หนึ่งในความท้าทายและน่าทึ่งที่สุดของร่างกายมนุษย์ซึ่งถูกสร้างสรรค์โดยธรรมชาติ นั่นก็คือการทำงานที่ซับซ้อนของสมอง
ถามว่าน่าทึ่งอย่างไร? ก็จนถึงทุกวันนี้ที่เรามีเทคโนโลยีมากมายขนาดเดินทางไปยังอวกาศที่แสนไกลได้ เราก็ยังไม่สามารถทำความเข้าใจกลไลและการทำงานทั้งหมดของสมองมนุษย์ได้อย่างชัดเจน
หนึ่งในสิ่งที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญรู้สึกประหลาดใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองนั่นก็คือ “Typoglycemia”ภาวะที่เราสามารถทำความเข้าใจการอ่านตัวอักษรภาษาต่างๆ ได้แม้ว่ามันจะอยู่ในตำแหน่งที่ผิดที่ผิดทาง
มาทำความรู้จักกับสิ่งนี้กัน
Typoglycemia คำนี้ถูกนำมาอ้างอิงเพื่อใช้อธิบายถึงความสามารถในการอ่านและเข้าใจคำที่มีการสะกดผิดไปจากปกติ
ยังคิดภาพไม่ออกใช่ไหมคะ? งั้นลองมาอ่านข้อความนี้กัน
แม้ข้อความจะเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากนักที่จะอ่านให้เข้าใจ โดยข้อความที่ถูกต้องคือ
ซึ่งคำแปลจากข้อความนั้นแปลได้ว่า
“ตามที่นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้กล่าวไว้ว่ามันไม่สำคัญหรอกว่าลำดับตัวอักษรในคำนั้นเป็นอย่างไร แต่สิ่งเดียวที่สำคัญคือตัวอักษรตัวแรกและตัวสุดท้ายต้องถูกวางไว้ในลำดับที่ถูกต้อง แม้ตัวอักษรตัวอื่นๆ จะอยู่ในลำดับที่ผิดแต่ก็ไม่ส่งผลต่อการอ่าน นั่นเป็นเพราะการประมวลผลของมนุษย์ไม่ได้อ่านทุกตัวอักษรแต่อ่านเป็นภาพรวม“
ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ราวปี 2003 ทั้งนี้แม้ในข้อความจะกล่าวถึงการวิจัยจาก Cambridge University แต่ไม่มีข้อมูลไหนยืนยันในเรื่องนี้
บางส่วนเชื่อว่าข้อความดังกล่าวได้รับแรงบันดาลใจจากจดหมายของ Graham Rawlinson นักศึกษาปริญญาเอกจาก University of Nottingham ถึง New Scientist ในปี 1999 หรืออาจจะมาจากการวิจัยของกลุ่ม Thomas R. Jordan เกี่ยวกับอิทธิพลสัมพัทธ์ของตัวอักษรภายนอกและภายในของคำ
และในภาวะเดียวกันนี้เองก็สามารถเกิดขึ้นกับภาษาอื่นๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษาเยอรมัน, ภาษาไอซ์แลนด์, ภาษาสวีเดน และภาษาอินโดนีเซีย เป็นต้น
เห็นไหมว่าสมองเรามีความจีเนียสและน่าทึ่งได้อย่างไร้ขีดจำกัด นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจนถึงทุกวันนี้เราจึงไม่สามารถทำความเข้าใจการทำงานของสมองได้ทั้งหมด
ลองคิดดูเล่นๆ หากในอนาคตเราสามารถปลดล็อกศักยภาพตรงนี้ได้ จะเกิดเรื่องราวที่น่าเหลือเชื่อได้มากขนาดไหน?
ที่มา: chem.ucla.edu & dictionary