สวัสดีครับเพื่อนๆ เคยคิดกันบ้างมั้ยว่าเวลาเราสมัครงานนั้น เรซูเม่เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดเลย เพราะเนื่องจากเราและผู้ว่าจ้างไม่เคยได้รู้จักกันมาก่อนนั่นเอง เรซูเม่จึงเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงตัวเราได้ดี
ทั้งนี้ทั้งนั้นเราควรจะมีเทคนิคดีๆในการนำเสนอตัวเองออกไป ฟังดูเหมือนง่ายนะครับแต่ความจริงไม่ง่ายเลยเพราะผู้ว่าจ้างของเรามีเรซูเม่ผ่านตามาหลายร้อยแบบแล้วนะครับ ฉะนั้นเขามองปราดเดียวก็รู้แล้วว่าเราเป็นคนที่มีศักยภาพพอสำหรับองค์กรเขาหรือไม่ ดังนั้นเรามาดู 10ข้อที่ไม่ควรเขียนลงในเรซูเม่ของเรากันเลยครับ
1. เขาไม่อยากจะดูประวัติชีวิตของคุณหรอก
ผู้สมัครหลายๆคนคิดว่าโม้ชีวิตของตัวเองลงไปเยอะๆ เช่น ไปเที่ยวเมืองนอกหรือไปทำงานช่วงปิดเทอม เพราะจะได้ดูมีประสบการณ์ แต่เปล่าเลย นั่นจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณดูเวิ่นเว้อมากเกินไป ดังนั้นใส่อันเท่าที่สำคัญก็พอนะ
2. เรซูเม่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ข้อมูลมากไปก็ไม่ไหวนะ
หากคุณคัดสิ่งสำคัญในชีวิตที่คุณเคยทำออกมาแล้ว คุณก็ไม่จำเป็นหรอกที่จะต้องไปสาธยายยาวยืดจนผู้อ่านหาใจความสำคัญไม่ได้ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ก่อความรำคาญให้ผู้ว่าจ้าง จากที่สำคัญจะกลายเป็นไร้ความหมายได้เลย
3. รูปถ่ายไม่จำเป็นสำหรับเรซูเม่
ผู้ว่าจ้างคงไม่มีใครสนใจรูปร่างหน้าตาของคุณว่าเป็นยังไงหรอกนะ เพราะงานที่ใช้เรซูเม่มักจะไม่ได้ใช้หน้าตา การเลือกปฎิบัติก็เป็นอีกอย่างที่ผู้ว่าจ้างไม่ควรมี ดังนั้น หน้าตาสวยๆหล่อๆของคุณควรจะถูกเก็บไว้ให้มีค่าอยู่ที่หน้าเฟสบุ๊คคุณน่ะดีแล้ว
4. ข้อมูลส่วนตัว ไม่ต้องส่วนตัวมากก็ได้
เรื่องส่วนตั๊วส่วนตัวที่แบบคุณแต่งงานแล้วหรือโสด จะมีลูกหลายคนเพื่อให้เขาเห็นใจไม่ต้องใส่ลงไปนะครับ เพราะเขาจะไม่ดูตรงนั้นเลย และมันจะทำให้คุณดูเป็นคนนำเสนอตัวเองมากไปอีกด้วย
5. ทักษะปกติที่คนในโลกมี คุณไม่จำเป็นต้องใส่ลงไปหรอกนะ
เรื่องปกติที่คนทำงานมักจำทำได้ที่ไม่ควรใส่ เช่น Microsoft Words, Excel, ถ่ายเอกสาร
6. ฟ้อนต์ตัวหนังสือก็เป็นเรื่องสำคัญ
การใช้ตัวหนังสือแฟนซีเพื่อทำให้ข้อความดูเด่นขึ้น อาจทำให้โอกาสคุณมอดดับขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการใช้ฟ้อนต์แฟนซีบ่งบอกถึงความที่คุณยังไม่มีวุฒิภาวะ คุณควรจะรักษามาตรฐานให้กับงานเอกสารจะดีกว่า
7. เรซูเม่ไม่ต้องมีประธานอยู่ในประโยคนะ
ลิสต์รายการทำงานของคุณแค่ใส่ว่าทำอะไรก็พอ ไม่ต้องมีประธาน กริยา กรรมให้เต็มประโยคตามหลักไวยากรณ์หรอกครับ เช่น ผมเช็คสต๊อก, ผมดูแลฝ่ายการผลิต เพราะจะทำให้ผู้อ่านรำคาญตามากกว่านั่นเอง
8. ตำแหน่งหนึ่งคุณอาจมีหลายหน้าที่ คุณไม่จำเป็นต้องเขียนร่ายทั้งหมด
ถ้าหน้าที่มันเยอะมากขนาดนั้น เอาเท่าที่จำเป็นจริงๆและเกี่ยวกับงานที่เราจะไปสมัครดีกว่านะครับ
9. อย่าใส่เรื่องโกหกหรือโม้เกินไปจนเว่อ
ผู้ว่าจ้างคงจะไม่รู้แน่ชัดหรอกนะครับว่าคุณโม้หรือพูดความจริง แต่ที่แน่ๆถ้าเรื่องมันโม้มากๆ ใครๆก็ต้องตะหงิดอยู่ในใจบ้างแหละนะครับ ถ้าคุณได้รับเข้าทำงานจริงๆแล้วเขาพบว่าคุณโม้ ผลเสียจะเยอะกว่าผลดีแน่นอนครับ เช่น คุณบอกว่าพูดภาษาญี่ปุ่นได้คล่องมาก แต่จริงๆแล้วคุณได้แบบงูๆปลาๆ พอคุณเข้าไปทำงานเจองานที่ต้องใช้ทักษะนี้มากๆจริงๆ เขารู้ว่าคุณทำไม่ได้ เขาต้องหาเหตุผลเลิกจ้างคุณแน่ๆ
10. ข้อมูลส่วนตัว หรือเกี่ยวกับงานที่เคยทำ ตอนเด็กๆไม่ต้องเอามาลงหรอกครับ
แนะนำว่าหลักสากลให้เอาข้อมูลย้อนไป 15 ปีเท่านั้นนะครับ เพราะว่าตอนเด็กๆคุณไม่ได้ทำงานที่ต้องใช้วุฒิภาวะมากมายอะไรเลย อาจจะช่วยที่บ้าน หรือรับงานเสริมเล็กๆน้อยๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สำคัญกับองค์กรเลยครับ
ทีนี้เราก็ทราบกันแล้วว่าอะไรควรอะไรไม่ควรนะครับ อย่าใส่ไปอีกเชียวล่ะ อิอิ
Source: Lifehack