สวัสดีเพื่อนๆชาว Scholarship.in.th กันนะครับ วันนี้เราจะพาเพื่อนๆไปดูความยิ่งใหญ่ในอดีต ของอดีตโรงเก็บ “ยานอวกาศ” รัสเซียจะเป็นอย่างไรนั้นตามไปดูกันเลยครับ
ในปี 1974 นั้น รัสเซียได้ริเริ่มโครงการสำรวจอวกาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก และใช้เงินเป็นจำนวนมหาศาล เพื่อสร้างโครงการที่เรียกว่า “Buran” ยานอวกาศขนาดยักษ์ที่ถูกค้นคว้าและพัฒนามาอย่างลับๆ ซึ่งว่ากันว่ารัสเซียนั้นได้ขโมยแบบมาจากนาซ่า แต่ในที่สุดแล้วโครงการนี้ก็ได้ถูกยุติลงในปี 1993 และหลงเหลือเพียงแต่ซากยานอวกาศลำนั้น
ช่างภาพนามว่า Ralph Mirebs ได้เข้าไปสำรวจและเก็บภาพมาฝากกันครับผม
โรงเก็บยานอวกาศขนาดใหญ่นี้ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณที่ปล่อยกระสวยอวกาศรัสเซียที่เรียกกันว่า Baikonur Cosmodrome ซึ่งบริเวณนี้ยังคงใช้ปล่อยจรวด และยานอวกาศอยู่ในปัจจุบัน
โดยโรงเก็บยานอวกาศที่ถูกทิ้งร้างแห่งนี้มีความยาว 443 ฟุต สูง 203 ฟุต ที่มีประตูใหญ่อยู่ที่ทางเข้าออกทั้งสองด้านเพื่อใช้สำหรับปล่อยยานอวกาศ
ด้านบนของภาพนี้คือ คานรับน้ำหนักที่ติดตั้งกับเครนที่สามารถยกได้ถึง 400 ตัน
Buran ในภาษารัสเซียแปลว่า “พายุหิมะ” ทีมผู้ก่อสร้างชาวรัสเซียได้สร้างตัวต้นแบบขึ้นมาหลายลำ แต่มีเพียงลำเดียวเท่านั้นที่สามารถบินได้จริง ๆ
ยานอวกาศลำนี้ถูกออกแบบมาเพื่อพานักบินอวกาศเดินทางออกนอกโลก แต่สิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นจริง การบินขึ้นของเจ้ายานอวกาศลำนี้มีเพียงแค่ครั้งเดียว และไม่มีคนอยู่บนการบินครั้งนั้น โดยการบินครั้งแรก และครั้งเดียวของมันมีขึ้นในปี 1988 ใช้เวลาบิน 206 นาที ปล่อยตัวขึ้นไปได้สำเร็จ วนรอบโลกสอบรอบ และลงจอด
สองลำที่จอดอยู่ในภาพนี้ คือตัวที่ไม่เคยถูกใช้บิน ลำที่เคยบินออกนอกโลกได้พังเสียหายไปเมื่อปี 2002 เนื่องจากหลังคาของโรงเก็บยานอวกาศพังลงมาใส่มัน
Mirebs กับภาพถ่ายยานอวกาศสองลำที่จอดนิ่งเรียงกันอยู่ในโรงเก็บ
ตามกำแพงของโรงเก็บยานเต็มไปด้วยสะพานทางเดินที่คนงานใช้เพื่อไปชั้นต่าง ๆ ของตัวอาคาร
จากคำบอกเล่าของ Mirebs อาคารแห่งนี้มีคานรับน้ำหนักอยู่ที่ทำจากเหล็กพิเศษที่สามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนหากเกิดแรงระเบิดขึ้นระหว่างการประกอบยาน
แน่นอนว่า กว่า 22 ปีที่ถูกทิ้งร้าง ยานอวกาศเหล่านี้ก็อยู่ในสภาพที่ไม่ค่อยดี คุณจะเห็นหน้าต่างจากห้องคนขับที่แตกหัก
ไม่เพียงแต่ฝุ่นเท่านั้นที่ปกคลุมเจ้ายานอวกาศเหล่านี้ ถ้ามองเข้าไปใกล้ ๆ คุณจะเห็นขี้นกเต็มไปหมดบริเวณปลายจมูกของยาน
แต่ดูเหมือนว่าลำนี้จะปลอดภัยจากขี้นกนะ
เช่นเดียวกันกับยานอวกาศของ NASA โครงการยานอวกาศ Buran ถูกออกแบบมาเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ยานลำที่ถูกปล่อยขึ้นไปในอวกาศเมื่อปี 1988 ยังคงเป็นยานอวกาศรัสเซียลำที่ยังมีการนำมากลับใช้ใหม่อยู่
ไม่เพียงแค่ยานอวกาศเท่านั้น แต่ตัวอาคารเองก็มีการทรุดโทรมตามการเวลาเช่นเดียวกัน จากภาพ ตัวคานยกที่รับตัวอาคารอยู่มีการพังลงมาบางส่วน
สีที่ทาอยู่ที่ผนังกำแพงก็ค่อย ๆ หลุดลอกออกมาเช่นเดียวกัน
ที่ชั้นล่างสุดของตัวอาคาร Mirebs ได้เก็บภาพมุมใต้ท้องยานอวกาศที่ทำให้เราเห็นมุมเงยสูงไปถึงเพดานของตัวอาคาร
เมื่อไหร่ก็ตามที่ยานอวกาศกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ตัวยานมันจะร้อนมากที่อุณหภูมิสูงถึง 3,000 องศาฟาเรนไฮต์ ความร้อนนี้เกิดขึ้นจากการเสียดสีของตัวยานกับโมเลกุลในชั้นบรรยากาศ ฉนวนกันความร้อนของตัวยานได้ถูกออกแบบมาเพื่อทนความร้อนที่อุณหภูมิดังกล่าว และป้องกันตัวยานจากการหักออกจากกัน
บริเวณจมูกของยานถูกปกคลุมด้วยแผ่นสีดำเหล่านี้เพื่อป้องกันบริเวณด้านหน้าของยานจากความร้อนที่สูงเกินกำหนด และยังปกป้องนักบินที่อยู่ในห้องคนขับอีกด้วย
ห้องคนขับของยานอวกาศที่ไม่เคยได้ถูกใช้สำหรับนักบินอวกาศจริง ๆ
Igor Volk ปัจจุบันเป็นนักบินอวกาศที่เกษียณอายุ ผู้ซึ่งจริง ๆ แล้วจะได้เป็นคนแรกที่ได้ขับเจ้ายานอวกาศ Buran นี้
บริเวณส่วนเชื่อมต่อจากห้องคนขับไปยังด้านหลังของยานที่มืดสนิท เพราะหน้าต่างมีติดตั้งอยู่บริเวณห้องคนขับเพียงเท่านั้น
Mirebs ได้เปิดไฟบริเวณภายในของห้องมืดส่วนท้ายยานอวกาศเพื่อถ่ายรูป ซึ่งการออกแบบด้านในนี้นั้นมีหน้าตาเหมือนกันกับภายในของยานอวกาศ NASA เลย
อีกมุมหนึ่งของกลไกด้านในของยานอวกาศ ด้านซ้ายดูเหมือนว่าจะเป็นชั้นสำหรับเก็บอาหารของนักบินอวกาศ
เศษซากอุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ ถูกทิ้งไว้ในห้องนี้
รัฐบาลโซเวียตได้เคยพิจารณาที่จะให้นักวิทยาศาสตร์ด้านการอวกาศแถวหน้าเป็นหัวหน้าของโครงการยานอวกาศ Buran นี้ แต่ในที่สุด การจัดการทั้งหมดของโครงการนี้ตกไปอยู่กับพันเอง Alexander Maksimov ผู้ดูแลอากาศยานฝั่งทหาร และโครงการหัวจรวดรบมิสไซล์
รัสเซียได้ริเริ่มโครงการ Buran นี้ในปี 1974 เพื่อโต้ตอบกับโครงการอวกาศของฝั่ง NASA วัตถุประสงค์หลักของการตอบโต้ครั้งนี้ คือเพื่อการส่งผู้หญิงขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก
อันที่จริง พวกเขาทำสำเร็จก่อนหน้าที่โครงการ Buran จะเริ่มต้นขึ้นถึงสี่ปี ในปี 1984 Svetlana Yevgenyevna Savitskaya ได้เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ออกมานอกยานอวกาศ และท่องอวกาศอย่างสมบูรณ์ และเธอยังเป็นผู้หญิงคนที่สองที่ได้ออกนอกโลกอีกด้วย
ส่วนที่ดูเหมือนจะยังคงอยู่ในสภาพดีของยานก็คือระบบขับเคลื่อนบริเวณด้านหลัง
เครื่องยนต์เหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อพายานอวกาศขึ้นสู่ชั้นอวกาศ แต่มันก็ยังไม่ทรงพลังพอที่จะพายานอวกาศเหล่านี้ขึ้นสู่อวกาศ
ในบล็อกของ Mirebs เขาตั้งคำถามว่า “ทำไมถึงมีการลงทุนมากมายหลายล้านกับการสำรวจอวกาศ ในเมื่อมันไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมากับอนาคตอันใกล้เลย?” ซึ่งภาพถ่ายส่วนมากของ Mirebs นั้นแสดงให้เห็นถึงการถดถอยทางอุตสาหกรรมของรัสเซียภายหลังการล่มสลายของของสหภาพโซเวียตในปี 1991
อยู่ดีๆโครงการที่ลงทุนมหาศาลขนาดนี้ก็ถูกล้มเลิกไปต้องมีอะไรแอบแฝงอยู่แน่นอน >_<
วันนี้ขอลากันไปเพียงเท่านี้ก่อน แล้วกับมาพบกับวาไรตี้ดีๆอัพเดททุกวันกับ Scholarship.in.th กันนะครับ
ที่มา: postjung
ขอยคุณภาพประกอบจาก : Ralph Mirebs