Noam Chen ผู้ที่ถ่ายทอดความทรงจำของครอบครัวกับค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ซึ่ง Miriam Sharir คุณยายของเขาก็เป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิตจากค่ายมรณะนี้ โดยกว่า 1.1 ล้านคนที่ถูกฆาตกรรมอย่างทารุณ และมีเพียง 7,500 คนที่รอดชีวิตเมื่อถึงเวลาที่ได้รับการปลดปล่อยในวันที่ 27 มกราคม ปี 1945
Chen เล่าว่าเขาเติบโตโดยมีคุณยายเคียงข้างตลอด และคุณยายก็เริ่มแบ่งปันประสบการณ์จากในค่ายให้ฟัง ทั้งความหวาดหวั่นพรั่นพรึง รวมถึงช่วงเวลาที่กล้าหาญอย่างไม่น่าเชื่อ
ชะตากรรมของสมาชิกในครอบครัวอีก 9 คนที่ถูกเนรเทศไปยังค่ายมรณะดังกล่าวไม่เคยทำให้ชีวิตมีชีวาขึ้นเลย และสิ่งที่คุณยายยากจะเชื่อจริงๆ คือการที่มีวันได้เดินออกจากค่ายมรณะนี้อย่างมีลมหายใจ
รุ่นที่รอดชีวิต: คุณยาย (ซ้าย) ร่วมกับรุ่นที่ 2, 3 และ 4
“เธอไม่ต้องการให้ผมไปที่นั่น เธอไม่คิดว่าจะมีเหตุผลอะไรที่ต้องไป”
ตอนนี้คุณยายจากไปกว่า 10 ปีแล้ว และ Chen ก็เฝ้ามองดูหลานสาวและหลานชายรุ่นที่ 4 ตั้งแต่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว มองดูการเติบโต ซึ่งตอนนั้นเองที่เขาค้นพบเหตุผลที่จะไป
เมื่อปีที่แล้ว Chen เดินทางไปที่ค่ายกักกันและเก็บบันทึกของช่วงเวลาทั้ง 4 ชั่วรุ่น ตั้งแต่สมัยของคุณยายที่อยู่รอดมาได้ และรวบรวมภาพครอบครัวของตัวเองผ่านที่ต่างๆ ในค่าย
ชัยชนะของเรา: รุ่นที่ 2, 3, 4 สู่การพันธุฆาตชาวยิว
งานแต่งงานของคุณยายหลังจากรอดชีวิตจากค่ายกักกันเอาชวิทซ์
วันแต่งงานของคุณแม่ของ Chen ในรุ่นที่ 2
วันแต่งงานของคุณลุง ในรุ่นที่ 2
คุณยายพร้อมด้วยลูกชายและลูกสาวจากรุ่นที่ 2
พิธีฉลองอายุ 13 ปีของ Chen (รุ่นที่ 3)
วันแต่งงานของน้องสาวของเขา ในรุ่นที่ 3
วันแต่งงานของรุ่นพี่รุ่นน้อง ในรุ่นที่ 3
ครอบครัวของลูกพี่ลูกน้องในรุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4
คุณยายและเหลนชาย (รุ่นที่ 4)
คุณแม่ (รุ่นที่ 2) และพี่น้องของเขา (รุ่นที่ 3)
ครอบครัวของพี่ชาย ในรุ่นที่ 3 และ 4
ครอบครัวของลูกพี่ลูกน้อง รุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4
ลูกพี่ลูกน้องกับลูกสาวของเธอ ในรุ่นที่ 3 และรุ่นที่ 4
คุณยายกับทารกแรกเกิดในรุ่นที่ 4
หลานสาวและหลานชายจากรุ่นที่ 4
รูปถ่ายใบเดียวของคุณยายที่ Chen เคยถ่ายก่อนที่เธอจะเสียชีวิต
ที่มา boredpanda