อันที่จริงฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศนั้นก็มีความสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศของโลก และสุขภาพร่างกายของเรา ฝุ่นนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิดคือ
– อนุภาคหลัก: เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 2.5 µm
– อนุภาครอง: เส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 2.5 µm
โดยทั้งสองชนิดนั้นก็มีแหล่งที่มาที่แตกต่างกัน มาทำความรู้จักมันให้มากขึ้นกันเถอะ!
การตรวจจับฝุ่นทำอย่างไร?
ฝุ่นนั้นยากมากที่จะถูกตรวจจับผ่านภาพถ่ายจากดาวเทียม แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะดาวเทียมที่กำลังเดินทางที่ความสูง 22,000 ไมล์เหนือพื้นผิวดาวเคราะห์ สามารถตรวจจับสิ่งเล็กๆ อย่างฝุ่นละอองได้
นั่นเป็นเพราะว่าฝุ่นสามารถสะท้อนหรือดูดซับแสงได้ เซ็นเซอร์บนดาวเทียมส่วนใหญ่ที่โคจรผ่านอวกาศสามารถตรวจจับพื้นที่การดูดซับและการสะท้อนกลับ ซึ่งทำให้สามารถวัดปริมาณละอองลอยในชั้นบรรยากาศ
อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถตรวจจับฝุ่นได้จากภาพถ่ายดาวเทียม นั่นเป็นเพราะสีนั่นเอง เนื่องจากภาพถ่ายดาวเทียมเป็นสีเทา จึงทำให้ยากมากที่จะแยกเมฆหรือฝุ่นออกจากัน
แต่ถึงอย่างนั้นด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ดาวเทียมบางดวงก็ถูกพัฒนา และสามารถแยกก้อนเมฆออกจากฝุ่นได้อย่างชัดเจนเฉพาะในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น
ฝุ่นในชั้นบรรยากาศมาจากไหน?
ปริมาณของฝุ่นที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้นมีขนาดเยอะมาก เชื่อว่ามีถึง 200 – 5,000 เทรากรัมต่อปี ซึ่งหนึ่งเทรากรัมนั้นเท่ากับหนึ่งล้านล้านกรัมเลยล่ะ
หนึ่งในแหล่งที่มาของฝุ่นละอองในชั้นบรรยากาศคือที่ทะเลสาบในทะเลทรายซาฮารา หรือที่รู้จักกันว่าทะเลสาบชาด มันคือแหล่งฝุ่นที่ใหญ่ที่สุดของโลก ตั้งอยู่บริเวณตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และเกือบครึ่งหนึ่งของฝุ่นที่ลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้นมาจากแอฟริกาเหนือ
หรืออาจเกิดจากการเผาไหม้ การพังทลายและการสลายตัวของดิน การปะทุของภูเขาไฟ และมลพิษทางอากาศก็ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ไลฟ์สไตล์ของเราเองในชีวิตประจำวันก็สามารถทำให้เกิดฝุ่นได้ ทั้งการจราจรของยานพาหนะ, การปล่อยมลพิษทางอุตสาหกรรมและกระบวนการเผาไหม้ เป็นต้น
ฝุ่นอาจเป็นมวลเพียงเล็กๆ แต่มันสามารถกำหนดปรากฏการณ์สภาพอากาศบนโลกได้เลยล่ะ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณหิมะละลายในสหรัฐอเมริกา ระดับอุณหภูมิในมหาสมุทรแอตแลนติก หรือพายุเฮอร์ริเคน
รวมถึงสุขภาพของเราเช่นกัน อย่างที่ทราบกันดีกว่าเราสามารถหายใจรับฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM2.5 เข้าไปในร่างกายได้ และทำให้มีแนวโน้มเป็นโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด
แม้จะมองไม่เห็นแต่สร้างผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ได้รุนแรงทีเดียว
ที่มา: worldatlas