ไขข้อข้องใจบทเรียนภาษาอังกฤษที่เหมือนจะไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก นั่นคือการใช้ Be used to, Get used to และ Used to ที่ถึงแม้จะมีคำหลักๆ อย่าง used to เหมือนกัน แต่ความจริงนั้นมันมีกฎการใช้ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
มาเรียนรู้ความแตกต่างและวิธีการใช้ของทั้ง 3 คำนี้กัน :D
#1 Be used to
รูปปฏิเสธ: Be not used to เช่น
– I don’t think Tom’s strange – I’m used to him.I don’t understand him: I’m not used to his accent yet.
วิธีการใช้: ใช้กับสิ่งที่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ไม่ใช่เรื่องยากหรือเรื่องแปลกใหม่อะไร สามารถใช้ได้ทั้งกับคน, สัตว์, สิ่งของ หรือ กิจวัตรประจำวัน เป็นต้น
โครงสร้างประโยค: Be used to + นามวลีหรือคำกริยา (แบบเติม -ing)
ตัวอย่าง:
– I am used to getting up early in the morning. I don’t mind it.
– He didn’t complain about the neighbours’ loud party – he was used to the noise.
#2 Get used to
รูปปฏิเสธ: Not get used to / didn’t get used to
วิธีการใช้: ใช้เมื่อเคยชินหรือคุ้นเคยกับบางสิ่ง และเห็นว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกหรือผิดปกติอีกต่อไป โดยส่วนมากมักใช้เมื่อได้ผ่านขั้นตอนที่เริ่มจะเคยชินกับสิ่งๆ นั้นแล้ว
โครงสร้างประโยค:
– Get used to + บางสิ่ง / บางคน
– Get used to + คำกริยา (แบบเติม -ing)
ตัวอย่าง:
– I got used to his Scottish accent after a while.
– I got used to waking up early in the morning.
– After a while he didn’t mind the noise in the office; he got used to it.
#3 Used to
รูปปฏิเสธ: subject + didn’t + use to be. เช่น
– I didn’t use to like wine, but now I love it.
รูปคำถาม: did(n’t) + subject + use to be. เช่น
– Did(n’t) he use to work in your office?
วิธีการใช้: ใช้กับนิสัยหรือสถานะต่างๆ ในอดีต เช่น เคยทำอะไรบางอย่างมาช่วงหนึ่ง แต่ไม่ได้ทำอีกต่อไป หรือสถานะที่เคยมีในอดีตแต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว เป็นต้น
โครงสร้างประโยค: Used to + คำกริยา ต่างๆ รวมถึง stative verbs เช่น have, believe know และ like เป็นต้น
ตัวอย่าง:
– We used to live there when I was a child.
– I used to walk to school every day when I was a child.
– I used to like The Beatles, but now I never listen to them.
– He used to have long hair, but now it’s very short.
– I used to believe in magic when I was a child.
เห็นไหมว่ามันคล้ายกันมากๆ เลยล่ะ? แต่หากสังเกตให้ดีก็ยังมีวิธีการใช้ที่แตกต่างกันทำให้ไม่สับสน หวังว่าจะถูกใจกันนะ :D
ที่มา: speakspeak
2 Comments
Comments are closed.
[…] Read More […]
[…] […]