เคยได้ยินคำว่า Subordinating Conjunctions กันมั้ย? หากไม่รู้จักก็มาทำความรู้จักไปพร้อมๆ กันได้เลยค่ะ :)
Subordinating Conjunctions หรือคำอนุสันธาน ทำหน้าที่คล้ายกับคำเชื่อม มีหน้าที่เชื่อมอนุประโยคที่ยังไม่สมบูรณ์ (dependent clause/subordinate clause) ให้เข้ากับอนุประโยคที่สมบูรณ์ (independent clause)
เพราะวลีเหล่านี้มีความสำคัญในการชี้ให้เห็นถึงแนวคิดหรือไอเดียเพิ่มเติมของประโยคหลัก เช่น แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุเป็นผล หรือการเปลี่ยนแปลงเวลาหรือสถานที่ระหว่างสองประโยค เป็นต้น
อนุประโยคที่ยังไม่สมบูรณ์ (dependent clause/subordinate clause) คืออะไร?
อนุประโยคชนิดนี้มีคุณสมบัติเฉพาะ 2 ประการ ดังนี้
– มันไม่สามารถแสดงถึงหน่วยความคิดที่สมบูรณ์ได้ด้วยตัวมันเอง
– มันจำเป็นต้องขึ้นอยู่กับอนุประโยคที่สมบูรณ์ (independent clause) เพื่อสร้างแนวคิดที่สมบูรณ์
ทำความรู้จักอนุประโยคที่ใช้คู่กับคำอนุสันธานคร่าวๆ ไปแล้ว มาเรียนรู้กันต่อดีกว่าว่าแต่ละเงื่อนไขที่ต้องใช้ร่วมกันนั้นเป็นอย่างไร ดังนี้
คำอนุสันธานที่พบบ่อยเพื่อใช้แสดงถึงความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผล
because, for, as, since, therefore, hence, as a result, consequently, though, due to, provided that, because of, unless, as a result of และ so/so that
ตัวอย่างเช่น
– Robin wasn’t allowed in the Batmobile any longer because he wouldn’t wear a seatbelt. (โรบินไม่ได้รับอนุญาตให้นั่งรถแบทโมบิลอีกต่อไปเพราะเขาจะไม่คาดเข็มขัดนิรภัย)
จากตัวอย่าง
– “Robin wasn’t allowed in the Batmobile any longer” คืออนุประโยคสมบูรณ์ (independent clause)
– “because he wouldn’t wear a seatbelt” คืออนุประโยคไม่สมบูรณ์ ที่ใช้คำอนุสันธานอย่าง ‘because’ เชื่อมเพื่อแสดงให้เห็นเหตุผลว่า ‘ทำไม?’ และ ‘เพื่อจุดประสงค์อะไร?’
ตัวอย่างเพิ่มเติม
– Batman required strict compliance with seat belt rules, hence Robin was not allowed to ride in the Batmobile. (แบทแมนต้องปฏิบัติตามกฎการคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างเคร่งครัด โรบินจึงไม่ได้รับอนุญาตให้นั่งรถแบทโมบิล)
– Since Robin refused to wear his seat belt, Batman has banned him from the Batmobile. (เนื่องจากโรบินปฏิเสธที่จะคาดเข็มขัดนิรภัย แบทแมนจึงสั่งห้ามเขาขึ้นรถแบทโมบิล)
คำอนุสันธานที่พบบ่อยเพื่อใช้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเวลาหรือสถานที่
once, while, when, whenever, where, wherever, before และ after
ตัวอย่างเช่น
– Once Batman learned that Robin had not been wearing his seatbelt, he took away his keys to the Batmobile.
– Robin looked regretfully at the Batmobile whenever he passed it in the Batcave.
– After Batman was done working for the night, Robin took a secret ride in the Batmobile.
– Before Robin gets his job in the Batcave back, he must promise to stop playing with the Batmobile.
คำอนุสันธานกับการใช้คู่กับคอมม่า (,)
โดยทั่วไปแล้ว คำอนุสันธานที่อยู่กลางประโยคจะไม่ถูกนำหน้าด้วยเครื่องหมายคอมม่า อย่างไรก็ตาม เมื่ออนุประโยคไม่สมบูรณ์ถูกนำมาใช้ขึ้นต้นประโยค เมื่อนั้นอนุประโยคที่สมบูรณ์ (ยกเว้นคำอนุสันธาน) จะต้องตามอยู่ด้านหลังเครื่องหมายคอมม่า ตัวอย่างดังนี้
– Robin drove the Batmobile whenever Batman was away.
– Whenever Batman was away, Robin drove the Batmobile.
และด้านล่างนี้คือลิสต์คำอนุสันธานที่มีประโยชน์พร้อมความหมาย
after = ภายหลัง, หลังจาก
although = ถึงแม้ว่า, อย่างไรก็ตาม
as = เนื่องจาก
as if = ราวกับ, ดุจ, ประหนึ่งว่า
as long as = ตราบเท่าที่, จนกว่า
as much as = มากเท่าที่
as soon as = ทันทีที่
as though = ราวกับว่า, ดุจดัง
because = เพราะว่า, เนื่องจาก, ด้วยเหตุที่
before = ก่อนหน้านี้
by the time = ในขณะที่, ตอนที่
even if = แม้ว่า, ถ้าหากว่า
even though = ถึงแม้ว่า, ทั้งๆ ที่
if = ถ้า, ถ้าหากว่า, สุมมติว่า, แม้ว่า
in order that = เพื่อว่า
in case = ในแง่ของ
in the event that = ในกรณีที่, ในโอกาสที่
lest = ด้วยเกรงว่า, เพราะกลัวว่า
now that = เพราะว่า (ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น)
once = ทันทีที่
only = แต่, เพียงแต่ว่า
only if = เว้นแต่, เพียงแต่
provided that = หาก
since so = ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
supposing that = สมมุติว่า, หากว่า, แม้ว่า
than = กว่า (ใช้ในการเปรียบเทียบ)
though = แต่, ถึงแม้ว่า
till = จนกระทั่ง, จนกว่า
unless = ถ้าไม่, เว้นแต่, นอกจาก
until = จนกระทั่ง
when = เมื่อหรือขณะที่, ในเวลาที่
whenever = เมื่อไรก็ตาม
where = ในที่ซึ่ง
whereas = ในทางตรงกันข้าม (ใช้เปรียบเทียบ), เพราะว่า (คำทางการ)
wherever = ในทุกๆ ที่
whether or not = แต่ถึงอย่างนั้น
while = ขณะที่, ถึงแม้ว่า, ระหว่างเวลา
ที่มา: grammarly