“จิตวิทยา” กลายเป็นอีกหนึ่งสาขาที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมที่เร่งรีบ เพิ่มความกดดัน ทำให้อัตราความเครียดในผู้คนโดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานเพิ่มสูงขึ้นด้วย
การเรียนด้านจิตวิทยาไม่เพียงแต่เพิ่มทักษะที่เป็นประโยชน์ด้านการทำงานให้กับคุณ แต่ยังช่วยให้สามารถจัดการกับปัญหารอบตัวได้อีกขึ้นอีกด้วย
สำหรับใครที่สนใจสกิลนี้และอยากเพิ่มขีดความสามารถใหม่ๆ เรามีคอร์สเรียนฟรีสุดเจ๋งมาฝากกันค่ะ
1. จิตวิทยาในการทำงานสาธารณสุข
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จำนวนชั่วโมงเรียน : 4 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 18 นาที)
วิชานี้จะเน้นแนวคิดสำคัญสำหรับการทำงานในสายงานสาธารณสุข โดยคุณจะด้เรียนรู้พฤติกรรมการทำงานของนักสาธารณสุข ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกับพฤติกรรมของคนในชุมชน ปัญหาสุขภาพจิตชุมชน ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในชุมชน และสามารถจัดการปัญหาสุขภาพจิตด้วยวิธีการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ
2. สำรวจแนวคิดหลักของจิตวิทยา
พัฒนาโดย : XuetangX
จำนวนชั่วโมงเรียน : 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
สำรวจแนวคิดหลักของนักจิตวิทยาเพื่อไขข้อข้องใจทั้งหลาย อย่าง จิตวิทยาคืออะไร ทำไมนักจิตวิทยาจึงศึกษาสมองด้วย และ นักจิตวิทยาสามารถรักษาภาวะซึมเศร้าได้หรือไม่
หลักสูตรนี้จะบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้คุณสามารถพัฒนาได้ทั้งทักษะด้านภาษาและทักษะใหม่ไปพร้อมๆ กัน
3. จิตวิทยาวัฒนธรรม
พัฒนาโดย : National Institute for Lifelong Education
จำนวนชั่วโมงเรียน : ไม่ระบุ
ศึกษาพื้นฐานทางทฤษฎีและวิทยาศาสตร์ของจิตวิทยาวัฒนธรรม โดยการเตรียมรากฐานอันเป็นวิทยาศาสตร์ของจิตวิทยาสมัยใหม่ โดยจะเน้นถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ นวัตกรรมที่เปลี่ยนชีวิตของเรา และความเข้าใจในตัวเราและวัฒนธรรมของเรา
4. จิตวิทยาบุคลิกภาพและการปรับตัว
พัฒนาโดย : สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
จำนวนชั่วโมงเรียน : 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)
คอร์สนี้จะเน้นการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะของบุคคล ซึ่งมีความสำคัญในแง่การทำความเข้าใจมนุษย์ ทั้งในมิติของการเข้าใจตนเอง นำไปสู่การพัฒนาตนเองทั้งในการดำเนินชีวิตประจำวันและการทำงาน อีกทั้งนำไปสู่การเรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นเพื่อดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคมอีกด้วย
5. จิตวิทยากับชีวิตประจำวัน
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จำนวนชั่วโมงเรียน : 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)
คอร์สเรียนนี้จะอธิบายเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของจิตวิทยา กลุ่มแนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยา รวมถึงจิตวิทยากับการเข้าใจตนเอง เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
6. จิตวิทยาประยุกต์ในการทำงาน เพื่อความสำเร็จ ความสุข และความมั่งคั่ง
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จำนวนชั่วโมงเรียน : 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวิดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที)
ในคอร์สนี้จะครอบคลุมหัวข้อเกี่ยวกับความหลากหลายในที่ทำงาน การยศาสตร์ (Ergonomics) และการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงาน สภาพแวดล้อมที่ทำงานกับสุขภาพจิต และการจัดการทางการเงินสำหรับคนทำงาน ตลอดจนการพัฒนาตนเองในการทำงาน
7. จิตวิทยาพัฒนาการวัยสูงอายุ
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จำนวนชั่วโมงเรียน : 5 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวิดิทัศน์ 2 ชั่วโมง)
คอร์สนี้จะพาคุณไปเรียนรู้การดูแลผู้สูงวัยอย่างไรให้สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างประณีประนอม โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงตามวัย การลดความข้องใจของช่องว่างระหว่างวัย และอื่นๆ
8. จิตวิทยาพัฒนาการวัยรุ่น
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จำนวนชั่วโมงเรียน : 5 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวิดิทัศน์ 2 ชั่วโมง)
เรียนรู้ที่จะเข้าใจพัฒนาการของวัยรุ่น โดยตัวเนื้อหาจะครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตอารมณ์ และการเข้าสังคม เพื่อให้คุณกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยที่พวกเขาสามารถสื่อสารด้วยได้
9. จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน
พัฒนาโดย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จำนวนชั่วโมงเรียน : 8 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 48 นาที)
คอร์สเรียนนี้จะอธิบายถึงความหมาย ความสำคัญ และอิทธิผลของวัฒนธรรมของชาติต่อการทำงานร่วมกันของบุคคลในที่ทำงาน ช่วยให้สามารถสื่อสารและความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมได้ดีมากยิ่งขึ้น
คอร์สเรียนเหล่านี้ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันที่มีชื่อเสียงมากมายทั่วประเทศไทย ให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม Thai MOOC ซึ่งเป็นคลังคอร์สเรียนออนไลน์ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ผู้เรียนสามารถสมัครเรียนได้ง่ายๆ เพียงลงทะเบียนบนเว็บไซต์และเข้าเรียนในคอร์สตามเวลาที่กำหนด ผู้ที่สำเร็จบทเรียนและทำคะแนนได้ตามเกณฑ์ที่วางไว้จะได้รับใบประกาศนียบัตรเพื่อรับรองการผ่านหลักสูตรด้วย
ใครสนใจคอร์สไหนลองเข้าไปดูรายละเอียดได้ตามลิงก์เลยนะคะ :)
One Comment
Comments are closed.
[…] […]