วันนี้ ScholarShip.in.th จะพาไปพบกับหัวข้อ 5 ปัญหาที่ทำให้การศึกษาในระบบของไทยว่าทำไมถึงตกต่ำลง อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้อีกตะหาก รายละเอียดจะเป็นยังไงมาติดตามกันเลยดีกว่า
ปัญหาการศึกษาไทยนั้นมีมาเนิ่นนาน และไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าไรก็ไม่สามารถแก้ได้อย่างหายขาด เรียกได้ว่าเป็นปัญหาคาอกของนักวิชาการเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญก็คือ ปัญหาทางการศึกษาเหล่านี้คือปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเด็กไทยโดยตรง
สำหรับเด็กไทยที่เข้าการศึกษาในระบบ ก็จะพบว่ามีปัญหาเหล่านี้สืบเนื่องเรื่อยมา และทุกๆ คนก็แทบจะเห็นกันอย่างคุ้นตา และชินชากับปัญหาเหล่านี้ไปเสียแล้ว
– อันดับแรกเลยก็คือคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ตกต่ำ
สำหรับการสอบ O-net ทุกๆ ปีนั้น ผลที่ออกมาก็ทิศทางเดิมทุกๆ ปีนั่นก็คือ เด็กไทยมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน อีกทั้ง PISA (Programme for International Students Assessment) ยังพบว่า
เด็กไทยที่มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในระดับสูงมีเพียง 1% เท่านั้น ทั้งๆ ที่แต่ละวันเราใช้เวลาเรียนกันถึง 8 ชม. ต่อวันเลยทีเดียว อีกทั้งยังพบด้วยว่ากว่า 74% ไม่สามารถเข้าใจภาษาไทยได้อย่างเหมาะสมกับอายุ ทั้งการอ่านไม่รู้เรื่อง ตีความไม่ได้ หรือวิเคราะห์ความหมายไม่ถูก
– อีกหนึ่งปัญหาที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันนั้นก็คือปัญหาการขาดแคลนของบุคลากรครู
ผิดกับประเทศฟินแลนด์ที่อาชีพครูมีมาตรฐานสูงและได้รับความนิยม ซึ่งสืบเนื่องมาจากระบบโครงสร้างเงินเดือนราชการ จึงทำให้อาชีพนี้ได้ค่าตอบแทนไม่มากเท่าที่ควร
สำหรับความแตกต่างของเงินเดือนแรกเข้าทำงานกับเงินเดือนที่พึงได้รับสูงสุดในชีวิตการทำงานถึงเกือบ 10 เท่า!! ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วจะพบความแตกต่างเพียง 3 – 4 เท่าเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าอาชีพนี้รายรับไม่พอรายจ่ายนั่นเอง
– ปัญหาต่อไปก็คือการกำกับการผลิตกำลังคนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
นั่นก็คือคือบางสาขาวิชาขาดแคลนจนคนไม่พอ และบางสาขาวิชาคนมากจนไม่สามารถรับเข้าทำงานได้หมดนั่นเอง
– สำหรับปัญหาสุดคลาสสิคต่อไปก็คือคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ไม่ได้มาตรฐาน
กล่าวคือ สถาบันหลายๆ แห่งนั้นเริ่มมีปัญหาเรื่องหาคนเข้าเรียน ทำให้ประสบปัญหาเรื่องความคุ้มทุน นำไปสู่ความจำเป็นที่ต้องดำเนินการด้านการตลาดทุกวิถีทาง และมุ่งเปิดสอนแต่สาขาวิชาที่ทำได้ง่าย ต้นทุนต่ำ และได้เงินเร็ว!!
เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดคำว่า “ปริญญาเฟ้อ” ซึ่งในปัจจุบันก็จะเห็นได้ชัดเลยว่า ต้องเรียนกันอย่างน้อยถึงในระดับปริญญาโทเลยทีเดียว และไม่แน่ในอนาคตอาจคุกคามไปเรื่อยๆ จนถึงระดับปริญญาเอก หรือเป็นนักวิทยาศาสตร์กันไปเลยทีเดียว
– อีกหนึ่งปัญหาที่ละเลยไม่ได้เลยนั้นก็คือการขาดวิจัยและพัฒนา ขาดนวัตกรรม และปัญหาความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม
ซึ่งจากการสำรวจของ 2548 ผลงานวิจัยจากอาจารยืในระดับอุดมศึกษามีเพียง 2,000 ฉบับเท่านั้น และ 90 0% เกิดมาจากมหาวิทยาลัยเพียง 8 แห่ง
นั่นหมายความว่า มหาวิทยาลัยที่เหลืออีกร้อยกว่ามหาวิทยาลัยตีพิมพ์เพียง 10% เท่านั้น!! ซึ่งถ้าเปรียบกับประเทศอื่นแล้วอาจารย์ท่านหนึ่งจะมีงานวิจัยกว่า 2 ชิ้นต่อปีเลยทีเดียว แต่ของไทยได้เพียง 0.12 บทความต่อคนต่อปี ซึ่งงานวิจัยจัดได้ว่าเป็นต้นทุนทางปัญญาก็ว่าได้ และความรู้นี้แหละจะไปส่งผลต่อความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจประเทศนั่นเอง
เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างคุ้นหน้าคุ้นตากันเลยก็ว่าได้นะครับ เพราะฉะนั้นหวังว่าน้องๆ นักเรียนผู้ปกครอง รวมถึงทางรัฐควรจะเข้าใจปัญหาให้ตรงจุด และส่งเสริมให้ถูกประเด็กจึงจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปได้นั่นเองจ้า
ที่มา: Charuaypon