ความจน (Poverty ) หรือมีไม่เท่าคนอื่น (Lacks of opportunity) สำหรับคนที่คิด (อะไรๆ) สร้างสรรค์ (Creative – คริ เอ ดิฟ) มักมองเป็นเรื่องปกติธรรมดาและพยายามใช้เวลาพัฒนาตนเอง พัฒนาฝีมือทักษะ และบริหารเวลาในชีวิตเพื่อจะได้มีมากขึ้น แต่สำหรับคนแบบ ‘สมงสมอง ไปหมด’ กลับมองว่า เป็นโชคร้าย เป็นความอยุติธรรมที่คน (เก่งๆ ดีๆ ) อย่างเขาไม่ควรได้รับ กลับคอยจ้องริษยา (ละครทีวีไทย) คนอื่นที่เขามีมากกว่าด้วยอคติแบบ Sour Grapes (ซาวเออร์ เกรปส)
บางครั้งอาการอิจฉาริษยา (Jealousy – เจลัสสิ) ของคนไม่รวยหรือมีไม่เท่าคนอื่น (ไม่ใช่แค่เงินทอง แต่รวมถึงความสุข ความรัก ความสัมพันธ์ที่ดี) ก็แสดงออกมา (เพื่อลดความรู้สึกแย่ๆ ต่อตนเอง) โดยการนินทาว่าร้าย (Gossip) และแม้แต่แสดงอาการองุ่นเปรี้ยว (Sour grapes) หรือที่ในตำราจิตวิทยาไทยเรียกว่า องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน
โดยคนในกลุ่มอาการขี้อิจฉานี้ นอกจากนินทาว่าร้ายแล้วก็มักปลอบโยนกันและกันว่าคนที่ดีกว่าตนเองนั้นเล่าก็ไม่ได้ดีเท่าไหร่นักซึ่งเห็นได้ชัดว่า เป็นการแสดงออกแบบองุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน (Sour grapes)
สำนวนองุ่นเปรี้ยวนี้มาจากนิทานหมาป่าบอกว่าผลองุ่นมีรสเปรี้ยว เพราะตัวมันกินไม่ได้ทั้งที่ความจริงผลองุ่นมีรสหวาน เมื่อมาอยู่ในบริบทไทยจึงต้องมีคำว่า มะนาวหวาน เพื่อสื่อถึงคนหลอกตัวเอง (Fool themselves) มะนาวมีรสเปรี้ยวจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีมะนาวรสหวานตามธรรมชาติ
Sour grapes is the action of making something seem less important after finding out they can’t have it.
– อาการองุ่นเปรี้ยวคือ การแสดงออกว่าบางอย่างนั้นสำคัญน้อย (ไม่ได้มีคุณค่า) หลังจากพบว่า ตนไม่มีทางได้/มี/ครอบครอง/เป็นเจ้าของ (ไม่มีโอกาสอย่างเขา)
He said that staff working here are all the same. “If they were rich, they would quit the job and stay at home. It was clearly sour grapes.
– เขาบอกว่าพนักงานทุกคนที่นี่ก็เหมือนๆ กันนั่นละ ถ้ารวยแล้วคงไม่ต้องมานั่งทำงาน นอนอยู่บ้านดีกว่า (ที่มาทำงานเพราะไม่รวย/จนเหมือนคนพูด) นี่เป็นอาการองุ่นเปรี้ยวอย่างชัดเจน หรืออาจจะเรียกว่าอาการเพ้อเจ้อหลอกตัวเองไปเท่านั้น (ถ้าตัวเองจนแล้วต้องฝืนนั่งทำงานแบบจน เครียด กินเหล้า ก็ไม่ได้หมายความว่าพนักงานคนอื่นที่นั่งทำงานอยู่ต้องจนเหมือนตัวเองสักหน่อย คนที่เขารวยน่ะนะ ก็เพราะเขาทำงานอย่างฉลาด (Smart work) + รู้จักใช้และสร้างโอกาส รู้จักใช้เงินและใช้เวลา ไม่ใช่โชคดีอย่างเดียว
เรื่องนี้อาจสรุปได้ว่า คนขี้อิจฉาชอบนินทาชาวบ้าน เป็นคนไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในชีวิต (อยู่ที่ไหนก็ไม่เจริญ แถมฉุดรั้งการก้าวไปข้างหน้าขององค์กรด้วย) เพราะปิดหนทางพัฒนาตนเอง เนื่องจากมักมีตรรกะในชีวิตแบบ Sour grapes ไงล่ะ
source: MThai