ความฝันอย่างหนึ่งของเด็กไทยก็คือการได้มีโอกาสได้ไปต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้มีโอกาสได้ไปฝึกงานในต่างประเทศนั้น อาจเรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์อันล้ำค่ามาก เพราะมีคนจำนวนไม่มากที่มีโอกาสในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย
แถมเวลาเรียนจบและไปสมัครทำงานที่ไหน หากในเรซูเม่ของเรานั้นระบุว่าผ่านการฝึกงานในต่างประเทศมา เครดิตของผู้สมัครจะดูโดดเด่นกว่าผู้สมัครรายอื่นขึ้นมาทันที พร้อมทั้งยังสร้างโอกาสในการที่บริษัทนั้นจะรับคุณเข้าทำงานมีสูงมากกว่าเดิมด้วย อย่าคิดว่าตัวเองไม่เก่ง
ลองทำตาม 7 เคล็ดลับนี้ดู คนที่ได้ไปฝึกงานต่างประเทศคนต่อไปอาจเป็นคุณ
1. มั่นใจในตัวเอง
สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องความมั่นใจในตัวเอง จริงๆหลายคนมีความฝันอยากออกไปฝึกงานในต่างประเทศ แต่กังวลกับภาษาของตัวเองว่าจะสามารถใช้งานกับชาวต่างประเทศได้จริงหรือไม่ รวมถึงกังวลว่าภาษาของตัวเองไม่สละสลวย แกรมม่าผิด เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างมาก อันที่จริงสิ่งที่ชาวต่างชาติต้องการจากคุณมีอยู่สองสิ่งที่สำคัญคือ ภาษาในระดับที่พอสื่อสารแล้วเข้าใจ คุยกันรู้เรื่องระดับหนึ่ง เรื่องแกรมม่าซึ่งเป็นจุดอ่อนของคนไทย อาจต้องใช้ระยะเวลาสักพัก หลังจากปรับตัวและค่อยๆเรียนรู้ จะมีความเข้าใจในแกรมม่าอัตโนมัติ
อีกส่วนหนึ่งที่ผู้ฝึกงานทุกคนต้องการจากคุณคือ ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่คุณมาฝึกงาน อย่างน้อยก็ควรมีความรู้พื้นฐานที่จะมารองรับการทำงาน ดังนั้นคุณต้องมั่นใจในตัวเองว่าต้องทำได้ และไม่ต้องแคร์หรือสนใจภาษาที่ยังมีความผิดพลาด แต่ต้องหมั่นพัฒนาตัวเองตลอดเวลาไปพร้อมๆกัน
2. รู้จักตัวเอง พร้อมหาสถานที่ที่เหมาะสมกับความสามารถที่มีอยู่
ถัดมาก็คือการรู้จักตัวเองก่อนว่า ต้องการทำงานแบบไหนในอนาคต ก่อนที่จะเลือกฝึกงานซักที่ โดยคนส่วนมากเข้าใจผิดว่าการฝึกงาน คือการฝึกในสาขาที่เรียนเท่านั้น แต่อันที่จริงการฝึกงานควรเป็นการฝึกงานตามที่ตัวเองสนใจ ถนัด หรือเล็งเห็นว่าจะประกอบอาชีพนี้ในอนาคต การฝึกงานจะช่วยให้ได้เรียนรู้ ระบบการทำงานว่าตรงกับสิ่งที่ตนเองคาดหวังหรือไม่ แต่บางคนที่ยังไม่แน่ใจอนาคตตัวเองว่าควรทำงานตรงกับสิ่งที่เรียนหรือไม่ การฝึกงานก็ช่วยให้ตัดสินใจส่วนนี้ได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
จากนั้นก็หาข้อมูลของสถานที่ที่ต้องการฝึกงาน โดยการเสิร์ชหาข้อมูลทั้งเก่าและใหม่ บางแห่งอาจเปิดรับสมัครนักศึกษาฝึกงานในปีนี้ บางแห่งอาจไม่ได้เปิดรับ แต่ก็ไม่เสียหายที่จะจดข้อมูลของฝ่ายบุคคล (HR) ไว้ เพราะในหลายๆประเทศ แม้จะไม่เปิดฝึกงานรับตามช่องทางปกติ แต่อาจจะรับคุณเข้าฝึกงานเนื่องจากเห็นความตั้งใจของคุณก็เป็นได้
3. เตรียม Resume ให้ดี
เรซูเม่เรียกว่าเป็นตัวชี้วัดว่าผู้รับสมัครในต่างประเทศจะโยนชื่อคุณทิ้งรึเปล่า เพราะเรซูเม่นั้นคือการบ่งบอกถึงตัวตนของผู้สมัคร แน่นอนว่าผู้รับสมัครไม่รู้จักตัวตนคุณ ดังนั้นพวกเค้าเหล่านี้จะอาศัยข้อมูลจากเรซูเม่มาเป็นตัวตัดสินเบื้องต้นว่าผู้สมัครมีคุณสมบัติเพียงพอรึเปล่า
สำหรับ Resume ที่บริษัทต่างชาติต้องการนั้น อาจไม่เหมือนบริษัทของไทยที่รวบรวมผลงานประกาศนียบัตรทุกกิจกรรมที่เคยร่วมหนาเป็นแฟ้ม แต่ต้องการเพียงกระดาษ 1-3 แผ่นที่มีการจัดวางหน้าอย่างมืออาชีพ สะอาดสะอ้าน มีข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นอย่างครบถ้วน เช่น ประวัติส่วนตัว ที่อยู่ การติดต่อต่างๆรวมทั้งมีรายละเอียดที่แสดงถึงตัวตนคุณอย่างชัดเจน เช่นหากต้องการสมัครในบริษัทที่มีความครีเอทีฟ เรซูเม่ก็อาจเป็นเครื่องมือหนึ่งที่บ่งบอกถึงระดับความคิดสร้างสรรค์ในตัวคุณเอง
นอกจากนี้บริษัทต่างชาติมักมองถึงประสบการณ์ก่อนหน้าที่คุณเคยทำมาในเรซูเม่ เช่น กิจกรรม หรือรางวัลต่างๆที่เคยได้รับ เพราะสิ่งเหล่านี้จะบ่งบอกถึงตัวตนของคุณว่าเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ต้องการฝึกงานหรือไม่ เช่น หากต้องการฝึกงานด้านดิจิตอล มาร์เก็ตติ้งกับ Lazada อาจลองทำความคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มต่างที่เกี่ยวข้องกับ Lazada เช่น เว็บนี้ พอเข้าใจอะไรเพิ่มมากขึ้นก็สามารถนำไปเขียนเป็นประสบการณ์ของตัวเองลงเรซูเม่ได้ทันที
4. หว่านแหใบสมัครให้เยอะที่สุด
ขั้นตอนนี้ก็เหมือนการสมัครงาน หลังจากคัดสรรเนื้อหางานที่น่าสนใจแล้วก็ถึงเวลาส่งเอกสารไปหาบริษัท แต่ไม่ใช่ว่าทุกบริษัทจะตอบรับเรา ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือการพยายามส่งใบสมัครไปให้ได้เยอะแห่งที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้งานให้ได้มากขึ้น และไม่ต้องกังวลว่าถ้ามีบริษัทติดต่อกลับมาเยอะจะทำอย่างไร เพราะกระบวนการคัดเลือกกินระยะเวลานาน คุณยังต้องผ่านขั้นตอนอีกมากมายกว่าจะไปจนถึงขั้นที่บริษัทเหล่านี้จะทำการตอบรับคุณ
5.ฝึกสัมภาษณ์ ตอบคำถามเป็นภาษาอังกฤษ
ส่วนใหญ่บริษัทในต่างประเทศจะสัมภาษณ์คุณทางโทรศัพท์ สไกป์ หรือไม่ก็ถามคำถามต่างๆในอีเมล ดังนั้นสิ่งที่คุณจะต้องฝึกเพื่อรองรับสถานการณ์เหล่านี้ ก็คือการหัดตอบคำถามต่างๆอย่างชาญฉลาด โดยอาจฝึกหัดสัมภาษณ์กับเพื่อนหรือครูอาจารย์เป็นภาษาอังกฤษ หรือพยายามพูดและใช้ภาษาบ่อยๆเพื่อป้องกันความประหม่าเมื่อต้องสัมภาษณ์จริง อีกทั้งยังเป็นการบ่งบอกว่าเรามีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีเพื่อเข้าสู่การสัมภาษณ์ในครั้งนี้ และหากคุณสามารถทำให้ผู้สัมภาษณ์ประทับใจได้ ก็เรียกได้ว่ามีโอกาสได้เข้าไปฝึกงานอย่างเต็มตัวแล้ว
6. ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง
คำว่าซื่อสัตย์ต่อตัวเองนี้ครอบคลุมหลายความหมาย เช่นการไม่กรอกข้อมูลเท็จลงในเรซูเม่ หรือการพยายามทำให้ตัวเองดีขึ้นด้วยการพูดเรื่องราวที่ไม่จริง สิ่งเหล่านี้ผู้สัมภาษณ์จำนวนมาก สามารถจับผิดได้จากสิ่งที่คุณพูด และคุณอาจถูกไล่ต้อนจนมุมได้หากพูดโกหกต่อไปเรื่อยๆนอกจากนี้สิ่งที่ควรคำนึงสำหรับการไปทำงานต่างประเทศคือเรื่องลิขสิทธิ์สินค้า แนะนำให้พยายามหัดใช้ทุกอย่างที่ถูกลิขสิทธิ์จะได้ไม่พลาดเมื่อได้มีโอกาสไปฝึกงาน ยิ่งเดี๋ยวนี้สะดวกสบายเนื่องจากสามารถซื้อโปรแกรมถูกลิขสิทธิ์ราคาประหยัดจากร้านค้าออนไลน์ได้ ซึ่งอาจลองดูตัวอย่างได้ ที่นี่
หลายบริษัทมองว่าการใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จะเป็นคอมพิวเตอร์ตัวเองเป็นพฤติกรรมที่ส่อถึงการโกง โดยเฉพาะบริษัทไอทีหลายแห่งที่ถ้าตรวจสอบพบแล้วอาจถูกส่งตัวกลับเลยก็เป็นได้
7. ใจที่มุ่งมั่นไม่ยอมแพ้
การออกไปฝึกงานต่างประเทศไม่ใช่เรื่องของดวง แต่มาจากความพยายามของตัวเองล้วนๆ แม้บางคนอาจไม่ประสบความสำเร็จในการหาที่ฝึกงานต่างประเทศในช่วงปี2 และปี3 ก็ขอให้มุ่งมั่น พยายามหาต่อโดยย้อนกลับไปที่ข้อ1ใหม่อีกครั้ง เพื่อเข้ารับการฝึกในปีถัดไป โดยที่ผ่านมามีรุ่นพี่จำนวนมากขอฝึกงานตอนปี4 หรือหลังเรียนจบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเลวร้ายแต่อย่างใด เพราะหลายแห่งนั้นถ้าถูกใจนักศึกษาฝึกงานนั้น อาจมอบสัญญาจ้างต่อเพื่อเป็นพนักงานตัวจริงเลยก็ได้ สำคัญที่สุดท้อได้ อย่ายอมแพ้แล้วอนาคตที่สดใสจะมาถึงแน่นอน
คนเราหากไม่เริ่มพัฒนาตัวเองเสียแต่วันนี้ อนาคตที่ดีจะมาได้อย่างไร ฉะนั้นอยากให้เพื่อนๆจงจำไว้ว่าหากวันนี้เราทำไม่ได้ เราต้องไม่ย่อท้อ ไม่ใช่ว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา แต่เราต้องพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับงานเช่นกันนะครับ
ที่มา: eduzones