การเรียนรู้มีได้ไม่สิ้นสุด เพราะแม้แต่คำทักทายที่เราคุ้นชินก็ยังสามารถพัฒนาไปเป็นประโยคที่เจ๋งและทันสมัยกว่าเดิมได้
ตัวอย่างเช่น “WHAT ARE YOU DOING?” หนึ่งในประโยคขั้นเบสิคที่ผู้คนนิยมใช้เพื่อเปิดบทสนทนาก็ยังมีประโยคอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงและสามารถใช้แทนกันได้
ตัวอย่างเช่น…
Are you busy?
คำถามตรงตัวเพื่อให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณมีเรื่องอยากจะคุยด้วย หรืออยากรู้ว่าตอนนี้คุณกำลังทำอะไร นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้ด้วย
– What are you up to (right now)?
– Are you doing anything (right now)?
– Are you busy (right now)?
– Are you free (right now)?
– Do you have any spare time (right now)?
– Do you happen to have any spare time (right now)?
What is happening?!
ประโยคนี้จะใช้เพื่อถามหลังจากที่เกิดเหตุการณ์หรือได้ยินเสียงแปลกๆ จากอีกฝ่าย คุณสามารถใช้เพื่อถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ที่คุณไม่สามารถมองเห็นหรืออยู่ร่วมในเหตุการณ์นั้นได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้ด้วย
– What’s going on?
– What’s going on (in) here?
– What is happening (right now)?
What are you up to?
ในบางกรณี คุณอาจถามว่ามีใครกำลังทำอะไรอยู่บ้างหรือเปล่าเพื่อใช้เป็นประโยคเปิดการสนทนา โดยมากมักเป็นการสนทนาที่ไม่จริงจังนัก นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้ด้วย
– What’s up?
– How’s it going?
– What’s going on (with you)?
– How are you (doing)?
What are you doing these days?
คำถามนี้มักใช้ในบริบทเมื่อคุณและคู่สนทนาไม่ได้พบกันเป็นเวลานาน เป็นการถามเกี่ยวกับชีวิตประจำวันหรือเรื่องราวทั่วไปในชีวตของอีกฝ่าย นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ประโยคเหล่านี้ได้ด้วย
– What are you doing lately?
– What are you doing with your life?
– What are you up to lately?
– How is it going these days?
– How is it going lately?
What do you do?
ประโยคนี้มีความหมายที่แตกต่างจาก “What are you doing?” อย่างสิ้นเชิงแม้ว่าจะเขียนใกล้เคียงกันก็ตาม
เพื่อป้องกันความสับสน ประโยค “What are you doing?” สื่อถึงความต้องการรู้ว่าอีกฝ่ายกำลังทำอะไรอยู่ ในขณะที่ “What do you do?” เป็นการถามถึงอาการทั่วไปของคู่สนทนา มีความหมายคล้ายกับ “How are you?” นั่นเอง
เห็นไหมว่าไม่จำเป็นต้องใช้คำเดิมซ้ำๆ ให้จำเจ แต่สามารถเพิ่มลูกเล่นเพื่อการสื่อความหมายที่ชัดเจน หรือเพื่อแสดงความรู้สึกที่แตกต่างไปตามสถานการณ์ได้ นี่แหละ เสน่ห์ของภาษาล่ะ >wO
ที่มา : myenglishteacher