ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจมากแขนงหนึ่ง เนื่องจากทำให้เราได้รู้ว่าคนสมัยก่อนเป็นอย่างไร หรือสิ่งต่างๆ มีที่มาที่ไปอย่างไร
ซึ่งคราวนี้ Scholarship.in.th ก็ได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านราชวงศ์ของจีนฉบับย่อมาฝากจ้า!
โดยปกติแล้ว หลังจากที่สิ้นราชวงศ์เก่า ฮ่องเต้ราชวงศ์ใหม่มักจะใช้วิธีการลดฐานันดรของฮ่องเต้องค์เดิมแทนที่จะประหัตประหารกัน ซึ่งเท่าที่ทราบก็มี จากองค์สูงสุดลดลงมาเป็น ‘อ๋อง’ (เจ้าชั้นรอง) อย่างต่ำสุดก็เป็น ‘โหว’ (พระยา)
เช่นเมื่อตอนโจผีโค่นล้มราชวงศ์ฮั่น ก็ลดพระยศเหี้ยนเต้ลงเป็น ‘กง’ (เจ้าพระยา) และสืบทอดเชื้อสายพระวงศ์ฮั่นมาอีก 75 ปี ก่อนที่เชื้อพระวงศ์จะถูกกำจัดจนหมดสิ้น หรือการที่พระเจ้าซุนโฮ แห่งง่อก๊ก ถูกปราบโดยพระเจ้าสุมาเอี๋ยน ก็ถูกลดพระยศลงมาเป็นแค่ ‘โหว’ (พระยา)
(พระเจ้าซ่งไท่จู่ จ้าวควงอิ้น วาดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1000)
ราชวงศ์ถัดไปหลังจากนั้นก็ยังคงใช้วิธีเดียวกัน คือลดลำดับชั้นฐานันดรโดยไม่ฆ่า ซึ่งหากไม่ตายก็จำต้องอยู่อย่างอัปยศ บางคนถึงกับได้รับราชทินนามที่เป็นการเหยียดหยามอีกต่างหาก
เช่น หลังจากที่พระเจ้าเฉินโห่วจู่ แห่งราชวงศ์เฉิน ถูกราชวงศ์สุยล้มอำนาจ ก็ได้รับการไว้ชีวิตและเลี้ยงดูอย่างดีในฐานะเจ้าพระยา ทว่าหลังสิ้นพระชนม์กลับถูก พระเจ้าสุยหยางตี้ มอบราชทินนามให้ว่า ‘หยางกง’ (พระเจ้าเหลาะแหละ) ซึ่งภายหลังจากที่สุยหยางตี้ถูกราชวงศ์ถังล้มอำนาจ ก็ถูกคนรุ่นหลังเรียกขานด้วยพระนามเดียวกัน
แม้จะมีการไว้ชีวิตฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ก่อน แต่ภายหลังก็มักมีการจัดฉากให้เป็นการฆ่าตัวตายอยู่ดี เนื่องจากหากว่าฆ่าเสียแต่ทีแรกจะเป็นการทำให้ภาพลักษณ์ของฮ่องเต้ผู้ทรงธรรมเสื่อมเสีย
ยกตัวอย่างเช่นกรณีของ พระเจ้าถังอายตี้ ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถัง ซึ่งถูกละเว้นชีวิตและลดพระยศลงมาเป็นเจ้าอยู่ช่วงหนึ่ง แต่ภายหลังกลับถูกลอบวางยาพิษ และได้รับพระนามว่า “เจ้าน่าสมเพช”
สำหรับคนสมัยก่อนก็คงจะเป็นเรื่องธรรมดาล่ะเนอะที่เมื่อต้องการจะโค่นบัลลังก์กันก็มักตามมาด้วยการนองเลือดไม่ก็เรื่องราวอันเสื่อมเสีย เฮ้อออ…
ที่มา: Clipmass