หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่มีความฝันอยากทำงานที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และทำให้โลกนี้ดีขึ้นได้จากแรงขับเคลื่อนของตัวเอง อาจต้องเริ่มต้นปูเส้นทางอาชีพในฝันตั้งแต่ตอนที่ยังเรียนอยู่
ปัญหาผู้ลี้ภัยยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของพวกเขาที่อาจไม่ดีเท่าที่ควรและยังไม่มีบ้านที่แม้จริงให้พวกเขาได้พักพิงในระยะยาว
มีหลายสาขาในการศึกษารอบรั้วมหาวิทยาลัยที่จะเป็นทักษะทำเป็น ซึ่งคุณสามารถใช้ต่อยอดเพื่อทำงานร่วมกับองค์กรนานาชาติและเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ มาดูกันเลย
1. กฎหมาย
ผู้ที่ศึกษากฎหมายผู้ลี้ภัย สามารถทำงานได้กับองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ได้แก่ สหประชาชาติ NGOs Amnesty International และ Human Rights Watch ทั้งยังสามารถทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัยในสาขาได้
ผู้เรียนที่สนใจในสาขาวิชานี้ สามารถพิจารณาโครงการต่างๆ เช่น LLM ในด้านนโยบายการย้ายถิ่นฐาน หรือหากต้องการเรียนต่อปริญญาโทก็สามารถเจาะลึกไปที่การย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศและกฎหมายผู้ลี้ภัยได้
2. การแพทย์
ในปัจจุบัน เลบานอนเป็นเจ้าภาพการไหลเข้าของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียจากการจลาจลในปี 2011 และกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านสุขภาพ เนื่องจากมีผู้ดูเเล และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ลี้ภัยในเลบานอนที่ขยายตัวตลอดเวลา
ไม่เพียงแต่ในเลบานอน มีผู้ลี้ภัยจากหลากหลายถิ่นฐานทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่พวกเขาต้องการได้ ทุกประเทศมีข้อกำหนดกฎเกณฑ์การศึกษาการฝึกอบรม และขั้นตอนการให้ใบอนุญาตต่างกัน บางประเทศช่วยให้ผู้ดูแลสุขภาพสามารถช่วยเหลือผู้ลี้ภัยได้ง่ายขึ้นด้วยการจ้างผู้ลี้ภัยด้วยตัวเอง
นี่จึงเป็นหนึ่งในอาชีพที่ขาดแคลนมากที่สุดอาชีพหนึ่งของโลก
3. ด้านภาษา
จากทุกสาขา ภาษาเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ทั้งในการทำหน้าที่เป็นผู้แปล ล่าม นักสื่อสารที่จะถ่ายทอดเรื่องราวสำคัญในแต่ละเรื่องเพื่อช่วยให้กระบวนการลี้ภัยราบรื่นขึ้น
องค์กรต่างๆ เช่น Translators Without Borders เข้ามาช่วยทำงานในส่วนนี้ เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการสื่อสาร และสนับสนุนสิทธิของผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรม
4. จิตวิทยา และสุขภาพจิต
มีผู้ลี้ภัยมากมายที่อพยพมาจากพื้นที่สงคราม นอกจากบาดแผลภายนอกแล้ว สิ่งที่พวกเขาต้องการมากอีกอย่างคือผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำ
องค์กรพัฒนาเอกชนหลายแห่งมีบริการด้านสุขภาพจิตที่ไม่เพียงแต่ช่วยผู้ลี้ภัยในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ของพวกเขาเท่านั้น แต่ยังเน้นที่บริการสุขภาพจิตโดยทั่วไป และยังมีอีกหลายองค์กรที่พร้อมเปิดรับอาสาสมัครที่ต้องการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับผู้อื่น
5. งานสังคมสงเคราะห์
นักสังคมสงเคราะห์มีบทบาทสำคัญในการจัดการ และให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ตามที่ Guardian รายงานว่า “การมีส่วนร่วมทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญ” ทั้งในประเทศที่ยอมรับแรงงานข้ามชาติ และแรงงานอื่นๆ ที่อพยพออกไป
นักสังคมสงเคราะห์จะสนับสนุนความต้องการทรัพยากรของผู้พลัดถิ่น ทั้งด้านอารมณ์ จิตใจและอื่นๆ เท่าที่พวกเขาจะทำได้ เช่น การให้คำปรึกษาด้านการปรับตัว กฏหมาย และคำแนะนำด้านวัฒนธรรมอื่นๆ สำหรับผู้ที่ย้ายมาใหม่
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่ออุดมการณ์ยิ่งใหญ่สำหรับผู้ที่มีแผนในอนาคตอย่างชัดเจน การช่วยเหลือผู้อพยพ และผู้ลี้ภัยไม่เพียงแต่เป็นการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเท่านั้น แต่ยังช่วยบรรเทาปัญหาอื่นๆ ที่อาจจะตามมาหากโลกโหดร้ายกับมนุษย์แต่ไม่มีใครยื่นมือเข้าไปช่วยนั่นเอง
ที่มา: masterstudies