ประเทศอินเดียนั้นขึ้นชื่อเรื่องการเป็นมหานครที่มีศาสนามากที่สุดในโลก มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ
ระบบอุดมศึกษาในอินเดีย:
ระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาในอินเดียนั้นใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากจีนและสหรัฐฯ ได้รับการยอมรับโดยคณะกรรมาธิการมหาวิทยาลัยแกรนต์ซึ่งถือเป็นหน่วยงานควบคุมหลักของสถาบันอุดมศึกษา
ตั้งแต่ปี 2000 – 2010 อินเดียได้สร้างมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยกว่า 20,000 แห่งที่รองรับนักเรียนกว่า 8 ล้านคนในช่วงเวลานั้น
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการส่งเสริมอย่างมากจากรัฐบาลอินเดียในระดับวิทยาลัย ซึ่งนำไปสู่สถาบันเทคโนโลยีหลายแห่งเช่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดียและสถาบันการจัดการแห่งอินเดีย เพื่อยกมาตรฐานให้ได้รับการยอมรับจากองค์กรการศึกษาทั่วโลก
นอกจากนี้สถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ออลอินเดียในนิวเดลีถือเป็นหนึ่งในศูนย์วิจัยชั้นนำสำหรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์และวิธีการรักษา
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในอินเดียนั้นต้องผ่านการสอบที่เรียกว่า Pre-Med ซึ่งจัดขึ้นทุกปีโดยนักศึกษาเข้าสอบประมาณ 200,000 คน แต่เปิดรับเพียง 2,000 คนเท่านั้น
นักเรียนต่างชาติที่ต้องการเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาในอินเดียจะต้องแสดงหลักฐานการสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาอย่างน้อยเกรด 12 ในประเทศบ้านเกิด
นักเรียนจะต้องสอบเข้าและส่งผลให้กระทรวงการต่างประเทศในกรุงนิวเดลีเพื่อให้ได้รับการพิจารณา โดยจะไม่อนุญาตให้เข้าเรียนโดยตรงในหลักสูตรปริญญาทางการแพทย์ ทันตกรรม และวิศวกรรมโดยไม่คำนึงถึงวุฒิการศึกษาที่ผ่านมาของนักเรียน
อย่างไรก็ตามหลักสูตรปริญญาอื่นๆ อาจไม่มีเงื่อนไขให้นักเรียนต่างชาติทำการสอบเข้า แต่อาจใช้คะแนนสอบเข้าระดับอุดมศึกษาของนักเรียน (เช่น ACT หรือ SAT ที่ให้ไว้ในสหรัฐอเมริกา) เพื่อรับรองนักเรียนที่จะเข้าวิทยาลัยเทคนิคบางแห่ง
นักเรียนที่สนใจจะเข้าเรียนในระดับปริญญาในอินเดียควรทำความเข้าใจว่ามหาวิทยาลัยของรัฐไม่เปิดรับรับนักเรียนที่ไม่ใช่พลเมืองของอินเดีย
ค่าเล่าเรียนในอินเดียแตกต่างกันอย่างมาก เนื่องจากมหาวิทยาลัยของรัฐมีราคาถูกกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนมาก ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล
พลเมืองอินเดียมักมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 100 ดอลลาร์ฯ ต่อปี (ประมาณ 3,200 บาท) เพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยของรัฐ ส่วนค่าธรรมเนียมมหาวิทยาลัยเอกชนอาจมีตั้งแต่ 400 – 25,000 ดอลลาร์ฯ ต่อปี (ประมาณ
12,700 – 795,000 บาท) ขึ้นอยู่กับสถาบันและประเภทของหลักสูตร
นักเรียนต่างชาติที่เข้าเรียนในวิทยาลัยเอกชนมักจะได้รับความนิยมมากกว่านักเรียนชาวอินเดีย ส่วนใหญ่เนื่องจากพวกเขามีความพร้อมทางการเงินในการจ่ายค่าเล่าเรียนมากกว่า
อินเดียไม่มีภาษาราชการ แต่พลเมืองเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศใช้ภาษาฮินดี นอกจากนี้ยังมีภาษาเบงกาลี, เตลูกู, มราฐี, ทมิฬ, อุรดูและคุชราตซึ่งเป็นภาษาอื่นที่นักเรียนอาจพบขณะเรียนที่อินเดีย
ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดของชาวอินเดียจำนวนมากและถือเป็นภาษาที่สอง อินเดียยังมีภาษาต่างๆ มากมายที่ถูกจัดอยู่ในรายชื่อ “ภาษาที่ใกล้สูญพันธุ์” เนื่องจากจำนวนผู้พูดภาษาที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ลดน้อยลงจนกลายเป็นหมู่บ้านที่อยู่โดดเดี่ยวในชนบทอินเดีย
เนื่องจากอินเดียเป็นสถานที่ซึ่งเหมาะสำหรับการศึกษาดนตรี ศาสนา สถาปัตยกรรม และศิลปะ ทั้งยังมีวัฒนธรรมที่หลากหลายที่ผสมผสานระหว่างอารยธรรมดั้งเดิมและความทันสมัย ดังนั้นมันจึงเป็นที่หมายทางการศึกษาที่ดึงดูดนักศึกษาต่างชาติมากมายในแต่ละปี
ที่มา: masterstudies