สำนวนภาษาอังกฤษหรือภาษาใดก็ตาม เชื่อว่าต่างต้องมีจุดกำเนิดของมัน เช่นเดียวกับสำนวนภาษาไทย เช่น “จุดไต้ตำตอ” หมายถึงพูดหรือทำสิ่งใดกับเจ้าของเรื่องโดยผู้นั้นไม่รู้ตัว โดยมีที่มาจากเวลาพลบค่ำก็จะจุดไต้หรือเครื่องตามไฟ ว่าแล้วก็มาดูทางภาษาอังกฤษกันบ้างว่า 9 สำนวนที่ใช้บ่อยนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร
1. Fly off the handle
แปลว่า หัวเสีย โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ
ที่มา ในสมัยก่อนเครื่องใช้คุณภาพไม่ดีแกนหัวที่ยึดติดมักหลุดออกขณะใช้งาน ซึ่งผลที่ตามมาก็ค่อนข้างอันตราย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ใช้อธิบายพฤติกรรมความเสี่ยงจากผลที่คาดไม่ถึง
2. Steal someone’s thunder
แปลว่า ทำบางอย่างเพื่อแย่งความสนใจ หรือขโมยซีน
ทื่มา ในช่วงต้นทศวรรษ 1700 นักเขียนบทละครชาวอังกฤษ John Dennis ได้คิดค้นอุปกรณ์ที่เลียนแบบเสียงฟ้าร้องสำหรับบทที่เขากำลังทำอยู่ และไม่นานเดนนิสก็สังเกตว่าละครอีกเรื่องหนึ่งแต่เล่นในโรงละครเดียวกันใช้อุปกรณ์เอฟเฟ็กต์เสียงของเขา
เดนนิสโกรธและอุทานว่า “That is my thunder, by God; the villains will play my thunder, but not my play.” (นั่นคือเสียงฟ้าร้องของผมจากพระเจ้า ตัวร้ายจะเล่นเสียงฟ้าร้องของผม แต่นี้ไม่ใช่ละครของผม)
เรื่องราวนี้กระจายไปทั่วลอนดอนและเกิดสำนวนนี้ขึ้นมา
3. Chew the fat
แปลว่า ซูบซิบ นินทา
ที่มา เดิมเป็นศัพท์ของกะลาสี สำนวนนี้กล่าวถึงเครื่องทำความเย็นที่ไม่ทำให้อาหารเสีย หนึ่งในนั้นคือเนื้อหมูเค็มซึ่งประกอบด้วยไขมันเป็นส่วนใหญ่ ชาวกะลาสีจะกินเช่นนี้เมื่ออาหารหมดลง และพวกเขาก็มักจะบ่นงึมงำๆ กันไปเอง
4. White elephant
แปลว่า ของมีค่า
ที่มา ตำนานได้กล่าวถึงกษัตริย์สยามที่มอบช้างเผือกให้แก่คนที่ต้องการลงโทษ ซึ่งช้างเป็นสิ่งมีค่าและเป็นที่นับถือ นั่นก็หมายความว่าพวกเขามีสิ่งของราคาแพงที่ต้องดูแล ดังนั้นกษัตริย์จึงหวังว่าผู้ที่รับไปจะเกิดหายนะทางการเงินขึ้น
5. By and large
แปลว่า โดยทั่วๆ ไป
ที่มา กะลาสีเป็นกลุ่มแรกที่เอ่ยถึงสิ่งของต่างๆ ด้วยวลี By and large ส่วนแรกของวลีนี้หมายถึงคำศัพท์ทางการเดินเรือ ‘full and by’ ซึ่งหมายถึงเรือกำลังเดินทางไปในสายลม ในทางกลับกัน ‘large’ หมายถึงสายลมที่มาจากด้านหลัง
ดังนั้น ‘By and large’ จึงหมายถึงลมที่มาจากทิศทางไหนก็ตาม กลายเป็นความหมายที่ใช้ในปัจจุบันว่า ‘โดยทั่วไป’
6. Close but no cigar
แปล ใกล้แล้วแต่ยังไม่ใช่ , เกือบแล้ว
ที่มา ในปัจจุบันเกมในเทศกาลงานวัดคือได้ตุ๊กตาสัตว์เป็นรางวัล หากแต่ในปลายศตวรรษที่ 19 เกมมีเพื่อผู้ใหญ่ไม่ใช่เด็ก ซึ่งผู้ชนะจะได้รับซิการ์แทนที่จะเป็นตุ๊กตาเหมือนทุกวันนี้
แต่หากใครที่พลาดเป้าในการเล่มเกมก็จะเกิดคำนี้ขึ้น ‘Close but no cigar’ ประมาณว่าเกือบจะได้ซิการ์ล่ะ
7. Once in a blue moon
แปล นานๆ ครั้ง , บ่อยๆ
Blue moon เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริง แต่เกิดขึ้นไม่บ่อย นานๆ ครั้งที่จะได้เห็นพระจันทร์สีน้ำเงิน จึงนำมาใช้ในความหมายนี้
8. Under the weather
แปล ไม่ค่อยสบาย รู้สึกไม่ค่อยดี
ที่มา ในตอนแรกกะลาสีใช้คำว่า “under the weather bow” หมายถึงด้านข้างของเรือที่จะได้รับความรุนแรงจากลมในช่วงพายุ และเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเมาทะเลเมื่อคลื่นโหมแรงจึงหลบจึงในห้องโดยสารในเรือ เพื่อหลบสภาพอากาศเลวร้าย
9. Give the cold shoulder
แปลว่า ทำเป็นไม่สนใจ เมินเฉย
ที่มา นักนิรุกติศาสตร์คิดว่าวลีนี้มาจากสมบัติผู้ดีในช่วงยุคกลาง หลังจากงานเลี้ยงแล้วเจ้าภาพในประเทศอังกฤษจะแจ้งอย่างชัดเจนว่ามื้ออาหารสิ้นสุดลง สื่อถึงแขกควรจะกลับได้แล้ว โดยจะทำการเสิร์ฟหมูเย็น เนื้อแกะ หรือเนื้อวัวบริเวณหัวไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเย็นชืด
ที่มา www.rd.com