สำหรับการเรียนต่อต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ค่าครองชีพสูงอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย หรือแถบยุโรปตะวันตก นักศึกษาต่างชาติส่วนมากก็จะเลือกอยู่ภายในหอพักมหาวิทยาลัย เพราะจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้เยอะมากนั่นเอง
แต่บางคน หรือบางที่ซึ่งมีหอพักจำกัด (และส่วนใหญ่จะให้เด็กๆปีหนึ่งอยู่) เลยต้องออกมาหาที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย เพราะว่าอาจจเจอข้อจำกันในบางเรื่องเช่น การเข้าหอพักที่ดึกไม่ได้ หรือว่าหอพักเต็มก็ตามแต่ครับผม
วันนี้ ScholarShip.in.th เลยมีข้อมูลดีๆมาแนะนำ 4 แนวทางการเลือกหอพักนอกมหาวิทยาลัย สำหรับเพื่อนๆ ที่จะไปเรียนต่อเมืองนอกมาฝากกันครับผม ว่าแล้วเรามาชมรายละเอียดกันเลย
1. วางแผน และเลือกตั้งแต่เนิ่นๆ
พื้นที่หอพัก อพาร์ทเมนต์ หรือบ้านเช่าในเขตรอบๆมหาวิทยาลัยนั้น ช่วงเวลาปิดเทอมก่อนเปิดเทอมสักระยะ จะไม่ค่อยมีคนอยู่ (เพราะนักศึกษาไม่อยู่กัน) ทำให้ตรงจุดนี้เราได้เปรียบในการเลือกและทำสัญญาเข้าอยู่ก่อนได้นั่นเอง
และถ้าถึงช่วงเวลาใกล้เปิดเทอมเข้าไปเรื่อย ปริมาณความต้องการเช่าจะมีสูงขึ้น ทำให้ผู้เช่ากลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเจ้าของที่เช่าจะมีตัวเลือกมากขึ้น ในการกำหนดราคาและเลือกลูกค้า เพราะฉะนั้นใครเริ่มเร็วก่อนก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบไป
2. หาเพื่อนอยู่ด้วยกัน
ถึงแม้ว่าการอยู่คนเดียวจะเป็นอิสระกว่า แต่ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายมหาโหดเลยล่ะ ชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัย หลายคนก็เลยเลือกอยู่ด้วยกันกับกลุ่มเพื่อน เพื่อให้มาอยู่ด้วยกัน นอกจากจะประหยัดแล้วยังไม่เหงาอีกด้วย
3. เลือกให้ดีที่สุด
การเป็นนักศึกษาต่างชาติ นั่นหมายความว่าเราจะไม่คุ้นเคยกับแถบนั้นมาก่อน และไม่รู้ว่าที่เราเลือกไปอยู่มีความปลอดภัย สะดวก เดินทางได้ง่ายแค่ไหน (ไม่เหมือนในมหาวิทยาลัยที่มีพร้อม) แนะนำว่าควรปรึกษาเพื่อนต่างชาติ ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต หรือสอบถามคนท้องถิ่น
เรื่องที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆคือ ความปลอดภัย เพราะมันสำคัญกับเรามากที่สุด ถัดมาคือเรื่อง การเดินทางไปเรียน และค่อยมาดูเรื่องราคากันอีกครั้งหนึ่ง
4. ตัดสินใจอย่างรอบคอบ
บางครั้งการจะเซ็นสัญญาเช่า โดยเฉพาะในเอกสารสัญญาที่เป็นภาษาที่เราไม่คุ้นเคย อาจจะรายละเอียดหรือลูกเล่นที่เราตามไม่ทัน ถ้ามหาวิทยาลัยไหนมีฝ่ายกฎหมายที่ให้นักศึกษาได้ขอคำแนะนำ ก็ลองเอาสัญญาเช่าไปปรึกษาดูว่าโอเคหรือไม่ มิฉะนั้นก็ต้องอ่านให้รอบคอบ อย่าให้เราเสียเปรียบเด็ดขาดนะครับ ใจแข็งหน่อย เอ็นดูเขาเอ็นเราขาดแน่นอน!!
แล้วไว้เรามาพบสาระน่ารู้ดีๆ แบบนี้กันได้ใหม่ทุกๆ วันกับ ScholarShip.in.th เว็บไซต์สำหรับทุนการศึกษา และการเรียนต่อกันที่ต่างประเทศนะครับ
Source: WeGoInter