ผู้คนมักถูกปลูกฝังว่าความเครียดหรือการวิตกกังวลกับอะไรมากๆ เป็นสิ่งที่เลวร้าย ซึ่งเมื่อหลายคนรู้ดังนี้ก็พยายามอย่างยิ่งที่จะขจัดความเครียดให้หมดไป จนบางครั้งถึงกับเกิดความเป็นความเครียดเพราะต้องการกำจัดความเครียดขึ้นมา!
ซึ่งมีการวิจัยพบแล้วว่า บางครั้งความเครียดอาจเป็นการบ่งบอกว่าเราเป็นคนฉลาดก็ได้นะ! ซึ่งเหตุผลสนับสนุนต่างก็เป็นการอ้างอิงจากทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ ดังนี้
1. ข้อสันนิษฐานทางประสาทวิทยา
ผู้ที่มีความเครียดสูงมักจะมีพื้นที่สมองสีขาว (White matter) มากกว่าปกติ และเนื่องจากโดยปกติเนื้อสมองสีขาวจะเป็นเหมือนกับทางผ่านในการเชื่อมต่อส่วนต่างๆ ของสมอง ซึ่งหากพื้นที่ดังกล่าวมีขนาดใหญ่มากเท่าไหร่ การเชื่อมต่อยิ่งเป็นไปได้รวดเร็วเท่านั้น ส่งผลให้เกิดการตอบสนองที่รวดเร็วกว่าปกติ
2. ข้อสันนิษฐานทางจิตวิทยา
การที่ผู้คนใช้เวลาไปกับการคิดมาก เช่นคิดหาสาเหตุของความผิดพลาดบางอย่างอย่างไม่ยอมเลิกรา อาจทำให้พวกเขาเข้าใจสภาพการณ์ต่างๆ รวมถึงตัวผู้คนรอบตัวได้ดีขึ้น
3. ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
จากทฤษฎีวิวัฒนาการ “Survival of the Fittest” ของ Charles Darwin ที่เสนอว่ามีเพียงผู้ที่แข็งแกร่งเท่านั้นที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ผู้ที่มีความกังวลสูงมักจะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ผู้รอดชีวิต” เนื่องจากการคิดมากหรือวิตกกังวลนั้นเป็นเหมือนกับการเตรียมตัวพร้อมรับสภาพที่ย่ำแย่ร้าจกาจอยู่เสมอ ทำให้มีแนวโน้มในการผ่านปัญหาต่างๆ ไปได้ง่าย
ทั้งสามข้อนี้เป็นเครื่องบ่งบอกว่า บางครั้งความเครียดหรือความวิตกกังวลก็เป็นเพียงภาพสะท้อนความฉลาดของคนเราเท่านั้น
แต่ก็อย่าลืมว่า ความเครียดไม่ใช่การส่งเสริมความฉลาดแต่อย่างใดนะจ๊ะ แถมถ้าปริมาณความเครียดสูงก็ยิ่งนำไปสู่ปัญหามากมายอีกต่างหาก ดังนั้นก็ควรเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายไว้บ้างดีกว่าเนอะ
ที่มา: Lifehack