มหาวิทยาลัยในประเทศไทยต่างก็มีประเพณี กิจกรรมต่างๆ ที่เตรียมเอาไว้รับน้องปี 1 กันทั้งสิ้น ทั้งเป็นกิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ รับน้องหอ ซึ่งก็เป็นกิจกรรมธรรมดาที่ทุกมหาวิทยาลัยจัดขึ้น แต่ก็มีมหาวิทยาลัยที่มีการจัดกิจกรรมขึ้นมาเหมือนกัน เพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องนั่นเอง… แล้วถ้าเป็นมหาวิทยาลัยในต่างประเทศล่ะ น้องๆ คิดว่า เขาจะมีประเพณี กิจกรรมรับน้องเหมือนกับเรามั่งหรือเปล่า? วันนี้พี่เลยขอนำเสนอมหาวิทยาลัยที่มีประเพณี กิจกรรมแปลกๆ มาให้ดูกัน และจะมีความน่าสนใจขนาดไหนต้องมาดูด้วยตัวเองเลย
1. มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University)
มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน ในสหรัฐอเมริกา มีรั้วคอนกรีตต่ำๆ ใจกลางมหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดให้นักเรียนสามารถเข้ามาวาดรูปในระหว่างเที่ยงคืนยันเที่ยงวัน โดยให้ใช้เพียงพู่กันเท่านั้น (ลูกกลิ้งและสเปรย์ไม่ได้รับอนุญาต) โดยมีการบันทึกสถิติโลกในปี 1993 จาก the Guinness Book of World Records ว่าเป็นวัตถุ (กำแพง) ที่มีการเพ้นมากที่สุดในโลก “the most painted object in the world” โดยภายใต้ชั้นสีหนาๆ ถูกแทนที่ โดยการเพ้นรุ่นต่อรุ่นจนถึงปัจจุบัน บ่อยครั้งที่จะพบว่า มีการตั้งแคมป์ของนักเรียนเพื่อปกป้องรูปวาดของตนนานเป็นสัปดาห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานศิลปะมันจะถูกการทาสีมากกว่า โดยมีนักศึกษาคนหนึ่งทำเรื่องโรแมนติกที่มีชื่อเสียงโดยการเพ้นรั้วสีเพื่อขอแต่งงานนั่นเองจ้า ^^
2. มหาวิทยาลัยชิคาโก้ (University of Chicago)
ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก้ จะมีการจัดงานแสดงผลงานของนักศึกษาในชื่อ “Scavenger Hunt” เป็นประจำทุกปี และที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยทีมงานของนักศึกษาจะมีการกำหนดขึ้นถึง 4 วัน ภายในงานมีการแปะใบหน้าของศึกษาไว้ที่ Millenium Park การโชว์เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของสองศึกษาฟิสิกส์ที่ประสบความสำเร็จ โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่การสร้างเครื่องปฏิกรณ์พลูโตเนียมที่ผลิตขึ้นภายในมหาวิทยาลัยนั่นเอง
3. มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford)
ในฐานะที่เป็น มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุด และมีประชากรกว่า 20,000 คน กระจายตัวตาม 30 วิทยาลัยปกครองตนเอง อย่างอ๊อกซฟอร์ด มีประเพณีอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการหลายกิจกรรม แต่กิจกรรมที่แปลกประหลาดที่สุด คือ พิธีของนักศึกษาใน Merton College ก่อนชั่วโมงของวันอาทิตย์สุดท้ายในเดือนตุลาคม โดยการเดินดื่มไปในบริเวณรอบๆ the Fellows’ Quad โดย มีวัตถุประสงค์ในการเฉลิมฉลองเวลาต่อเนื่องเปลี่ยนผ่าน “Merton Time Ceremony” ของช่วงเวลาพักร้อนของอังกฤษ (British Summer Time) ไปเป็น Greenwich Meantime
อีกหนึ่งประเพณีแปลกของที่นี้คือ “trashed” ซึ่งเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นหลังการสอบเสร็จ โดยที่พวกเขาจะต้องปาแป้ง, วิปครีม, เส้นสปาเกตตี้ และฉีดสายรุ้งไปใส่กันอย่างสนุกสนาน คล้ายกับการเฉลิมฉลองให้กับนักศึกษาหลังสอบเสร็จจ้า
4. มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ (University of St Andrews)
มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ ในสกอตแลนด์ จะมีประเพณีกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้องที่เรียกว่า “Raisin Weekend” จัดขึ้นในวันหยุดสุดสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยการขว้างปาถั่วและโฟมไปที่น้องใหม่ของมหาวิทยาลัย คล้ายกับประเพณีรับน้องในบ้านเรา ตามประเพณีที่ก่อนหน้านี้จะใช้ลูกเกดตากแห้ง หรือที่เรียกว่า “ลูกเกด” เป็นอุปกรณ์ ที่นักศึกษาปี 1 จะมอบให้รุ่นพี่เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ แต่ยุคนี้ใช้โฟมแทน ก็เลยกลายเป็นการเอาโฟมโปะกันและกันเป็นที่สนุกสนาน ไม่มีลูกเกดอย่างในอดีต แต่ก็ยังคงเรียกชื่องานนี้ว่า Raisin Weekend เหมือนเดิม
5. มหาวิทยาลัยมาคาเลสเตอร์ (Macalester College)
เป็นวิทยาลัยเล็กๆ ในเซนต์พอล รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ณ ที่แห่งนี้มีระฆังเก่าแก่อยู่ใบหนึ่ง ที่สร้างไว้เพื่ออนุสรณ์มีชื่อเรียกว่า “Memorial Bell” และยังมีประเพณีปฎิบัติสืบต่อกันมาสำหรับนักศึกษาในวิทยาลัยแห่งนี้ว่า “ให้ขึ้นมาตีระฆังเมื่อคุณสูญเสียความบริสุทธิ์ครั้งแรก (ในวิทยาลัย)” นั่นคือ เมื่อใดก็ตามที่มีเสียงระฆังดังขึ้น เป็นอันรู้กันว่ามีการฟีชเชอริ่งกันเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใกล้ไม่ไกลก็ในมหาวิทยาลัยนี่แหละ เหล่าบรรดานักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ในหอพักก็จะออกมายืนที่หน้าต่างพร้อมทั้งพากันปรบมือประหนึ่งว่าร่วมแสดงความยินดีกับการเสียความบริสุทธิ์ครั้งนี้ด้วย
และสำหรับผู้ที่สูญเสียความบริสุทธิ์มาแล้ว ก็สามารถเข้าร่วมประเพณีการตีระฆังครั้งแรกนี้ได้เช่นกัน ถ้าตีแล้วก็จะถือว่าเซ็กซ์ที่เคยผ่านมาทั้งหมดนั้นเป็นโมฆะ! โดยเป้าหมายและความเชื่อของการตีระฆังอนุสรณ์ของวิทยาลัยมาคาเลสเตอร์แห่งนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งการเฉลิมฉลอง สร้างเสียงหัวเราะ เสียงปรบมือ ร่วมแสดงความยินดีกับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไปอีกขั้น อีกหนึ่งการเรียนรู้ชีวิตที่เกิดขึ้นในวิทยาลัยแห่งนี้
6. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University)
ประเพณีและความเชื่อของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่เรียกว่า “The Primal Scream” คือ ในตอนเที่ยงคืนสุดท้ายก่อนการสอบปลายภาค จะมีนักศึกษาจำนวนมากลงมาวิ่งรอบ “Harvard Yard” ลานสนามหญ้าที่ไม่กว้างนัก สถานที่ที่สำคัญมากของมหาวิทยาลัย ที่ล้อมรอบไปด้วยหอพักนักศึกษา ห้องสมุด และรูปปั้นของ “John Havard” ซึ่งมีความเชื่ออีกว่า ถ้าใครได้จับเท้าของรูปปั้น แล้วจะมีโอกาสได้เรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในอนาคต
ที่ลานสนาม Harvard Yard ทุกปี คืนก่อนการสอบปลายภาค ตอนเที่ยงคืนจะมีบรรดานักศึกษาลงมาวิ่งรอบสนามแห่งนี้พร้อมกับกรีดร้องตะโกน แบบเปลือยกายร่อนจ้อน บางคนสวมแค่เสื้อคลุม หรือหมวก ปิดบังใบหน้าไว้เพียงเท่านั้น เพราะเชื่อว่าการวิ่งเปลือยเปล่าแบบนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ มีประสิทธิภาพในการศึกษาภาคต่อไป และที่สำคัญสอบผ่านแน่นอน
7. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University)
ประเพณีรับน้องของมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังของสหรัฐอเมริกา อย่างมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ก็มีประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นก็คือ “Full Moon On The Quad” ในคืนพระจันทร์เต็กดวงครั้งแรกของปี จะมีการเฉลิมฉลองคืนวันพระจันทร์เต็มดวงที่ลานของมหาวิทยาลัย เพื่อให้น้องปี 1 ได้กลายเป็นคนสแตนฟอร์ดอย่างเต็มตัว ด้วยการจูบกับรุ่นพี่ที่อาวุโสกว่า (ใครก็ได้) ภายในค่ำคืนแห่งนี้ จนกลายเป็นเทศกาลประจำมหาวิทยาลัย มีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนานทุกปี
ประเพณี Full Moon On The Quad (FMOTQ) เริ่มปรากฎขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1900s มีตำนานเล่าว่า “พี่ชาย (หมายถึงตัวแทน senior boys) ต้องการที่จะมอบน้องสาว (ตัวแทนของน้องสาวคือ freshman girls) ให้กับดอกไม้ และก่อนที่จะให้พวกเขาไปก็ได้จุมพิตไปที่แก้ม เสมือนเป็นการมอบความกล้าหาญให้กับน้องๆ ในการดำเนินชีวิตต่อไปในฟาร์มดอกไม้” และหลายปีต่อมาประเพณี FMOTQ ก็ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยมาจนถึงปัจจุบัน
8. สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology : MIT)
ที่ Massachusetts Institute of Technology มีประวัติของนักศึกษาอัจฉริยะที่ชอบทำตัวแปลกๆ โดยการแยกตัวออกห่างจากเพื่อนนักศึกษา และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยก็มีความประหลาดใจกับพฤติกรรมดังกล่าว มันถูกเรียกว่ากิจกรรม “hacks” ซึ่งจะพบเห็นการกระทำมากที่สุดในเวลากลางคืนในสถานที่ต่างๆ ตำนานเล่าว่า hackers ที่น่าจดจำมีกิจกรรมแปลกๆ คือ การขับรถเชฟโลเรตและการโชว์ทาสีรถตำรวจลาดตระเวน ด้านบนของอาคาร Great Dome building ในมหาวิทยาลัย
9. มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University)
หลายคนคงจะเคยได้ยินชื่อภาพยนตร์สุดสยองอย่าง “The Exorcist” กันมาบ้าง กับภาพความสยองในภาพยนตร์ แต่น้อยคนนักจะทราบว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำกันที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์นี่เองจ้า ดังนั้นในวันฮาโลวีนของทุกปีจะมีการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้บริเวณสนามหญ้าภายในมหาวิทยาลัย หลังจากภาพยนตร์จบจะเป็นเวลาช่วงเที่ยงคืน เหล่าบรรดานักศึกษาก็จะยังไม่ไปไหน แต่จะพากันไปยังสุสานใกล้กับตึก “Healy Hall” ของมหาวิทยาลัย เพื่อทำการ “หอน” ที่เรียกว่า “Healy Howl” ร่วมกัน นึกไม่ออกเลยว่าภาพบรรยากาศจริงจะสยองชวนขนลุกแค่ไหน!!
10. มหาวิทยาลัยรีด (Reed College)
ประเพณี “Renn Fayre” เป็นประเพณีการเฉลิมฉลองของเหล่าบรรดานักศึกษาในวันปิดภาคเรียน ปัจจุบัน Renn Fayre ได้กลายเป็นประเพณีประจำมหาวิทยาลัยในเทศกาลสิ้นปี หรือวันสุดท้ายของการเรียน สำหรับนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองด้วยการเอาวิทยานิพนธ์ของพวกเขาที่ทำเสร็จแล้ว นำมาเผา และร่วมกันเดินแห่ไปรอบวิทยาลัย มีทั้งอาหาร ดนตรี การแสดงศิลปะ กระดานลื่นยักษ์ ลานสเก๊ตบอร์ด และขบวนพาเรดเปลือยของนักศึกษาที่เพ้นท์ร่างกายด้วยสีน้ำเงิน ครึกครืน สนุกกันไปทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องเลยทีเดียว
11. มหาวิทยาลัยวาสซาร์ (Vassar College)
จะมีประเพณีที่จะต้องปฏิบัติสืบต่อกันมาทุกปีที่เรียกว่า “Senior Serenading” เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเหล่าบรรดารุ่นน้องปี 1 และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของรุ่นพี่และรุ่นน้อง โดยประเพณีนี้จะให้รุ่นพี่เดินไปตามหอพักต่างๆ ของรุ่นน้องปีหนึ่ง เพื่อให้น้องๆ ออกมาร้องเพลงให้พวกเขาฟัง และแม้ว่าเพลงที่ร้องออกมานั้นจะไพเราะสักเพียงใด แต่ก็ต้องโดน…อยู่ดี เพราะในที่สุดแล้วตอนจบน้องๆ ก็จะต้องพบกับพายุอาหารนานาชนิดที่รุ่นพี่ทั้งหลายกระหนำปาเข้ามา ทั้งอาหาร ช็อคโกแลต น้ำเชื่อม รวมถึงลูกโป่งที่ภายในบรรจุซอสมะเขือเทศ สภาพรุ่นน้องแต่ละคนเละเทะ แต่ก็มีความสุข สร้างเสียงหัวเราะและความสนุกสนานให้กับรุ่นพี่และรุ่นน้องได้เป็นอย่างดี
12. มหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell University)
มหาวิทยาลัยคอร์แนล ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีประเพณีที่รู้จักกันหลายประเพณีด้วยกัน เช่น “Dragon Day” หรือ “วันมังกร” ถือเป็นประเพณีประจำปีของวิทยาลัย จะจัดขึ้นในวันศุกร์ ก่อนที่วิทยาลัยจะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ กลางเดือนมีนาคมของทุกปี จะมีขบวนแห่มังกร (Dragon) ที่สร้างโดยนักศึกษาปีแรกของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และแห่ข้าม Arts Quad ท่ามกลางเสียงตะโกนและการเต้นรำ
ประเพณีวันมังกรนี้ เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1901 โดยเชื่อว่า น่าจะเกิดขึ้นในวันสถาปนาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของวิทยาลัยแห่งนี้ โดยนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้ร่วมกันสร้างมังกรยักษ์ขึ้นมา เป็นตัวแทนและสัญลักษณ์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานของ St Patrick ที่ได้เดินทางโดยการใช้งูเป็นพาหนะที่เกาะไอแลนด์นั่นเอง
13. มหาวิทยาลัยเมอร์เรย์สเตท (Murray State University)
ใจกลางมหาวิทยาลัยเมอร์เรย์สเตท รัฐเคนตั๊กกี้ สหรัฐอเมริกา จะพบต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งเต็มไปด้วยรองเท้าอย่างน้อย 50 คู่ ถูกตอกตรึงไว้กับต้นไม้นั้น แม้ว่ามันจะทำให้ทิวทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยไม่สวยงามนัก แต่ต้นไม้รองเท้านี้กลับมีเรื่องราวเบื้องหลังที่น่าสนใจ แม้จะไม่มีใครทราบว่าประเพณีต้นไม้รองเท้านี้เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยเมอร์เรย์สเตทแห่งนี้ไปแล้ว และได้มีการปฏิบัติต่อเนื่องกันมาทุกปี
เรื่องราวอันน่าประทับใจของต้นไม้รองเท้านี้เริ่มต้นมาจากว่า มีนักศึกษาสองคนได้พบรักและได้แต่งงานกัน ณ ที่แห่งนี้ ถ้าอยากโชคดีเหมือนพวกเขาให้ตอกรองเท้าไว้ที่ต้นไม้ต้นนี้ และนับตั้งแต่นั้นมาก็มักจะมีเหล่าบรรดาคู่รักทั้งหลายนำรองเท้ามาตอกตรึงไว้กับต้นไม้ มักจะเขียนวันครบรอบของพวกเขาลงไปในรองเท้าด้วย เมื่อเวลาผ่านไปคู่รักที่ประสบความสำเร็จแต่งงานสร้างครอบครัวแล้ว ก็มักจะย้อนกลับมาเพื่อตอกตรึงรองเท้าของบรรดาลูกๆ ของเขาไว้กับต้นไม้นี้เช่นกัน เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดีๆ ที่ทำให้เรายิ้มได้
14. มหาวิทยาลัยแบรนดีส (Brandeis University)
ที่มหาวิทยาลัยแบรนดีส สหรัฐอเมริกา ได้รับรางวัลชมเชยจากนิตยสารเพลย์บอย จากการจัดอันดับงานแสดงมหาวิทยาลัยประจำปี ในชุดการแสดงที่ชื่อว่า “Liquid Latex” ซึ่งถือเป็นงานประเพณีที่จัดแสดงทุกปีของมหาวิทยาลัยแบรนดีส โดยนักศึกษาจะออกมาทำแสดงโชว์ด้วยร่างกายเปลือยเปล่า มีเพียงการเพ้นท์สีตามร่างกายเท่านั้น คล้ายกับภาพยนตร์เรื่องทิมเบอร์ตัน ที่ร่างกายปกคลุมด้วยสีเพ้นท์น้ำยางเหลวข้น และเต้นรำไปตามจังหวะเพลง ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดและปฏิบัติมาเป็นเวลา 13 ปีแล้ว อีกทั้งยังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในหมู่นักศึกษาของมหาวิทยาลัย
15. มหาวิทยาลัยเยล (Yale University)
ที่มหาวิทยาลัยเยล ในพิธีสำเร็จการศึกษาทุกปีจะมีพิธีสูบบุหรี่ และบดยาสูบลงที่ใต้เท้าของตนเอง ซึ่งแสดงถึงชีวิตการศึกษาในมหาวิทยาลัยได้มาถึงจุดสิ้นสุดลงแล้ว
16. มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University)
มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน มี ประเพณีชุมนุมรอบกองไฟเพียงมหาวิทยาลัยเดียว ซึ่งถ้าทีมอเมริกันฟุตบอลของมหาวิทยาลัยเอาชนะฮาร์วาร์ดและเยลได้ในฤดูกาล แข่งขันเดียวกัน ครั้งสุดท้ายที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้จัดพิธีนี้คือในปี 2006 ซึ่งห่างหายมาเป็นเวลากว่า 12 ปี
แต่ละที่นี่สุดติ่ง สุดขั้ว สุดแสนจะแตกต่างกับประเทศไทยเราจริงๆเลยเนอะ แต่ถ้าเขามารู้การรับน้องแบบฮาร์ดคอร์ของบ้านเราบางที่ก็คงช็อคไปเหมือนกันแหละ แต่เราเห็นเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว หุหุ
source: campus-star