ้น มีงานวิจัยที่ระบุว่า ห้องนอนที่เป็นระเบียบและเตียงที่ทำด้วยผ้าจากธรรมชาติจะช่วยกระตุ้นให้คุณรู้สึกนอนหลับสบาย และยังช่วยให้ความรู้สึกปลอดโปร่งมากกว่าห้องนอนรกๆอีกด้วย
8.อาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน
การแช่น้ำอุ่นถือเป็นการผ่อนคลายร่างกายที่ดีที่จะช่วยให้คุณสบายตัวและหลับได้สนิท แต่ไม่ใช่ก่อนหน้าที่จะเข้านอนในทันที ทั้งนี้เพราะการที่อุณหภูมิในร่างกายลดลงเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บอกว่าถึงเวลาเข้านอนแล้ว ซึ่งการแช่น้ำร้อนก็เป็นตัวกระตุ้นให้สัญญานนี้ทำงาน
เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนเพลียจนเกินไป ลองเปลี่ยนเวลาในการอาบน้ำอย่างน้อยสัก 2 ชั่วโมงก่อนจะเข้านอนเพื่อให้ร่างกายมีเวลาปรับตัว
ที่มา: brightside.me
One Comment
Comments are closed.
Such a nice blog.
I have read an amazing article here.