ปฏิญญาแห่งพันธกิจ
ปัญญาชนสาธารณะ คือบุคคลจากหลากหลายวงการ ทั้งนักวิชาการ นักสื่อสารมวลชน ศิลปิน นักคิด นักเขียน นักพัฒนาสังคมจากองค์กรพัฒนาเอกชน นักสังคมสงเคราะห์ ข้าราชการพลเรือน และอื่นๆ โดยเป็นผู้ซึ่งมีความแน่วแน่ในการทำงานเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดีจากความรู้ ความชำนาญทางวิชาชีพ สติปัญญาและประสบการณ์ของตน
ทุนมูลนิธินิปปอนเพื่อปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย (โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย) มุ่งกระตุ้นการสร้างฐานกลุ่มปัญญาชนสาธารณะดังกล่าวในภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันในกลุ่มปัญญาชน สาธารณะ ทั้งยังต้องการสนับสนุนให้เกิดพื้นที่สาธารณะมากขึ้น เพื่อสามารถสนองตอบความต้องการของภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียคืออะไร?
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียสนับสนุนทุนเพื่อทำ โครงการเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีในประเทศแถบเอเชียนอกไปจากประเทศบ้านเกิด หรือประเทศที่พำนักอาศัยอยู่
สนับสนุนโครงการอะไรบ้าง?
โครงการที่เสนออาจเป็นไปได้หลายรูปแบบ ทั้งในรูปงานวิจัย ภาพยนตร์ การเขียนชุดบทความเชิงข่าว การรวบรวมข้อมูล การสร้างเครือข่าย การทำงานด้านศิลปะ ฯลฯ แต่ต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขสามข้อ ได้แก่ จะต้องไม่เป็นส่วน หนึ่งของอาชีพหรืองานประจำที่ท่านทำอยู่ จะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียและมีหัวข้อ ตรงกับประเด็นหลักของโครงการฯ และจะต้องมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน (ในรูปของงานวิจัย ภาพยนตร์ ความเรียงประกอบภาพถ่าย ฯลฯ)
โครงการดังกล่าวต้องทำในประเทศที่เข้าร่วมกับโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย อย่างน้อยหนึ่งประเทศขึ้นไป แต่ต้องไม่ใช่ประเทศ บ้านเกิดหรือประเทศที่ผู้สมัครพำนักอยู่อย่างถาวร ประเทศที่เข้าร่วมกับโครงการประกอบด้วยอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ท่านต้องหาหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพรองรับการทำงานในประเทศที่ท่านต้องการ เดิน ทางไป ช่วงเวลาโครงการเริ่มอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ดังนั้น ข้อเสนอโครงการจะต้องระบุตารางเวลาดำเนินงานจนแล้วเสร็จภายในช่วงระยะเวลา ดังกล่าวนี้ด้วย
ผู้สมัครเป็นใคร?
เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการผลิตและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ หรือแนวคิดซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย โดยอาจเป็นนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ทำงานด้านสื่อ ศิลปิน นักเขียน ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรพัฒนาเอกชน นักสังคมสงเคราะห์ ข้าราชการ และผู้ที่ทำงานเพื่อสร้างสรรค์สังคมที่ดีกว่าเดิม โดยจะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษอย่างเพียงพอในการดำเนินโครงการและนำเสนอผลงาน ของตน
ผู้รับทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียและผู้รับทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียระดับอาวุโสคือใคร?
ผู้รับทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียระดับอาวุโสหมายถึง ปัญญาชนสาธารณะซึ่งมีบทบาทอันเป็นที่ยอมรับในสังคม และมีอายุ 40 ปี เป็นอย่างน้อย ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สามารถดำเนินโครงการให้เสร็จสิ้นได้อย่างน้อยที่สุดภายใน 1 เดือน ถึงอย่างมากที่สุดภายใน 12 เดือน รวมถึงสามารถเดินทางไปยังประเทศที่เข้าร่วมโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย ได้ถึงสี่ประเทศ
ผู้รับทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียมีอายุน้อยกว่า 40 ปี ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 สามารถดำเนินโครงการให้เสร็จสิ้นได้อย่างน้อยที่สุดภายใน 4 เดือน ถึงอย่างมากที่สุดภายใน 12 เดือน รวมถึงสามารถเดินทางไปยังประเทศที่เข้าร่วมโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย ได้หนึ่งหรือสองประเทศ ผู้รับทุนทั้งสองประเภทจะต้องดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องจนสิ้นสุดระยะเวลา ทุน
ผู้รับทุนมีพันธกิจอย่างไรบ้าง?
ภายหลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ ผู้รับทุนจะต้องเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคประจำปีของโครงการ ปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย เพื่อนำเสนอผลลัพธ์จากการทำงานโดยนำส่งรายงานและข้อมูลอื่นๆ ผู้รับทุนควรเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการไปยังสาธารณะชนในวงกว้างทุกเมื่อที่ มีโอกาส หลังจากปฏิบัติตามพันธกิจดังกล่าวสำเร็จแล้ว ผู้รับทุนจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกในชุมชนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย และเป็นที่คาดหวังว่าผู้รับทุนจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนนี้และมีโอกาส สมัครเพื่อขอรับทุนสนับสนุนภายหลังโครงการ (post fellowship programs)
ชุมชนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียคืออะไร?
ชุมชนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียหมายถึงชุมชนของผู้รับทุน โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และบุคคลผู้เกี่ยวข้องกับโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย ไม่ว่าจะในฐานะคณะกรรมการคัดเลือก ผู้อำนวยการโครงการและผู้ประสานงานโครงการ ในปัจจุบันชุมชนนี้เติบโตขึ้นจนมีสมาชิกมากกว่า 250 คนจากหลากหลายสาขาแต่ต่างมีพันธกิจร่วมกัน สมาชิกจะประชุมและทำงานร่วมกันทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการและมีการทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาคและ ระดับชาติ
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียให้ความสนับสนุนผู้รับทุนด้านใดบ้าง?
– เงินค่าใช้จ่ายประจำวันและเงินค่าเช่าบ้านครอบคลุมเฉพาะช่วงที่ผู้รับทุนใช้ทุนอยู่ต่างประเทศและแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ
– ค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ เฉพาะค่าเดินทางไป-กลับหนึ่งครั้ง
– ค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางในประเทศ
– ค่าใช้จ่ายสำหรับการวิจัย เช่น การจัดซื้อคอมพิวเตอร์ การวิจัยภาคสนาม หนังสือ ค่าแปลเอกสาร ฯลฯ
– ค่ากรมธรรม์ประกันภัยสำหรับการเดินทางในช่วงเวลารับทุน
มีการคัดเลือกผู้รับทุนโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียอย่างไร?
ในแต่ละประเทศที่เข้าร่วมโครงการ จะมีคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งประกอบด้วยปัญญาชนสาธารณะผู้มีบทบาทอันเป็นที่ ยอมรับในสังคม คณะกรรมการจะพิจารณาใบสมัคร เสนอรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อเรียกตัวมาสัมภาษณ์ และเสนอรายชื่อจากการคัดเลือกของตนให้กับคณะกรรมการคัดเลือกระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย ในแต่ละปีจะมีจำนวนผู้รับทุนสูงสุดไม่เกินหกท่านในแต่ละประเทศสมาชิก กระบวนการคัดเลือกจะดำเนินไปอย่างเป็นความลับ
ระยะเวลาที่สำคัญของโครงการ?
– ส่งใบสมัครอย่างช้าที่สุดไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552
– สัมภาษณ์ผู้รับทุนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552
– ประกาศผลการคัดเลือกในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
– ผู้รับทุนต้องดำเนินโครงการในช่วงระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
หมายเหตุ!
ท่านไม่สามารถสมัครขอรับทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียเพื่อทำโครงการในประเทศของตนเองได้
กรอกข้อมูลในใบสมัครด้วยวิธีพิมพ์เท่านั้น ใบสมัครที่เขียนด้วยลายมือไม่สามารถใช้สมัครได้
หากข้อมูลการสมัครไม่ถูกต้องตามความจริง ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม อาจนำไปสู่การเพิกถอนสิทธิ์ในการรับทุนได้ทุกเมื่อ
การสมัครในประเทศไทย
ผู้สมัครรับทุนสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและยื่นเอกสารการสมัครได้ที่
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 3 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท จ. กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2218-7422
โทรสาร 0-2652-5283
อีเมล์ [email protected]
เว็บไซต์ www.api-fellowships.org
มูลนิธินิปปอน
มูลนิธินิปปอนเป็นองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไรและเป็นองค์กรให้ทุนที่ก่อตั้ง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 มูลนิธินิปปอนสนับสนุนทุนให้กับโครงการต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ ในสาขาหลัก 3 สาขา ได้แก่ โครงการเพื่อ สวัสดิการสังคมและโครงการอาสาสมัคร โครงการวิจัยและพัฒนาทางทะเล และการให้ความช่วยเหลือแบบพันธมิตรต่อประเทศอื่น โดยร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงกำไรอื่นๆ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธินิปปอน โปรดติดต่อ
มูลนิธินิปปอน แผนกโครงการระหว่างประเทศ
1-2-2 Akasaka, Minato-ku, Tokyo 107-8404 Japan
เว็บไซต์ http://www.nippon-foundation.or.jp
โทรศัพท์ +81-3-6229-5181
โทรสาร +81-3-6229-5180
อีเมล์ [email protected]
เงื่อนไขและข้อตกลง
คุณสมบัติ
ทุนโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียแบ่งเป็น 2 ประเภท คือทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียและทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียระดับอาวุโส ทั้งนี้โดยใช้อายุเป็นเกณฑ์สำคัญ
คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้สมัครทุนทั้งสองประเภท
– ผู้สมัครต้องถือสัญชาติหรืออาศัยอย่างถาวรอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่งใน ห้าประเทศภาคีที่เข้าร่วมโครงการฯ และ ต้องกำลังพำนักอยู่ในประเทศนั้นในระหว่างการสมัครขอรับทุน
– ผู้สมัครต้องมาสัมภาษณ์ตามวัน เวลา และสถานที่ซึ่งกำหนดไว้
– ผู้สมัครต้องเสนอระยะเวลาดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป และควรดำเนินการทุนให้สำเร็จก่อนสิ้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554
– ผู้สมัครต้องมีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษหรือภาษาในประเทศที่ตนเองจะเดิน ทางไปดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมอย่างเป็นระบบ และ
– ผู้สมัครต้องมีฐานการทำงานอยู่ในภูมิภาคหรือในประเทศที่เข้าร่วมโครงการฯ และจะยังคงเป็นเช่นนั้นต่อไปในอนาคต
ทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
นอกเหนือจากคุณสมบัติทั่วไปดังกล่าวแล้ว ผู้สมัครทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียจะต้อง
– มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (อาจมีข้อยกเว้นได้บ้างในบางกรณี)
– มีความสามารถและปรารถนาที่จะดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมอย่าง เป็นระบบในประเทศที่เข้าร่วมโครงการฯ นอกเหนือจากประเทศบ้านเกิดหรือประเทศที่ผู้สมัครพำนักอยู่อย่างถาวร
– มีศักยภาพสูงในการส่งเสริมกิจการในสาขาของตนให้สำเร็จในอนาคต
– สามารถดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมอย่างเป็นระบบตามที่เสนอ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องตั้งแต่ 4-12 เดือน และ
– สามารถดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมอย่างเป็นระบบตามที่เสนอ ในประเทศที่เข้าร่วมโครงการฯอย่างมากที่สุดสอง (2) ประเทศ นอกเหนือจากประเทศบ้านเกิดหรือประเทศที่ผู้สมัครพำนักอยู่อย่างถาวร
ทุนปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียระดับอาวุโส
นอกเหนือจากคุณสมบัติโดยทั่วไปดังกล่าวแล้ว ผู้สมัครทุนฯ ระดับอาวุโสจะต้อง
– มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 (อาจมีข้อยกเว้นได้บ้างในบางกรณี)
– มีความสามารถและประสบการณ์ที่จะดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมอย่างเป็น ระบบในประเทศที่เข้าร่วมโครงการฯ นอกเหนือจากประเทศบ้านเกิดหรือประเทศที่ผู้สมัครพำนักอยู่อย่างถาวร
– สามารถดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมอย่างเป็นระบบตามที่เสนอไว้ ในประเทศที่เข้าร่วมโครงการได้มากถึงสี่ (4) ประเทศ นอกเหนือจากประเทศบ้านเกิดหรือประเทศที่ผู้สมัครพำนักอยู่อย่างถาวร
– สามารถดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมอย่างเป็นระบบตามที่เสนอ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องตั้งแต่ 1-12 เดือน และ
– มีความสามารถ อิทธิพลโน้มน้าว และช่องทางในการเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมอย่างเป็นระบบได้
โปรดแนบเอกสารสี่อย่างประกอบใบสมัคร จัดเตรียมเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังต่อไปนี้:
1) จดหมายปะหน้าซึ่งแนะนำตัวผู้สมัครโดยย่อและระบุเหตุผลที่ทำให้สนใจสมัครขอรับทุนจากโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย
2) ประวัติส่วนตัวฉบับสมบูรณ์ มีความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพการงาน ผลงานที่ตีพิมพ์ และความสำเร็จด้านต่าง ๆ
3) จดหมายรับรองสองฉบับ (โปรดแปลเป็นภาษาอังกฤษในกรณีที่เป็นภาษาไทย) ส่งถึงโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย และเขียนขึ้นภายในช่วง 3 เดือนก่อนหน้าวันปิดรับสมัคร กล่าวคือเป็นจดหมายที่เขียนขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน ? สิงหาคม พ.ศ. 2552
4) ข้อเสนอโครงการต้องครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้ (ความยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ)
1. โครงการนี้ทำเกี่ยวกับเรื่องอะไร โปรดอธิบายในรายละเอียด
2. เหตุใดผู้สมัครจึงต้องการดำเนินโครงการนี้?
3. เหตุใดผู้สมัครจึงเห็นว่าตนมีคุณสมบัติเหมาะสมในการดำเนินโครงการนี้? (โปรดระบุถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการ)
4. ท่านมีวิธีการทำงานอย่างไร? (วิธีวิทยา)
5. ผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการประกอบด้วยอะไรบ้าง (งานวิจัย วิดีโอ งานแสดง ฯลฯ) และจะเผยแพร่ผลงานเหล่านี้อย่างไร?
6. โครงการนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียอย่างไร?
7. ผลงานที่ผ่านมาและแผนงานสำหรับอนาคตในฐานะที่เป็นปัญญาชนสาธารณะมีอะไรบ้าง (ทั้งในส่วนขององค์กร การรณรงค์ ผลงานตีพิมพ์ ฯลฯ)? ทุนจากโครงการนี้จะมีส่วนเกื้อหนุนงานของท่านได้อย่างไร?
หมายเหตุ
1. โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียจะไม่รับข้อเสนอโครงการใดๆ ที่คิดหรือเขียนขึ้นโดยบุคคลอื่นซึไม่ใช่ตัวผู้สมัคร เอง
2. ห้ามคัดลอกผลงานผู้อื่นมาใช้ทำข้อเสนอโครงการเพื่อสมัครขอรับทุนนี้
คลิกเพื่อดาวน์โหลดใบสมัคร
ที่มา http://www.api-fellowships.org/body/thailand.php