สำหรับใครที่ยังโนไอเดียว่าควรเขียน Research Propasal หรือ ‘ข้อเสนอโครงการวิจัย’ เพื่อส่งรายละเอียดขอรับทุนการศึกษาอย่างไรดี วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ มาฝากกัน! โดยเป็นคำแนะนำจากหนังสือ Writing Convincing Research Proposals and Effective Scientific Reports จาก International Livestock Research Institute
โดยประเด็นที่เราเลือกมานำเสนอวันนี้คือในเรื่องของ ‘รูปแบบข้อเสนอและลำดับการจัดทำ’ ที่จะช่วยให้การเขียน Research Proposal ของคุณง่ายขึ้นเยอะ :)
รูปแบบข้อเสนอ (Proposal Formats)
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าการเขียน Research Proposal เพื่อขอรับทุนการศึกษานั้นก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสถาบันที่ให้ทุนการศึกษา เพราะฉะนั้นควรสอบถามถึงแบบฟอร์มที่ใช้ให้ดี โดยแบบฟอร์มด้านล่างนี้สามารถเลือกนำไปใช้ได้ หากสถาบันการศึกษานั้นๆ ไม่มีรูปแบบกำหนดของ Research Propsal ที่ตายตัว
Generic Proposal Format
รูปแบบด้านบนนี้ถือเป็นรูปแบบพื้นฐานที่ตอบทุกโจทย์ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Research Proposal เพื่อให้ผู้ให้ทุนการศึกษาเข้าใจได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ นอกเหนือจากส่วนที่แสดงด้านบนแล้วอาจต้องมีภาคผนวกเพื่อแสดงข้อมูลสนับสนุนสำหรับโครงการของคุณ เช่น
– สำเนา logframe สำหรับโครงการของคุณ
– CV สำหรับทีมงานของคุณ
– คำชี้แจงเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของสถาบันและพันธมิตร
ลำดับการจัดทำ (Order of Preparations)
ด้านล่างนี้คือลำดับการจัดทำ Research Propasal ที่เป็นที่แนะนำ
จะเห็นได้ว่าลำดับที่ 10 นั้นเป็นส่วนที่สำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่นๆ เพราะการให้เพื่อนร่วมงานช่วยตรวจสอบหลังจากเสร็จแล้วอาจมีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับการปรับปรุงข้อเสนอ และอาจสร้างความแตกต่างในการโน้มน้าวผู้ให้ทุนการศึกษาก็เป็นได้
ลำดับการจัดทำยังแสดงให้เห็นว่าผู้สมัครทุกคนควรให้ความสำคัญกับ ‘หัวใจ’ ของโปรเจกต์อย่าง 5 ลำดับแรกให้เป็นอย่างดี เพราะหากเริ่มต้นได้ดี เชื่อว่าส่วนที่เหลือก็จะตามมาอย่างแน่นอน
หวังว่าข้อมูลดีๆ แบบนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับทุกคนที่ยังลังเลว่าจะเริ่มต้นเขียน Research Proposal อย่างไรดีให้ได้รับทุนการศึกษาตามที่ต้องการ รู้แบบนี้แล้วก็เตรียมตัวให้พร้อม ปล่อยพลังและความรู้ของแต่ละคนออกมาให้เต็มเปี่ยมเลยนะ ^^’