อีกหนึ่งเรื่องราวที่เราจะนำมาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้คือเรื่องเกี่ยวกับภาษาอังกฤษครับ ว่าแล้วเรามาชมรายละเอียดกันได้กับ ScholarShip.in.th กันเลย
ในการที่จะเก่งภาษาอังกฤษนั้น อันดับแรกเลยนั้นก็คือการรู้คำศัพท์ของภาษาครับ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไหนก็ตามคำศัพท์ล้วนแล้วแต่เป็นพิ้นฐานของทุกๆ ภาษาเลยก็ว่าได้นะครับ
วันนี้เราเลยมีวิธีจำคำศัพท์ง่ายๆ แบบไม่ต้องท่องมาให้เพื่อนๆ ได้ฝึกและทำกัน จะมีอะไรบ้างเรามาชมกันเลยดีกว่า
ขั้นแรกครับเราต้องทำความเข้าใจกันเรื่องความจำกันก่อนเลย ซึ่งส่วนมากเวลาเราท่องศัพท์เพื่อไปสอบกับอาจารย์นั้น จะเป็นความจำระยะสั้นเท่านั้นครับ กล่าวคือ ไม่นานก็ลืมลงหม้อลงไหคืนอาจารย์ไปหมดนั่นเอง
การจะจำคำศัพท์ให้ได้ ให้ดี และจำตลอดไปจึงต้องอาศัยความจำระยะยาวครับ แต่เอ…ไอความทรงจำระยะยาวนี้เราจะสร้างขึ้นได้อย่างไรหนอออ
ความจำระยะยาว หมายถึงความจำที่เราทบทวนอยู่เสมอ ทำให้เปลี่ยนจากความจำระยะสั้นมาเป็นความจำระยะยาว ซึ่งอาจอยู่ได้นานเป็นปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ การทบทวนจึงเป็นหัวใจหลักของความจำระยะยาวนั่นเองครับ
การที่จะเกิดการทบทวนบ่อยๆ เราก็ต้องเริ่มจากการมีสมุดเลย เพราะถ้าท่องจำกันเฉยๆ คงจะไม่ไหว ว่าแล้วมาเริ่มกันเลยดีกว่า
1. จดคำศัพท์ไว้ในสมุด โดยจดให้เป็นระเบียบ และจดหน้าที่ของคำ (part of speech) กำกับไว้ข้างท้ายของคำศัพท์ด้วย
เช่น
explain (v.)= อธิบาย
compare (v.)= เปรียบเทียบ
2. สำหรับคำศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน ให้เขียนไว้ใกล้ๆกัน หรือคำศัพท์ที่เป็นตระกูลเดียวกัน ให้จดไว้ด้วยกัน
เช่น คำศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน
accept (v.) = ยอมรับ
expect (v.) = คาดหวัง
except (prep.) = ยกเว้น
และคำศัพท์ที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน
criticize (v.) = วิพากษ์วิจารณ์
critical (adj.) = เชิงวิจารณ์
critic (n.) = นักวิจารณ์
criticism (n.) = คำวิจารณ์
3. วิธีการจำคำศัพท์ที่เขียนคล้ายกัน ให้เลือกจำคำใดคำหนึ่งไปเลย
เช่น
expect (v.) = คาดหวัง
except (prep.) = ยกเว้น
ถ้าจะเลือกจำคำว่า expect (v.) = คาดหวัง ก็จำคำนี้ไปเลย แล้วถ้าไปเจออีกคำที่เขียนคล้ายกัน คือ except ก็ต้องแปลว่ายกเว้น แน่นอน เพื่อแยกการจำคำศัพท์สลับกันนั่นเอง
หลังจากมีสมุดและเริ่มจดแล้ว ก็ต้องนำสมุดไปไหนมาไหนด้วย เวลาเจออะไรพบเจออะไรที่น่าสนใจล่ก็ ก็เอาขึ้นมาจด และเวลาว่างๆ ก็นำขึ้นมาทบทวนกันนะครับ ย้ำ ต้องทบทวนอย่างตั้งใจและบ่อยๆ นะครับ รับรองว่าประสบความสำเร็จกันทู๊กกกกคนนน อิอิ
แล้วมาพบกับสาระดีๆ แบบนี้ได้ใหม่กับ ScholarShip.in.th นะครับ
Source: Unigang