ทุน Ford Foundation International Fellowships Program (IFP) โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิฟอร์ด ประกาศทุน IFP ประจำปี 2553 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในการมอบทุนให้แก่บุคคลทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ ขาดโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาโท?? ทุน IFP เน้นการสรรหาผู้รับทุนที่มีภาวะผู้นำและทำประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคมในภาค ตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้ที่มุ่งมั่นที่จะนำความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษามาประยุกต์ใช้เพื่อ ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางสังคม เศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ
คุณสมบัติขั้นต้นของผู้สมัครเข้ารับทุน IFP
– ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทยและเป็นผู้พำนักอาศัยถาวรที่อยู่ใน 19 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– ปัจจุบันอาศัยและทำงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– มีประสบการณ์การทำงานแบบเต็มเวลาในงานด้านบริการชุมชนหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาซึ่งสอดคล้องกับสาขาวิชาที่สมัครขอทุน
– ผู้ที่จบปริญญาตรีจากสถาบันหรือมหาวิทยาลัยภายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะต้องมีประสบการณ์การทำงานข้างต้นไม่น้อยกว่า 3 ปี
– สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีจากสถาบันหรือมหาวิทยาลัยนอกภาคะวันออกเฉียงเหนือ จะต้องมีประสบการณ์การทำงานข้างต้นไม่น้อยกว่า 5 ปี
– มีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้และประสบการณ์มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ ชุมชนและสังคมหลังจากสำเร็จ การศึกษาและเสร็จสิ้นการรับทุน IFP
– สมัครขอรับทุนศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำในปัจจุบันและแผน งานในอนาคต?? เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางวิชาการ และอาชีพ?? รวมทั้งการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
– มิได้กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท
– ผู้สมัครที่ได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทแล้วสามารถสมัครขอรับทุน IFP สำหรับการศึกษาในระดับปริญญาโทได้ในสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานปัจจุบัน และไม่ซ้ำกับสาขาวิชาเดิม
สาขาวิชาที่เปิดให้ทุน ผู้สมัครสามารถเลือกเรียนในสาขาวิชาต่างๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฟอร์ด ดังนี้
– ศิลปะ และวัฒนธรรม (Arts & Culture)
– พัฒนาชุมชน (Community Development)
– ประชาสังคม (Civil Society)
– การเงินเพื่อการพัฒนาและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Development Finance & Economic Security)
– การศึกษาและทุน (Education & Scholarship)
– สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Environment & Development)
– การปกครอง (Governance)
– สิทธิมนุษยชน (Human Rights)
– สื่อ (Media)
– สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Social Sciences & Humanities)
– เพศศึกษา และการเจริญพันธุ์ (Sexuality & Reproductive Health)
– การพัฒนากำลังคน (Workforce Development)
การให้ความสนับสนุนของทุน IFP
หลังจากได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุน IFP ประจำประเทศไทย ผู้ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนดังนี้
– หลักสูตรการเตรียมความพร้อมก่อนการเข้าศึกษา (Pre-Academic Training) ซึ่งเนื้อหาที่ครอบคลุมรวมถึงภาษาอังกฤษหลักสูตรเร่งรัด พร้อมกับหลักสูตรการทำวิจัยและหลักสูตรคอมพิวเตอร์ ก่อนการเริ่มเรียนหลักสูตรปริญญาโท
– ค่าเล่าเรียนในระดับปริญญาโทภาคปกติของ มหาวิทยาลัยทั้งในหรือต่างประเทศ เป็นระยะเวลา 2 ปี รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทาง? ค่าหนังสือ? เงินทุนสนับสนุนการทำวิจัย
หมายเหตุ
– โครงการทุน IFP อนุมัติการศึกษาต่อในระดับปริญญาโทภาคปกติของ มหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากสำนักงาน ก.พ.เท่านั้น
– การได้รับการตอบรับให้เข้าเรียนในระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยที่สมัครเข้า ศึกษาต่อขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ พื้นฐานการศึกษา และระดับคะแนนผลการสอบภาษาอังกฤษของผู้ได้รับทุนแต่ละท่าน
ขั้นตอนการสมัครและการคัดเลือก
– ผู้สมัครจะต้องส่งใบสมัครและเอกสารต่างๆ ถึงมูลนิธิทุนการศึกษาเอเซียฯ โดยจะต้องกรอกใบสมัครเป็นภาษาอังกฤษ
– มูลนิธิทุนการศึกษาเอเชียฯ จะเชิญผู้ผ่านการคัดเลือกขั้นต้นมาเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ในเดือนมิถุนายน 2553 และจะประกาศผลการคัดเลือกในเดือนกรกฎาคม 2553
– คณะกรรมการคัดเลือกประกอบด้วยนักวิชาการ? ผู้ทรงคุณวุฒิจากองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
การคัดเลือกจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดของทุน IFP รวมทั้งการพิจารณาถึงศักยภาพความเป็นผู้นำ และการพัฒนาความรู้ความสามารถในสาขาอาชีพของผู้สมัคร ความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ
หมดเขตรับสมัคร วันที่ 15 มีนาคม 2553
ผู้สนใจสามารถ ดาวน์โหลดใบสมัคร หรือข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่
มูลนิธิทุนการศึกษาเอเซียในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 29
อาคารวานิสสา ชั้น 4 ถนนเพลินจิต เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 02-655-1615-7 โทรสาร 02-655-7977
E-mail: [email protected]
Website: www.asianscholarship.org
รายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับโครงการทุน IFP ทั่วโลก กรุณาคลิ๊ก www.fordifp.org
โดย นิตยสารการศึกษาวันนี้